svasdssvasds

ตุรกีที่ตั้งเป้า 'ไร้ขยะ' แต่กลับกลายเป็นแหล่งทิ้งขยะของยุโรปแทน

ตุรกีที่ตั้งเป้า 'ไร้ขยะ' แต่กลับกลายเป็นแหล่งทิ้งขยะของยุโรปแทน

เรื่องน่าเศร้าที่เกิดจากพลาสติก เมื่อตุรกีที่เคยประกาศตั้งเป้าเป็นประเทศที่ 'ไร้ขยะ' กลับกลายเป็นศูนย์กลางการรีไซเคิลของยุโรป ปัญหาคือพลาสติกส่วนใหญ่ไม่สามารถรีไซเคิลได้ และสิ่งที่ยังเหลืออยู่คือกองขยะที่มีแต่สารพิษ

ในช่วงฤดูร้อนของปี 2017 เอมีน แอร์โดอัน สุภาพสตรีหมายเลขหนึ่งของตุรกี ปรากฏตัวบนเวทีในกรุงอังการาและประกาศแผนที่ยิ่งใหญ่ว่า ตุรกีจะเปลี่ยนตัวเองเป็นประเทศที่ “ ไม่มีขยะ ” 

ท่ามกลางความเคลื่อนไหวของประเทศอื่นทั่วโลก ที่เริ่มเปลี่ยนผ่านสู่อนาคตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมด้วยการลดการปล่อยก๊าซเชื้อเพลิง สร้างฟาร์มกังหันลม หรือเก็บภาษีการปล่อยคาร์บอน แต่แอร์โดอันอธิบายว่าการเปลี่ยนแปลงของตุรกี จะเริ่มจากที่บ้านของพลเมืองตุรกี 85 ล้านคน ที่จะช่วยกันกำจัดและลดการสร้างขยะเพื่อ “ตุรกีที่สะอาด”

ตุรกีที่ตั้งเป้า \'ไร้ขยะ\' แต่กลับกลายเป็นแหล่งทิ้งขยะของยุโรปแทน

หากย้อนไปในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา ตุรกีเองก็มีสถิติของขยะพลาสติกไม่แพ้ประเทศอื่นๆ ในโลก แม้จะมีเครือข่ายน้ำพุสาธารณะที่ให้บริการน้ำสะอาดแก่ชุมชน แต่ไม่มีทางสู้กับความสะดวกสบายของขวดบรรจุน้ำดื่มที่ผลิตจากพลาสติก หรือ PET ตั้งแต่ช่วงต้นทศวรรษปี 2000 ชาวตุรกีซื้อขวดน้ำนี้ไปแล้วหลายสิบล้านขวดทุกวัน ในปี 2010 ยังมีสถิติถุงพลาสติกที่ถูกใช้แล้วทิ้งมากถึง 35,000 ล้านใบต่อปี และมากกว่า 90% ของพลาสติกทั้งหมดนี้ลงเอยที่หลุมฝังกลบในชนบทหรือในทะเล 

ปัญหาคือในทันทีที่ประกาศตนเป็นประเทศปลอดขยะ ตุรกีก็กลายเป็นปลายทางของขยะพลาสติกรายใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก

เนื่องจากในช่วงเวลาดังกล่าว จีนที่เคยเป็นปลายทางของพลาสติกจากหลายประเทศมาก่อน ก็ออกมาประกาศห้ามนำเข้าขยะจากนอกประเทศอย่างจริงจังเช่นกัน ทำให้บรรดาประเทศร่ำรวยต้องมองหาปลายทางแห่งใหม่สำหรับขยะพลาสติกที่พวกเขาสร้างขึ้นเป็นจำนวนมากแต่ไม่สามารถจัดการได้

มีประเทศที่ได้รับผลกระทบจากความเคลื่อนไหวของจีนในครั้งนั้น โดยขยะจากกรีกเริ่มปรากฏขึ้นในไลบีเรีย ขยะจากอิตาลีกำลังทำลายชายหาดของตูนิเซีย มีการส่งออกขยะจากยุโรปไปยังแอฟริกาเพิ่มขึ้นสี่เท่า มาเลเซียกลายเป็นประเทศที่รับขยะพลาสติกจากสหรัฐฯ มากที่สุดในโลก และฟิลิปปินส์ต้องขู่แคนาดาด้วยการทำสงครามหากยังส่งตู้คอนเทนเนอร์บรรจุผ้าอ้อมสกปรกไปยังกรุงมะนิลา

ส่วนขยะพลาสติกมากกว่า 200,000 ตันจากยุโรปที่ควรมุ่งหน้าไปยังภาคตะวันออกเฉียงใต้ของจีนใน 30 ปีที่ผ่านมา กลับถูกย้ายไปที่ภาคตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกีแทน

ตุรกีที่ตั้งเป้า \'ไร้ขยะ\' แต่กลับกลายเป็นแหล่งทิ้งขยะของยุโรปแทน

ทั้งหมดนี้เกิดขึ้นจากความลับที่น่ารังเกียจ จากข้อมูลของ The Guardian ที่ระบุว่า หลายประเทศมักออกมาอ้างถึงการรีไซเคิลขยะพลาสติกที่ประสบความสำเร็จ แต่แท้จริงแล้ว ขยะพลาสติกเหล่านั้นกลับถูกส่งไปที่อีกฟากหนึ่งของโลก ในประเทศกำลังพัฒนาที่ไร้การป้องกัน ขณะที่ผู้บริโภคส่วนใหญ่ยังคงไม่เข้าใจว่าปัญหาขยะพลาสติกนั้นร้านแรงเพียงใด เพราะถูกกลบเกลื่อนด้วยคำว่า 'รีไซเคิล' ซึ่งมักไม่เป็นความจริง

ในไม่ช้า ครึ่งหนึ่งของขยะพลาสติกจากประเทศในยุโรปที่อ้างว่าได้รับการรีไซเคิลแล้ว ก็ถูกส่งไปยังตุรกี บันเป็นปริมาณกว่า  750,000 ตันภายใน 3 ปีแรก จนทำให้ตุรกีกลายเป็นผู้รับขยะพลาสติกรายใหญ่ที่สุดในโลก เทียบเท่ากับการมีรถบรรทุกขยะหนึ่งคันที่บรรทุกขยะจากต่างประเทศเข้ามาในประเทศทุก ๆ หกนาที

อย่างไรก็ตาม มีข้อมูลระบุว่า ขยะพลาสติกบางส่วนที่ส่งไปยังภาคตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกีนั้นถูกนำไปใช้ประโยชน์จริง โดยได้รับการทำความสะอาด ฉีกเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย จากนั้นแปลงเป็นโพลีเอสเตอร์ ก่อนจะผลิตเป็นเครื่องใช้ในบ้านอย่างแผ่นรองพรมหรือผ้าเช็ดจานที่ไร้มาตรฐาน บางส่วนก็จะถูกเผาในโรงงานซีเมนต์หลายแห่งของตุรกี ทำให้ได้เชื้อเพลิงราคาถูก ซึ่งทั้งสองส่วนล้วนผ่านกระบวนการที่ใช้พลังงานมหาศาลและก่อมลพิษ

ส่วนพลาสติกส่วนที่เหลืออีกจำนวนมาก สกปรกเกินกว่าจะนำมาทำเป็นพรมอาบน้ำหรือเผาเป็นเชื้อเพลิงได้ ชะตากรรมของขยะเหล่นี้คือการถูกรถบรรทุกแอบนำไปเททิ้งในชนบทก่อนจะจุดไฟเผาอย่างลับๆ หรืออาจถูกทิ้งไว้แบบนั้น รอเวลาให้พวกมันย่อยสลายตามธรรมชาติในอีกหลายหมื่นปีข้างหน้า และเกิดเป็นไปโครพลาสติกนับพันล้านชิ้นไหลลงสู่แหล่งน้ำและทำลายพื้นที่เพาะปลูก