svasdssvasds

วิจัยชี้ สูดดมมลพิษมาก ๆ อาจสูญเสียทักษะทางภาษาโดยไม่รู้ตัว

วิจัยชี้ สูดดมมลพิษมาก ๆ อาจสูญเสียทักษะทางภาษาโดยไม่รู้ตัว

งานวิจัยพบว่า ผู้สูงอายุที่อยู่ในพื้นที่มลพิษทางอากาศสูงเสี่ยงสูญเสียทักษะทางภาษา เนื่องจากสมองส่วนขมับได้รับผลกระทบ โดยเฉพาะจากมลพิษ NO₂ และ PM 2.5

โมงยามที่ฝุ่น PM 2.5 รุนแรง ภาคประชาชน โดยเฉพาะพี่น้องชาวภาคเหนือกำลังถูกรมฝุ่นเข้าไปอย่างช้า ๆ และยิ่งแรงขึ้นอีกเมื่อมีเหตุการณ์ไฟป่า ว่ากันในเชิงผลกระทบ ฝุ่น PM 2.5 ส่งผลเสียต่อร่างกายมนุษย์หลายอย่าง อาทิ โรคปอด แสบตา แน่นหน้าอก ถุงลมแฟบ ฯลฯ

Credit Nation Photo

ผลการวิจัยใหม่ ที่ตีพิมพ์ในวารสาร The Journals of Gerontology พบว่า ผู้สูงอายุ ที่สูดดมหรือสัมผัสกับมลพิษ และฝุ่นละอองขนาดเล็ก เป็นเวลานาน ๆ อาจส่งผลต่อสมองส่วนขมับ (Temporal lobe) ซึ่งมีหน้าที่เกี่ยวกับความจำ และทำหน้าที่แปลเสียงที่ได้ยินให้เป็นภาษา ถ้าสมองส่วนนี้เสียไป ผู้ป่วยจะไม่เข้าใจเสียงที่ได้ยินว่าแปลว่าอะไร ทั้งที่เป็นภาษาไทยที่เคยรู้มาก่อน (รพ.พญาไท ศรีราชา)

นักวิจัยได้เก็บข้อมูลจากผู้เข้าร่วมทดสอบจำนวน 1,127 คน ทุกคนมีอายุ 65 ปีขึ้นไป โดยเริ่มเก็บข้อมูล และศึกษาความเปลี่ยนแปลงในสมองมาตั้งแต่ปี 2008-2017 หรือราว 10 ปี นักวิจัยประเมินทักษะด้านความจำ การวางแผน การแก้ปัญหา การทำงาน การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ รวมถึงทักษะด้านภาษา

ผลการศึกษาพบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีระดับ NO₂ และ PM2.5 สูงที่สุดมีผลการทดสอบทางปัญญาที่แย่กว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีระดับมลพิษโดยเฉลี่ย และเมื่อไปดูทักษะด้านภาษาก็พบว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีมลพิษมากที่สุดทำคะแนนได้อยู่ในอันดับสาม

Credit Nation Photo

ลงลึกไปกว่านั้น ทีมนักวิจัยได้ศึกษาลงลึกไปอีกว่ามลพิษจากแหล่งแตก ๆ ส่งผลต่อร่างกายต่างกันหรือไม่ อย่างไร ผลพบว่ามลพิษทางอากาศจากแหล่งต่างๆ มีผลกระทบต่อสุขภาพทางปัญญาที่แตกต่างกัน

ตัวอย่างเช่น มลพิษจากอุตสาหกรรม เครื่องทำความร้อนในบ้าน หรือการเผาไหม้เชื้อเพลิง (ถ่านหินและน้ำมัน) มีความเชื่อมโยงกับทักษะด้านภาษาที่แย่ลงของผู้สูงอายุ อาทิ การนึกคำศัพท์

ดร. จอร์โจ ดิ เกสซา (UCL Epidemiology & Health) ผู้เขียนหลักกล่าวว่า “การศึกษาของเราแสดงให้เห็นว่ามลพิษทางอากาศไม่เพียงแต่เป็นอันตรายต่อปอดและหัวใจเท่านั้น แต่ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพของสมองด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อผู้คนสัมผัสกับมลพิษในระดับสูงเป็นเวลานาน

อย่างไรก็ดี ทีมนักวิจัยได้เรียกร้องให้ประเทศต่าง ๆ ดำเนินนโยบานด้านอากาศอย่างเข้มงวด เพื่อควบคุมมลพิษ รวมถึงฝุ่นละอองขนาดเล็ด เพื่อช่วยปกป้องสุขภาพของประชาชนเป็นสำคัญ

 

ที่มา: NeuroScienceNews

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related