SHORT CUT
กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยว่า ปีงบประมาณ 2567 คพ. ได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนด้านมลพิษ ทั้งหมด 1,021 เรื่อง พื้นที่ที่มีการร้องเรียนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร 276 เรื่อง
จากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ส่อทวีความรุนแรง วันนี้จะชวนคุย..กับคนกรีนกรีน ปี2568 อยากเห็นโลก เห็น ‘สิ่งแวดล้อมไทย’ เป็นอย่างไร?
ตัวอย่างเช่น “ชณัฐ วุฒิวิกัยกา” หรือก้องกรีนกรีน คอนเทนต์ครีเอเตอร์ และKOL สายสิ่งแวดล้อม บอกว่า ปีหน้าอยากเห็นโลกเรารอบคอบและใส่ใจขึ้น อยากให้ทุกคนคิดก่อนบริโภค
ชวนมาพูดคุย..กับคนกรีนกรีน ว่าปี2568 อยากเห็นโลก เห็น ‘สิ่งแวดล้อมไทย’ เป็นอย่างไร? หลังปี2567 ไทยเจอปัญหาสิ่งแวดล้อมมากมาย ทั้งโลกเดือด ทะเลเดือด ภัยพิบัติ ปี2568 จะเป็นอย่างไร ติดตามบทความ
ปี2567 เป็นอีกหนึ่งปีที่โลกของเราบอบช้ำมาก ทั้งโลกร้อน โลกเดือด ปัญหาหาสิ่งแวดล้อมได้ทวีความรุนแรงมากขึ้น และมีแนวโน้มทวีความรุนแรงมากขึ้น หากว่าโลกของเราไม่ได้รับการดูแลให้ดีต่อจากนี้ไป ประเทศไทยของเราปีที่ผ่านมาปัญหาสิ่งแวดล้อมรุมเร้าจำนวนมาก ล่าสุด กรมควบคุมมลพิษ (คพ.) เปิดเผยว่า ปีงบประมาณ 2567 คพ. ได้รับแจ้งเรื่องร้องเรียนด้านมลพิษ ทั้งหมด 1,021 เรื่อง พื้นที่ที่มีการร้องเรียนมากที่สุด คือ กรุงเทพมหานคร 276 เรื่อง
รองลงมาคือ สมุทรปราการ 66 เรื่อง และสมุทรสาคร 56 เรื่อง ประเภทปัญหามลพิษที่ได้รับการร้องเรียนสูงสุด ได้แก่ ปัญหากลิ่นเหม็น จำนวน 711 เรื่อง คิดเป็นร้อยละ 41 รองลงมาคือ ฝุ่นละอองและเขม่าควัน จำนวน 442 เรื่อง ร้อยละ 25 เสียงดังหรือเสียงรบกวน จำนวน 253 เรื่อง ร้อยละ 15 ช่องทางที่ประชาชนใช้ในการแจ้งเรื่องร้องเรียนมากที่สุดคือ สายด่วน 1650 จำนวน 460 เรื่อง ร้อยละ 45
รองลงมาคือเว็บไซต์กรมควบคุมมลพิษ จำนวน 188 เรื่อง ร้อยละ 18 และแฟนเพจกรมควบคุมมลพิษ จำนวน 141 เรื่อง ร้อยละ 14 นอกจากนี้ แหล่งที่มาของปัญหามลพิษส่วนใหญ่เกิดจากโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 426 เรื่อง ร้อยละ 42 รองลงมาคือ สถานประกอบการ 293 เรื่อง ร้อยละ 29 และจากแหล่งอื่นๆ เช่น น้ำในคลองเน่าเสียการคมนาคม จำนวน 117 เรื่อง ร้อยละ 11
อย่างไรก็ตามคพ. ได้เข้าดำเนินการต่อเรื่องร้องเรียนที่ได้รับและทำการสำรวจความพึงพอใจของประชาชน ผลสำรวจพบว่า ประชาชนมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ 91 ทั้งนี้การดำเนินงานจะครอบคลุมตั้งแต่การรับแจ้ง การประสานงาน และการตรวจสอบข้อเท็จจริงเจ้าหน้าที่กรมควบคุมมลพิษได้รับคะแนนสูงหรือในระดับมากที่สุด ในด้านความเอาใจใส่ ความสุภาพ ความพร้อมในการให้บริการ การแก้ไขปัญหา รวมถึงความซื่อสัตย์ โปร่งใส และเป็นธรรมในการปฏิบัติงาน ซึ่งสะท้อนถึงการทำงานที่มีประสิทธิภาพและความทุ่มเทของเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขปัญหามลพิษให้กับประชาชน
ทั้งนี้อย่างไรก็ตาม คพ. ยังคงมุ่งมั่นในการปรับปรุงกระบวนการทำงาน เพื่อให้เรื่องร้องเรียนปัญหามลพิษได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ทั้งการแก้ไขปัญหาเรื่องร้องเรียนภายในเวลาที่กำหนดและจำนวนเรื่องที่ได้รับการแก้ไขเพิ่มขึ้น เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนในการจัดการปัญหามลพิษ
นอกจากปัญหาสิ่งแวดล้อมที่กล่าวมาข้างต้น วันนี้ #SPRiNG จะพามาพูดคุยกับคนกรีนกรีน ว่าปี2568 อยากเห็นโลก เห็นสิ่งแวดล้อมไทยเป็นอย่าไร มาเริ่มกันที่ “อเล็กซ์ เรนเดลล์” นักแสดงสายอนุรักษ์ และผู้ร่วมก่อตั้ง Environmental Education Centre Thailand ให้สัมภาษณ์ KeepTheWorld เมื่อวันที่ 9 พ.ย.2024 ที่ผ่านมาว่า ปี2568 สถานการณ์สิ่งแวดล้อมไทยยังน่าเป็นห่วง เพราะปี2567 เจอกับความรุนแรงมากมาย สอดคล้องกับคำเตือนของนักวิทยาศาสตร์ ดังนั้นทุกฝ่ายต้องทำงานเชิงรุกให้เร็วขึ้น
มาต่อกันที่ “ชณัฐ วุฒิวิกัยกา” หรือ ก้องกรีนกรีน คอนเทนต์ครีเอเตอร์ และKOL สายสิ่งแวดล้อม ให้สัมภาษณ์ KeepTheWorld เมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 2024 ที่ผ่านมาว่า ปีหน้าอยากเห็นโลกเรารอบคอบและใส่ใจขึ้น อยากให้ทุกคนคิดก่อนบริโภค ก่อนจะซื้ออะไร ว่าเราจำเป็นต้องมี หรือเรามีทางเลือกอื่นที่ดีต่อโลกหรือไม่เราต้องรับผิดชอบโลกอย่างรับผิดชอบ ร่วมถึงปลายทางเรามีวิธีจัดการกับสิ่งที่ซื้อมาและใช้อย่างไร ไม่ใช่แค่ผู้บริโภคอย่างเดียว รวมถึงผู้ผลิตด้วยอยากให้รอบคอบขึ้นว่าสิ่งที่จะผลิตออกมาไม่ใช่แค่ส่งผลดีต่อยอดขายอย่างเดียว ต้องดูด้วยว่าสิ่งเหล่านั้นไปเบียดเบียนโลกหรือเปล่า แค่คำว่าใส่ใจทั้งผู้ผลิต และผู้บริโภคจะทำให้โลกของเราดีมากขึ้น
นอกจากนี้มองว่าส่อง พ.ร.บ.ต่างๆของประเทศไทยยังล่าช้า เช่นส่อง พ.ร.บ.ขยะ ยังไม่มีแนวโน้มที่จะเข้าไปในสภาฯ และจะมีการหารือกันเมื่อไหร่ ส่วนตัวมองว่ากระบวนการจัดทำดูล่าช้ามาก เพราะปัญหาขยะเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้นแล้วในตอนนี้ ส่วน พ.ร.บ.โลกร้อน ก็ยังไม่เห็นมีความคืบหน้าในเรื่องนโยบาย และการผลักดันที่เร่งด่วน
ส่วนปัญหาอื่นๆที่พบเจอคือ ไทยยังประสบปัญหาเรื่อง SME ไม่มีความรู้เรื่องการทำองค์กรของตัวเองให้กรีน รัฐ หรือหน่วยงานที่มีความรู้ไม่ได้มาสนับสนุนเรื่องต้นทุนการปรับองค์กร อยากเห็นองค์กรไหนที่พร้อม และมีกำลังพออยากให้ช่วยเหลือแบ่งปัน SME ไทย
ต่อมามาฟังมุมมองจาก “พิพัฒน์ อภิรักษ์ธนากร” หรือท็อป ผู้ร่วมก่อตั้ง ECOLIFE ให้สัมภาษณ์ KeepTheWorld เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2024 ที่ผ่านมาว่า อยากเห็นโลกของเราเหมือนเดิมก็พอ เพราะถ้าดูจากข้อมูลปัจจุบันที่มีอยู่แล้วคงเป็นไปได้ยากที่โลกร้อน โลกเดือดจะดีขึ้นกว่านี้ แค่รักษามาตรฐานเดิมที่ทำอยู่ได้ก็ดีแล้ว
ปิดท้ายกันที่มุมมองจาก “พรพรหม วิกิตเศรษฐ์” ที่ปรึกษาผู้ว่ากรุงเทพมหานคร ให้สัมภาษณ์ KeepTheWorld เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2024 ที่ผ่านมาว่า ปีหน้าเปิดมาถึงฤดูเผาแล้ว อยากให้ประชาชนช่วยลดเผา พร้อมนำรถไปเปลี่ยนไส้กรองน้ำมันเครื่อง ใช้ขนส่งมวลชนมากขึ้น เพื่อช่วยกันลดฝุ่นมากยิ่ง เชื่อว่าปัญหานี้จะบางเบาลงถ้าทำตามนี้
ทั้งหมดคือ เรื่องราวของสิ่งแวดล้อมไทยในปี 2567 และมุมมองความเห็นจากคนกรีนกรีน ที่อยากเห็นโลก เห็นสิ่งแวดล้อมไทยในปี2568 ดีขึ้น โลกของเราจะได้น่าอยู่ยิ่งขึ้นไป!
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ปี2567 โลกเดือด-ทะเลเดือด สูงเป็นประวัติการณ์ ปัญหาสิ่งแวดล้อมเพียบ !
วันสิ่งแวดล้อมไทย พร้อมบทสรุป COP29 เร่งพัฒนาระบบเตือนภัยล่วงหน้า