SHORT CUT
เกาะบาหลี เกาะสะอาดหาดสวรรค์แห่งอินโดนีเซีย ถูกคลื่น "สึนามิขยะ" ซัดถล่มเละแทบไม่เหลือเค้าเดิม ด้วยจำนวนขยะกว่า 66,000 ตัน แม้ชาวเมืองมีใจรักษ์โลก แต่เจอแบบนี้ก็มีท้อเหมือนกัน
หลายปีมานี้ เกาะบาหลี อินโดนีเซีย กลายเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยว ที่หลายคนตั้งใจ และมุ่งมั่นจะไปเที่ยวสักครั้งให้ได้ อนึ่งว่า มีภูมิประเทศ และธรรมชาติอันงดงาม และหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมก็คือ ชายหาด Pantai Kedonganan
แต่ล่าสุด เกาะสะอาดหาดสวรรค์แห่งนี้กลับกลายเป็นจุดหมายปลายทางของขยะทะเลจำนวนมหาศาล ที่หลั่งไหล และซัดโถมเข้ามากองกันอยู่บริเวณชายหาด หนักหนาสากรรจ์ถึงขั้นว่าสื่อต่างประเทศใช้คำว่า ‘Trash Tsunami’ หรือ ‘สึนามิขยะ’
Sam Bencheghib หนึ่งในผู้องค์กรไม่แสวงผลกำไร Sungai Watch ได้โพสต์วิดีโอ และภาพชุดหนึ่ง ซึ่งแสดงให้เห็นถึงคลื่นขยะขนาดมหึมา ที่กลาดเกลื่อนระเกะระกะอยู้ริมหาด Pantai Kedonganan ซึ่งกดซูมดูแล้ว ส่วนใหญ่เป็นขยะพลาสติก
ชาวพื้นถิ่นเมื่อได้เห็นคลื่นสึนามิขยะ ผู้คนเกือบ 3,000 คน ในฐานะอาสาสมัคร ร่วมมือร่วมใจกัน เก็บขยะตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม ถึง 5 มกราคม สิริรวมแล้วเก็บขยะไปได้ทั้งหมด 66,000 กิโลกรัม
เมื่อมีการจำแนกอย่างละเอียด พบว่า ส่วนใหญ่เป็นแก้วน้ำพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง ขวดน้ำ ซองพลาสติก เหล่านี้แผ่แขนงทอดตัวปกคลุมผืนทราย นอกจากนี้ อาสาสมัครยังพบเต่า 2 ตัว ดิ้นรนเอาชีวิตรอดให้พ้นจากสึนามิขยะระลอกนี้
ประชาชนในฐานะผู้บริโภค รวมถึงรัฐบาลจะให้ความสำคัญกับปัญหาขยะทะเลอย่างเป็นจริงเป็นจัง (อย่างที่เราได้ยินกันมา) แต่ขยะที่ลอยมาเกลื่อนชายหาดอยู่ทุกเดือน ทุกปีเช่นนี้ บั่นทอนจิตใจ และความตั้งใจพวกเขาอยู่ไม่น้อย
ถึงตรงนี้ ทุกคนคงสงสัยกันว่า...ขยะพวกนี้มาจากไหน?
จะเริ่มต้นตรงไหนดี เกาะบาหลีประสบปัญหานี้นักท่องเที่ยวล้นมาอย่างยาวนาน กระนั้น สิ่งที่ตามมากับนักท่องเที่ยวคือ ขยะ แม้จะมีกฎควบคุมรัดกุมอย่างไร ขยะย่อมเกิดอยู่วันยังค่ำ
เว็บไซต์ Road Genius ระบุว่า มีนักท่องเที่ยวมาเยือนที่เกาะบาหลีราว 15.4 ล้านคนต่อปี สารตั้งต้นข้อนี้ ส่งผลให้เกาะบาหลีมีขยะมากกว่า 300,000 ตันต่อปี โดยขยะทะเลมีสัดส่วนมากถึง 10% เลยทีเดียว
Sungai Watch องค์กรที่ฉายภาพสึนามิขยะในครั้งนี้ เปิดเผยว่า ได้มีมาตรการเชิงรุกเพื่อจัดการกับขยะเหล่านี้แล้ว ยกตัวอย่างเช่น ยกตัวอย่างแผงกั้นขยะ 300 แผง ทำความสะอาดหมู่บ้าน 260 แห่ง และลงพื้นที่เก็บขยะในชุมชนไปแล้วกว่า 1,420 ครั้ง
เสียงจากคนในพื้นที่เกาะบนหลีสะท้อนออกมาว่า “นี่ไม่ใช่ปัญหา (ขยะ) ของเกาะบาหลีเท่านั้น แต่ส่งผลกระทบต่ออินโดนีเซียทั้งประเทศ”
ที่มา: Daily Mail
ข่าวที่เกี่ยวข้อง