svasdssvasds

เรา 'กิน' ไมโครพลาสติกกันไปมากแค่ไหน ถึงจุดวิกฤตแล้วหรือยัง?

เรา 'กิน' ไมโครพลาสติกกันไปมากแค่ไหน ถึงจุดวิกฤตแล้วหรือยัง?

พลาสติกคือวัสดุที่เราสามารถมองเห็นได้ทั่วไปในปัจจุบัน และมีความสำคัญต่อการค้าทั่วโลก แต่ขณะเดียวกันก็สร้างความเสียหายต่อสิ่งแวดล้อมจนใกล้จะถึงจุดวิกฤติ เมื่อมนุษย์ต่างกินไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายทุกวันโดยไม่รู้ตัว

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา 'พลาสติก' กลายเป็นหัวข้อที่ได้รับความสนใจมากขึ้นทั่วโลก ตั้งแต่ภาพของกองขยะพลาสติกที่สูงท่วมเมือง ไปจนถึงมหาสมุทรที่เต็มไปด้วยไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติก แต่ที่เลวร้ายกว่านั้นคือพวกมันได้กลายเป็นวิกฤตด้านสุขภาพของมนุษย์ เนื่องจากพลาสติกได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่เรารับประทานทุกวันโดยไม่มีใครรู้ตัว

ข้อมูลจากการวิจัยของกองทุนสัตว์ป่าโลก (WWF) พบว่ามนุษย์บริโภคพลาสติกเทียบเท่ากับขนาดของบัตรเครดิต เฉลี่ยสัปดาห์ละ 1 ใบ หรือประมาณ 52 ใบต่อปี พวกมันคือ 'ไมโครพลาสติก' และ 'นาโนพลาสติก' ที่มีขนาดเล็กมาก จนสามารถปนเปื้นในอาหารและน้ำ เข้าสู่ร่างกาย อวัยวะ และกระแสเลือดของมนุษย์ได้อย่างง่ายดาย

เรา \'กิน\' ไมโครพลาสติกกันไปมากแค่ไหน ถึงจุดวิกฤตแล้วหรือยัง?

โดยนักวิจัยคาดว่าพลาสติกในร่างกายมนุษย์อาจมีมากกว่าที่พวกเขาสามารถตรวจพบได้หลายเท่า หลังจากที่พวกเขาตรวจพบไมโครพลาสติกมากถึง 20 ชิ้น ปะปนอยู่ในอุจจาระมนุษย์ทุกๆ 10 กรัม 

ในขณะที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ กำลังจะมีการประชุมกันที่เกาหลีใต้เพื่อสรุปสนธิสัญญาว่าด้วยพลาสติกระดับโลก ที่เมืองปูซานของเกาหลีใต้ ตั้งแต่วันที่ 25 พฤศจิกายนนี้ โดยเป็นข้อตกลงที่มีผลผูกพันทางกฎหมาย เพื่อให้นานาชาติหาทางยุติมลภาวะพลาสติก ครอบคลุมทุกขั้นตอนของการผลิต การใช้ และการจัดการขยะอย่างเหมาะสม

เรา \'กิน\' ไมโครพลาสติกกันไปมากแค่ไหน ถึงจุดวิกฤตแล้วหรือยัง?

โดยตั้งแต่ปี 1950 อัตราการผลิตพลาสติกทั่วโลกได้เพิ่มขึ้นมากกว่า 200 เท่า เป็นเกือบ 460 ล้านตันต่อปี สาเหตุหลักมาจากการเพิ่มขึ้นของพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว ซึ่งคิดเป็นครึ่งหนึ่งของการผลิตทั้งหมด ในขณะที่อัตราการรีไซเคิลสามารถครอบคลุมได้เพียงราวๆ  9 เปอร์เซ็นต์จากขยะพลาสติกทั้งหมดเท่านั้น 

โชคดีที่ปัจจุบันมีแนวคิดใหม่ๆ เกี่ยวกับการจัดการขยะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทั้งการใช้วัตถุดิบทางเลือกทดแทนพลาสติกในการผลิตสินค้าต่างๆ การใช้เชื้อราและแบคทีเรียบางชนิดช่วยกำจัดขยะที่ย่อยสลายยาก รวมถึงการปฏิวัติอุสาหกรรมสำคัญ เช่น บรรจุภัณฑ์และสิ่งทอ ที่น่าจะมีส่วนเปลี่ยนแปลงวิกฤติพลาสติกได้ไม่มากก็น้อย

ขณะที่หลายฝ่ายตั้งความคาดหวังว่าทุกประเทศจะสามารถบรรลุข้อตกลงในสนธิสัญญาพลาสติกฯ ภายในการประชุมที่ปูซานครั้งนี้ ซึ่งจะทำให้เกิดการลงนามตามกำหนดการณ์ในปี 2025