กุหลาบ เป็นดอกไม้ยอดนิยมสำหรับวาเลนไทน์ อาจจะไม่ได้มี แค่ “หนาม” ที่ทิ่มแทงมือเท่านั้นที่ “อันตราย” แต่ หาก ดอกไหน ที่สวยจัดๆ ไร้ตำหนิแล้ว เป็นตัวท็อป ก็อาจจะมีอันตรายจากสารเคมี และไม่ Keep The World
วาเลนเไทน์ 2566 ของขวัญที่ยอดนิยมมากที่สุด คงหนีไม่พ้น ดอกกุหลาบ ดอกไม้ที่เป็นตัวแทนของความรัก สัญลักษณ์ที่ทุกคนที่มีหัวใจแห่งความรัก รู้กันโดยทั่วโลก อย่างไรก็ตาม ถ้าหาก "ดอกกุหลาบ" สวยจัด เพอร์เฟ็กต์ ไร้ตำหนิใดๆ เป็นตัวท็อป อาจจะไม่ใช่ ดอกไม้ ที่ รักษ์โลก สอดคล้องกับเทรนด์ Keep The World เพราะดอกกุหลาบเหล่านั้นอาจจะเต็มไปด้วยสารเคมี
เป็นที่ทราบกันทั่วโลก ว่า ดอกกุหลาบ คือสัญลักษณ์สำคัญของ “เทศกาลวาเลนไทน์” โดยเฉพาะในปีนี้ วาเลนไทน์ 2566 แต่ “วาเลนไทน์” ปีนี้ อยาก ชวนทุกคนพิจารณาอีกมุม ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และเรื่อง Keep The World ถึง “อันตราย” ของ “กุหลาบ” โดย เรากำลัง Red ประเด็น พูดถึง “สารเคมี” ที่เคลือบ “ดอกกุหลาบ” ใน “วันวาเลนไทน์ 2566” หรือ วาเลนไทน์ 2023 เพราะส่วนใหญ่ ในเชิงการตรวจสอบ “อันตราย” ของ “สิ่งปนเปื้อน” เรามักให้ความสำคัญกับ “อาหารการกิน” มากกว่า “ดอกไม้” ซึ่งแทนที่จะเป็นการ “ส่งมอบความรัก” ส่งมอบความรู้สึกดีๆ ความใฝ่ใจคนึง คิดถึงกัน แต่สุดท้ายอาจกลับกลายเป็นการหยิบยื่นความตาย ป้ายด้วยยาพิษให้ คนที่คุณรัก ในปีนี้ก็เป็นได้
ทราบหรือไม่ว่า กุหลาบ เป็น ดอกไม้เศรษฐกิจ”ที่มีมูลค่าในตัวเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง หากมองในมุมของเกษตรกร ข้อมูลในปี 2020 ช่วงโควิด-19 ระบาดหนักๆนั้น พบแปลงปลูก “กุหลาบ” ขนาดใหญ่รวมประมาณ 2,000 ไร่ กระจายตัวใน 4 จังหวัด คือตาก เชียงใหม่ เลย และนครปฐม
โดยแหล่งปลูก ดอกกุหลาบ ที่ฮิตในช่วงเทศกาลวาเลนไทน์นั้น แหล่งใหญ่สุดอยู่ที่อำเภอพบพระ จังหวัดตาก รองลงมาคืออำเภอสะเมิง อำเภอฮอด อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ลดหลั่นลงมาคือพื้นที่ปลูกในจังหวัดเลย และจังหวัดนครปฐม โดยไทยส่ง ดอกกุหลาบ เป็นสินค้าออกในรูปดอกสด มานานหลายสิบปีแล้ว มูลค่าการส่งออกเฉลี่ย 7 ล้านบาทต่อปี ตลาดส่งออกใหญ่ที่สุดคือสิงคโปร์
อย่างไรก็ตาม กุหลาบ แม้จะมีคุณค่าทางจิตใจ และมีผลต่อตัวเลขทางเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตาม อย่าเพิ่งลืมว่า ดอกกุหลาบอาจเคลือบด้วยยาพิษ ที่มาในรูปแบบ "สารเคมี" โดย กุหลาบนั้น ขึ้นชื่อว่า ความสวยงาม มันมักจะขาด "ยา" หรือสารเคมี ไม่ได้ โดยการสืบค้นจาก ข้อมูลจากกรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ระบุว่า พื้นที่ปลูก “กุหลาบ” 1 ไร่ เกษตรกรต้องใช้ยาปราบศัตรูพืชเฉลี่ยมากถึง 125 ลิตรเลยทีเดียว โดย "กุหลาบ" ที่ป๊อปปูลาร์ใน เทศกาล วาเลนไทน์นั้น จะต้องฉีดพ่นยาสารเคมีทุกขั้นตอน ตลอดระยะครึ่งปี เรียกได้ว่า ตั้งแต่เริ่มปลูก จนถึงวันตัดดอกกุหลาบ
ศัตรูหัวใจของดอกกุหลาบ ก็คือ “โรคใบจุด” หรือ Black Spot และ “โรคใบจุด” คือศัตรูยืนหนึ่งของวงการกุหลาบ ถือเป็นโรคระดับ Classic ที่ผู้ปลูกกุหลาบ รู้จักดี เพราะ กุหลาบจะต้องเผชิญกับโรคใบจุดตลอดทั้งปี โดยโรคใบจุดต้องแก้ได้ด้วยสาร คูปราวิท ไดเทน คาโดนิล แคปแทน เบนเลท หรือเบนโนมิล
และ นอกจากโรคใบจุดแล้ว อีกหนึ่งปัญหาศัตรูของกุหลาบ ก็ยังมีอีก 2-3 คน เป็นต้นว่า เพลี้ยไฟ และ “ไรแดง โดย เพลี้ยไฟนั้น ผู้ที่ปลูกกุหลาบ มักสั่งยาคาร์บาริล, เอ็นโดซัลแฟน, มาลาไธออน, เมทธิโอคาร์บ, คาร์โบซัลแฟน, อะบาเมคทิน, เบนฟูราคาร์บ หรือฟิโพรบิล มาเพื่อแก้อาการ ส่วน ไรแดง ก็ต้องเจอกับสารเคมีอย่างไพรบิดาเบน, อิมิดาคลอพริด, โอเม็ทโธเอท, อะบาเม็คติน, อะมิทราซ, แลมด้าไซฮาโลธริน หรือเท็ทตระไดฟอน และ นอกจาก “เพลี้ยไฟ” และ “ไรแดง” ธรรมชาติยังแถม “หนอน” มาให้อีกเล็กน้อย ซึ่งต้องโคจรมาพบกับอะบาเม็กติน หรือไซเพอร์เมทริน
จะเห็นได้ ดอกกุหลาบ ที่เป็นดอกไม้ยอดนิยมสำหรับวาเลนไทน์นั้น อาจจะไม่ได้มี แค่ “หนาม” ที่ทิ่มแทงมือเท่านั้นที่ “อันตราย” แต่ หาก ดอกไหน ที่สวยจัดๆ ไร้ตำหนิแล้ว เป็นตัวท็อป ก็อาจจะมีอันตรายจากสารเคมี ที่ล่อแหลมต่อความปลอดภัย และมันเต็มไปด้วยสารเคมี ที่ไม่ รักษ์โลก ไม่รักสิ่งแวดล้อม และ ไม่ Keep The World