ในช่วงวันวาเลนไทน์ เป็นช่วงเวลาที่หลายคนแสดงความรักต่อกันเป็นพิเศษ โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นซึ่งมีอัตราการมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ใช้ถุงยางอนามัยเพิ่มขึ้น และจากสถิติการใช้ถุงยางอนามัยของไทยอยู่ที่ประมาณ 230 ล้านชิ้นต่อปี
ถุงยางอนามัย มีประโยชน์ในการคุมกำเนิดและป้องกันโรคทางเพศสัมพันธ์ เช่น HIV, ซิฟิลิส หรือหนองใน ฯลฯ จากการสำรวจเกี่ยวกับการใช้ถุงยางอนามัยในประเทศไทยพบว่า ในปี พ.ศ. 2562 มีการใช้ถุงยางเพิ่มขึ้นแต่อัตราการใช้ถุงยางอย่างสม่ำเสมอยังมีอัตราที่ต่ำมาก โดยเฉพาะการใช้ถุงยางอนามัยกับแฟนหรือคนรัก ซึ่งไม่ถึงร้อยละ 40 และการกำจัดถุงยางอนามัยยังเป็นการใช้วิธีฝังกลบ ทำให้เกิดผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม
จากสถิติแล้วการใช้ถุงยางอนามัยของคนไทยอยู่ที่ประมาณ 230 ล้านชิ้นต่อปี และมักถูกกำจัดทิ้งโดยวิธีแบบฝังกลบ ซึ่งวิธีนี้เป็นการสร้างภาระให้กับสิ่งแวดล้อมและยังเป็นการสร้างก๊าซเรือนกระจกอีกด้วย บริษัทผู้ผลิตถุงยางอนามัยในปัจจุบันจึงหันมาให้ความสำคัญกับกระบวนการผลิตถุงยางที่ใช้พลังงานสะอาด นำความร้อนที่เหลือทิ้งจากการอบกลับมาใช้ใหม่และใช้แนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อลดการใช้ทรัพยากรและของเสีย รวมไปถึงการเลือกใช้วัตถุและการกำจัดซากจากการผลิต ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงได้
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
วาเลนไทน์ 2566 : ดอกกุหลาบ ถ้าสวยจัด ไร้ตำหนิใดๆ อาจไม่รักษ์โลกเพราะสารเคมี
สวยได้ไม่ทำร้ายโลก! ลิสต์ Eco-Friendly Beauty Brands เครื่องสำอางรักษ์โลก
นอกจากนี้บริษัทผู้ผลิตถุงยางอนามัยยังได้ทำการประเมิน Carbon Footprint ของผลิตภัณฑ์ พบว่าถุงยางอนามัย 1 กล่อง (3 ชิ้น) มีปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จำนวน 55.8 กรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า ซึ่งอ้างอิงข้อมูล จาก TGO Thai Carbon Label
คู่รักในคืนวันวาเลนไทน์ ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่าไร?
100 คู่รักในคืนวันวาเลนไทน์ จะปล่อย CO2 เท่าไหร่ ?
ถุงยางอนามัย 1 กล่อง (3 ชิ้น)
มีปริมาณการปล่อย CO2 = 55.8 gCO2e
สมมุติฐาน: ในคืนวันวาเลนไทน์มีคู่รัก ใช้ถุงยางอนามัย 100 กล่อง/คู่
จะมีปริมาณการปล่อย CO2 = 5.58 kgCO2e
การมีเพศสัมพันธ์แต่ละครั้ง นอกจากการคำนึงถึงการใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันโรคและคุมกำเนิดแล้ว ยังควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตกับสิ่งแวดล้อม เพื่อเป็นการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และยังเป็นการกระตุ้นกลไกการตลาดเพื่อสิ่งแวดล้อมอีกทาง