svasdssvasds

เปิดทางรอด-ทางเลือก อนุรักษ์ “ป่าโกงกาง”ด้วยเทคโนโลยีการจัดลำดับจีโนม

เปิดทางรอด-ทางเลือก อนุรักษ์ “ป่าโกงกาง”ด้วยเทคโนโลยีการจัดลำดับจีโนม

พาเปิดทางรอด-ทางเลือก ในการอนุรักษ์ป่าโกงกาง ด้วยเทคโนโลยีการจัดลำดับจีโนม และความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะป่าโกงกางคือด่านป้องกันที่สำคัญในการช่วยป้องกันคลื่นให้กับชุมชน

SHORT CUT

  • ป่าโกงกาง หรือป่าชายเลน ถือว่ามีความสำคัญต่อระบบนิเวศวิทยาทางทะเล ดังเช่นตามแนวชายฝั่งที่กว้างใหญ่ของประเทศไทย
  • เพราะ...ป่าโกงกางคือด่านป้องกันที่สำคัญในการช่วยป้องกันคลื่นให้กับชุมชนที่อยู่อาศัยตามริมชายฝั่ง
  • วันนี้จะพามาดูเปิดทางรอด-ทางเลือก อนุรักษ์ “ป่าโกงกาง”ด้วยเทคโนโลยีการจัดลำดับจีโนม

พาเปิดทางรอด-ทางเลือก ในการอนุรักษ์ป่าโกงกาง ด้วยเทคโนโลยีการจัดลำดับจีโนม และความหลากหลายทางชีวภาพ เพราะป่าโกงกางคือด่านป้องกันที่สำคัญในการช่วยป้องกันคลื่นให้กับชุมชน

ป่าโกงกาง หรือป่าชายเลน ถือว่ามีความสำคัญต่อระบบนิเวศวิทยาทางทะเล ดังเช่นตามแนวชายฝั่งที่กว้างใหญ่ของประเทศไทย ป่าโกงกางคือด่านป้องกันที่สำคัญในการช่วยป้องกันคลื่นให้กับชุมชนที่อยู่อาศัยตามริมชายฝั่ง อีกทั้งยังเป็นแหล่งอาหารสำหรับชุมชนนับพันและเป็นพื้นที่เพาะพันธุ์สิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศวิทยาทางทะเลที่มีความซับซ้อน ที่ปัจจุบันจะต้องเผชิญกับภัยคุกคามมากมายจากมนุษย์และได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศบนโลก

 

โดยศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ (NOC) ภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) รับรู้ได้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นและได้เข้ามาให้การช่วยเหลือและปกป้องระบบนิเวศที่สำคัญเหล่านี้อย่างเร่งด่วน โดยได้ร่วมมือกับบริษัท เอ็มจีไอ เทค จำกัด ("MGI") บริษัทที่มีเป้าหมายในการพัฒนาเครื่องมือและเทคโนโลยีสำคัญที่ใช้ขับเคลื่อนนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์ชีวภาพ (จีโนมิกส์) นำเอาเทคโนโลยีการวิเคราะห์ลำดับดีเอ็นเอขั้นสูงมาประยุกต์ใช้สำหรับโครงการวิจัยเพื่ออนุรักษ์ป่าโกงกางในประเทศไทย

เปิดทางรอด-ทางเลือก อนุรักษ์ “ป่าโกงกาง”ด้วยเทคโนโลยีการจัดลำดับจีโนม

นับตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา ป่าโกงกางทำหน้าที่เป็นปราการทางธรรมชาติ ปกป้องการพังทลายของชายฝั่งจากคลื่นลม อีกทั้งยังให้ร่มเงาและที่อยู่อาศัยแก่สัตว์ทะเลต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นหัวใจหลักของอุตสาหกรรมประมงที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ แต่ในช่วง 50 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยสูญเสียป่าโกงกางไปแล้วกว่า 60% จากการตัดไม้ทำลายป่าและการขยายพื้นที่เมือง ยิ่งสูญเสียป่าโกงกางมากขึ้นเท่าไรก็ย่อมส่งผลกระทบกับระบบนิเวศที่เกี่ยวข้องมากขึ้น ทำให้การอนุรักษ์เป็นเรื่องสำคัญอย่างเร่งด่วน

ดังเช่นที่ชาวประมงท้องถิ่นที่ได้รับผลกระทบได้กล่าวไว้ว่า "ป่าชายเลนคอยปกป้องเราเสมอมา ป่าก็ช่วยทำหน้าที่เป็นกำแพงกันคลื่นและเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยเพาะพันธุ์ปลาและกุ้ง ถ้าไม่มีป่าชายเลน คนพื้นที่มันก็อยู่ยาก

วิจัยความหลากหลายทางพันธุกรรม สู่ทางรอดในการอนุรักษ์

การทำความเข้าใจความหลากหลายทางพันธุกรรมของป่าโกงกางเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาแผนการอนุรักษ์ให้มีประสิทธิภาพ ข้อมูลทางพันธุกรรมเผยให้เห็นว่าพันธุ์พืชและสัตว์ต้องปรับตัวเพื่อรับมือกับอุปสรรคและความท้าทายต่าง ๆ เช่น ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ระดับความเค็มของน้ำทะเล และการสูญเสียแหล่งที่อยู่อาศัย เครื่องวิเคราะห์ลำดับดีเอ็นเอ DNBSEQ-G400RS จาก MGI ช่วยให้สามารถประเมินความหลากหลายนี้อย่างแม่นยำ ซึ่งเปิดโอกาสให้นักวิจัยทำความเข้าใจความซับซ้อนทางพันธุกรรมได้อย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน ถือเป็นก้าวสำคัญในการพัฒนากลยุทธ์การอนุรักษ์

ดร.เจเรอมี เชียร์แมน นักวิจัยอาวุโสจากศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ ได้ย้ำถึงคุณค่าของแนวทางนี้ว่า “ป่าโกงกางมีความสำคัญต่อบริเวณชายฝั่งและปากแม่น้ำ เป็นเสมือนแนวกำบังกันการกัดเซาะชายฝั่งจากคลื่นลมและพายุ รวมถึงเป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์ทะเลวัยอ่อนที่จะเติบโตเป็นเสมือนขุมทรัพย์ของมหาสมุทร การเข้าใจความหลากหลายทางพันธุกรรมจะช่วยให้เราสามารถอนุรักษ์ระบบนิเวศที่มีค่านี้ไว้ได้”

ดร.เชียร์แมนอธิบายเพิ่มเติมว่า จุดประสงค์หลักของการวิจัยคือเพื่อการอนุรักษ์ เราต้องการระบุชนิดพันธุ์ที่มีอยู่ วิเคราะห์ลำดับพันธุกรรมเพื่อสร้างฐานข้อมูลอ้างอิง และใช้เทคนิคการจัดลำดับเอนไซม์ตัดจำเพาะ เพื่อที่จะระบุได้ว่ามีความหลากหลายทางพันธุกรรมในประชากรของสิ่งมีชีวิตในป่าโกงกางทั่วประเทศไทยมากน้อยเพียงใด

เปิดทางรอด-ทางเลือก อนุรักษ์ “ป่าโกงกาง”ด้วยเทคโนโลยีการจัดลำดับจีโนม

ใช้เทคโนโลยีของ MGI เป็นพลังขับเคลื่อน

หัวใจสำคัญของโครงการนี้คือ เทคโนโลยีการวิเคราะห์ลำดับดีเอ็นเอแบบ DNBSEQ™ เฉพาะของ MGI ที่ช่วยให้การจัดลำดับดีเอ็นเอที่เชื่อมโยงกับตำแหน่งเอนไซม์ตัดจำเพาะ (RAD-seq) ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมอ้างอิง ทำได้อย่างครอบคลุมและประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมของระบบนิเวศสำคัญเหล่านี้ได้ RAD-seq สามารถระบุตัวบ่งชี้ทางพันธุกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจำเป็นต่อการสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมอ้างอิง เพื่อให้เข้าใจความหลากหลายทางพันธุกรรมในประชากรป่าโกงกางได้มากขึ้น องค์ความรู้นี้จึงเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับการกำหนดกลยุทธ์การอนุรักษ์ที่มีประสิทธิภาพในการปกป้องระบบนิเวศสำคัญเหล่านี้

ดร. วิรัลดา ภูตะคาม ผู้อำนวยการทีมวิจัยจีโนมิกส์ ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ กล่าวว่า "การสร้างฐานข้อมูลพันธุกรรมอ้างอิงสำหรับพันธุ์ไม้โกงกางทั้ง 15 ชนิดในประเทศไทย ทำให้เราสามารถประเมินความหลากหลายทางพันธุกรรมได้อย่างแม่นยำมากขึ้นด้วยข้อมูลดีเอ็นเอ ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญในการจัดลำดับความสำคัญในการอนุรักษ์"

ความแม่นยำของเทคโนโลยีการวิเคราะห์ลำดับของ MGI นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญ คุณโสณิชา อุ่ทุมพร ผู้ช่วยวิจัย ศูนย์โอมิกส์แห่งชาติ กล่าวว่า "แพลตฟอร์มของ MGI ให้ข้อมูลที่มีคุณภาพสูง ช่วยลดความคลุมเครือในงานวิจัยของเรา ทำให้เราสามารถเสริมสร้างความหลากหลายทางชีวภาพได้อย่างมีประสิทธิผล

"กระบวนการวิเคราะห์ลำดับพันธุกรรมโดยใช้นวัตกรรมใหม่นี้ มีความแม่นยำและประสิทธิภาพที่เหนือกว่า ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการวิจัย การวิเคราะห์ และการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ" คุณนิตินัย ศรืสิงห์ ผู้จัดการฝ่ายขาย MGI Tech ประจำประเทศไทย  กล่าวเสริม

นอกเหนือจากเทคนิค RAD-seq แล้ว การวิเคราะห์ลำดับอาร์เอ็นเอที่ MGI สนับสนุนโครงการวิจัย ได้เปิดเผยข้อมูลการแสดงออกของยีนและกลไกการปรับตัวของป่าโกงกางในสภาพแวดล้อมที่มีโซเดียมสูง เมื่อใช้เทคนิคเหล่านี้รวมกัน จะทำให้ได้มุมมองที่ครอบคลุมเกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ ความแข็งแรง รวมถึงความสามารถในการปรับตัวของป่าโกงกาง

เปิดทางรอด-ทางเลือก อนุรักษ์ “ป่าโกงกาง”ด้วยเทคโนโลยีการจัดลำดับจีโนม

วิสัยทัศน์แห่งอนาคต

ความร่วมมือของ MGI ในการอนุรักษ์ป่าโกงกางได้สร้างกระแสความตื่นตัวในวงกว้าง เพราะโครงการวิจัยนี้ ไม่เพียงแสดงถึงความละเอียดทางพันธุกรรมของชนิดพันธุ์ไม้ในป่าโกงกาง แต่ยังสนับสนุนโครงการอนุรักษ์ในวงกว้างทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความรู้ทางพันธุกรรมจากโครงการนี้ ยังนำไปสู่การกำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติเพื่อปกป้องและฟื้นฟูป่าโกงกาง เพื่อให้ระบบนิเวศนี้ยังคงให้ประโยชน์แก่ชุมชนชายฝั่งและเศรษฐกิจของประเทศต่อไป

งานวิจัยนี้ยังสอดคล้องกับวิสัยทัศน์ในภาพรวม และความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนของ MGI ที่ขยายต่อยอดไปยังโครงการอื่น ๆ เช่น การร่วมมือกับสำนักงานการวิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติของอินโดนีเซียในการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพของสาหร่าย ความร่วมมือเหล่านี้ แสดงให้เห็นว่าจีโนมิกส์สามารถแก้ไขปัญหานิเวศวิทยาในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และทั่วโลกได้อย่างไร

ในขณะที่ป่าโกงกางของไทยสะท้อนเรื่องราวแห่งความแข็งแกร่งและการฟื้นฟู ความร่วมมือระหว่างศูนย์โอมิกส์แห่งชาติและ MGI เป็นตัวอย่างที่น่าประทับใจเกี่ยวกับแนวทางที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสามารถช่วยปกป้องสมบัติของธรรมชาติได้ กรณีศึกษานี้ ย้ำให้เห็นความสำคัญของ MGI ในการสนับสนุนการอนุรักษ์ป่าโกงกางในประเทศไทย และแสดงให้เห็นถึงแนวทางการใช้นวัตกรรมด้านจีโนมิกส์ในการอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพ พร้อมสนับสนุนความยั่งยืนของระบบนิเวศสำหรับคนรุ่นต่อไป

ดังคำกล่าวของคุณ ดันแคน ยู ประธาน MGI ที่ว่า "เราภูมิใจที่ได้สนับสนุนโครงการทางวิทยาศาสตร์ที่สำคัญในประเทศไทย ในการสนับสนุนการอนุรักษ์ระบบนิเวศของไทยและพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน พันธกิจของเราคือ การใช้เครื่องมือชีววิทยาขั้นสูงในการขับเคลื่อนการพัฒนาของโลกอย่างยั่งยืน และสนับสนุนโครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ โดยตั้งเป้าแก้ไขปัญหาเร่งด่วนและหาแนวทางแก้ปัญหาด้วยนวัตกรรมที่ทำได้จริง เพื่อประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติและระบบนิเวศร่วมกัน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related