SHORT CUT
ประโยชน์ของป่าชายเลน คือห่วงโซ่ที่สำคัญของระบบนิเวศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่อนุรักษ์เอาไว้
ปี 2567 กรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง เปิดตัวโครงการ Thailand Mangrove Alliance อย่างเป็นทางการที่จังหวัด กระบี่
10 พ.ค. “วันป่าชายเลนแห่งชาติ" เปิดสถิติกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง 10 ปี ป่าชายเลนไทยเพิ่ม 2 แสนไร่ นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีปัจจุบันมีทั้งสิ้น 1.7 ล้านไร่ เพราะป่าชายเลน คือ คือห่วงโซ่ที่สำคัญของระบบนิเวศ
ป่าชายเลน คือห่วงโซ่ที่สำคัญของระบบนิเวศ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่อนุรักษ์เอาไว้ โดยส่วนส่งเสริมและพัฒนาทรัพยากรป่าชายเลน กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง เผยความสำคัญและคุณค่าของป่าชายเลน ด้านสิ่งแวดล้อม มีดังนี้
เป็นแหล่งอาหาร ที่อยู่อาศัย หลบภัย สืบพันธุ์และเจริญเติบโตของสัตว์น้ำนานาชนิดป่าชายเลนเป็นที่อยู่อาศัยและเป็นแหล่งอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อนหลายชนิด ที่อาศัยเจริญเติบโตในระยะแรก เมื่อเจริญเติบโตแข็งแรงดีแล้วจึงออกสู่ทะเล และสัตว์น้ำหลายชนิดที่แม้จะวางไข่ในทะเลแต่ตัวอ่อนจะเคลื่อนย้ายสู่ป่าชายเลนเพื่ออาศัยหลบซ่อนศัตรู และหาอาหาร
นอกจากนี้ป่าชายเลนยังถือเป็นแหล่งอาหารที่สำคัญของสัตว์น้ำ เพราะมีอินทรียวัตถุที่ได้จากการย่อยสลายของซากพืช (กิ่ง ก้าน ดอก และผล) หรือเศษใบไม้ที่ร่วงหล่นซึ่งอินทรียวัตถุที่ได้จากการย่อยสลายมีปริมาณโปรตีนสูง เช่น กรดอะมิโน ก็จะเป็นอาหารคืนสู่ระบบนิเวศป่าชายเลนต่อไป
ป่าชายถือว่าเป็นแหล่งที่มีการสะสมของคาร์บอนหนาแน่น มีความสามารถในการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2) สูงกว่าป่าประเภทอื่น ไม้ในป่าชายเลนมีอัตราการสังเคราะห์แสงสูงจึงช่วยลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์โดยสามารถกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในรูปของเนื้อไม้และเพิ่มปริมาณออกซิเจนในบรรยากาศ
และป้องกันการกัดเซาะของชายฝั่งทะเล ป่าชายเลนเป็นปราการธรรมชาติ ช่วยบรรเทาความรุนแรงของคลื่นและลมให้ลดน้อยลงก่อนจะขึ้นฝั่ง เพื่อมิให้สร้างความเสียหายอย่างรุนแรงแก่ที่อยู่อาศัยและพื้นที่ทำกินของชาวบ้านในบริเวณใกล้เคียง
พร้อมกรองของเสียจากฝั่งกอนไหลลงสู่ทะเล รากของต้นไม้ในป่าชายเลนที่งอกออกมาเหนือพื้นดิน จะทำหน้าที่คล้ายตะแกรงธรรมชาติคอยดักกรองสิ่งปฏิกูลและสารพิษต่างๆ จากบนบกไม่ให้ลงสู่ทะเล โลหะหนักหลายชนิดเมื่อถูกพัดพามาตามกระแสน้ำ ก็จะตกตะกอนลงที่บริเวณดินเลนในป่าชายเลน รวมถึงขยะและคราบน้ำมันก็จะถูกดักกรองไว้ในป่าชายเลนเช่นกัน
รากของต้นไม้ในป่าชายเลน นอกจากจะช่วยป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแล้ว ยังช่วยชะลอความเร็วของกระแสน้ำ ทำให้ตะกอนที่แขวนลอยมากับน้ำมีการทับถมกันเกิดเป็นแผ่นดินงอกใหม่ เมื่อระยะเวลานาน ก็จะขยายออกไปในทะเลเกิดเป็นหาดเลน อันเหมาะสมแก่การเกิดของพันธุ์ไม้ป่าชายเลนต่อไป
โดยเฉพาะหญ้าทะเลและปะการัง ป่าชายเลนมีบทบาทในการรักษาสมดุลของธาตุอาหารและความอุดมสมบูรณ์ของน้ำทะเลชายฝั่งซึ่งจะส่งผลถึงความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรประมงป่าชายเลนช่วยป้องกันดินพังทลายชายฝั่ง
เนื่องในวันที่ 10 พ.ค. “วันป่าชายเลนแห่งชาติ" ดร.ปิ่นสักก์ สุรัสวดี อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง เปิดเผยว่า สถานการณ์ป่าชายเลนในประเทศไทยปัจจุบัน โดยเฉพาะบริเวณเเนวชายฝั่ง 24 จังหวัด ในรอบ 10 กว่าปีที่ผ่านมา มีเพิ่มมากขึ้นกว่า 2 เเสนไร่ ปัจจุบันมีทั้งสิ้น 1.7 ล้านไร่ โดยกรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่ง จะทำอย่างไร ให้เพิ่มขึ้น
เเละที่คงอยู่มีคนที่จัดการ เเละสร้างประโยชน์ให้กับคนในชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งในเจตนารมย์ของภาคีเครือข่ายได้ร่วมกัน 36 องค์กร ทำโครงการปลูกป่าชายเลนคาร์บอนเครดิต ซึ่งเป็นหนึ่งในประโยชน์ที่ได้จากป่าเท่านั้น เพราะสิ่งที่ได้มา คือ สิ่งแวดล้อมที่ดี ความหลากหลายทางชีวภาคในพื้นที่ ทรัพยกรประมง รวมถึงผลิตภัณฑ์ชุมชน จากป่า ซึ่งชาวบ้านก็จะจะได้ประโยชน์ เละมีรายได้เพิ่มขึ้น
“สำหรับในวันที่ 10 พฤษภาคม ของทุกปี เป็นวันอนุรักษ์ป่าชายเลนเเห่งชาติ โดยในปี2567นี้ ทำให้ กรมทรัพยากรทางทะเลเเละชายฝั่งมีความตั้งใจที่จะเปิดตัวโครงการ Thailand Mangrove Alliance อย่างเป็นทางการที่จังหวัด กระบี่ โดยมีพล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ รมว.ทส.เป็นประธานประธาน”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ป่าชายเลนเสื่อมโทรม กระทบระบบนิเวศและกลายเป็นแหล่งผลิตก๊าซเรือนกระจก
ชม ! บ้านปลา ธนาคารปู บางปะกง กำบังชั้นดีสัตว์น้ำชะลอการถูกจับ ฟื้นป่าชายเลน
"Token คาร์บอนเครดิตป่าชายเลน" เพื่อระบบนิเวศยั่งยืนของไทย เปิดตัวต้นปี 67