svasdssvasds

เช็ก 5 ระดับความรุนแรง "พายุเฮอริเคน" มรณะร้ายกลืนชีวิต มีที่มาอย่างไร?

เช็ก 5 ระดับความรุนแรง "พายุเฮอริเคน" มรณะร้ายกลืนชีวิต มีที่มาอย่างไร?

รู้หรือไม่ เฮอริเคน ทั้ง 5 ระดับ ถูกแบ่งครั้งแรกโดยวิศวกรคนหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในเมืองที่ถูกพายุเฮอริเคนบ่อย และพบว่าทำไมเฮอริเคนถึงไม่มีการแบ่งความรุนแรงเหมือนแผ่นดินไหว

SHORT CUT

  • ณ เวลานี้ ชาวอเมริกันนับล้านชีวิตต้องเร่งอพยพออกจากรัฐฟลอริดา เพื่อหนีจากเฮอริเคนมิลตัน เจ้าพายุลูกล่าสุด ที่มีความรุนแรงระดับ 5
  • จุดกำเนิดของมาตรวัด “SSHWS” มาจาก ชายชาวอเมริกันที่ชื่อ “เฮอร์เบิร์ต แซฟเฟอร์” วิศวกร อาศัยอยู่ที่เมืองเดด เคาน์ตี ในรัฐไมอามี ซึ่งปัญหาที่เกิดซ้ำ ๆ แบบไม่รู้จบของเมืองนี้คือ “พายุเฮอริเคน”
  • แซฟเฟอร์พัฒนามาตรวัดเพื่อจัดประเภทความรุนแรงของเฮอริเคน โดยแบ่งความรุนแรงออกเป็น 5 ประเภท โดยอ้างอิงจากความเร็วลม และผลลัพธ์ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้าง หรือบ้านเรือน

รู้หรือไม่ เฮอริเคน ทั้ง 5 ระดับ ถูกแบ่งครั้งแรกโดยวิศวกรคนหนึ่ง ที่อาศัยอยู่ในเมืองที่ถูกพายุเฮอริเคนบ่อย และพบว่าทำไมเฮอริเคนถึงไม่มีการแบ่งความรุนแรงเหมือนแผ่นดินไหว

เมื่อหนึ่งถึงสองสัปดาห์ที่ผ่านมา เฮอริเคนเฮเลนซัดถล่มสหรัฐฯ พังพินาศ 6 รัฐ ได้รับความเสียหายอย่างหนัก ชนิดที่กลับบ้านกันไม่ถูก (เพราะไม่มีบ้านแล้ว) แต่ ณ เวลานี้ ชาวอเมริกันนับล้านชีวิตต้องเร่งอพยพออกจากรัฐฟลอริดา เพื่อหนีจากเฮอริเคนมิลตัน เจ้าพายุลูกล่าสุด ที่มีความรุนแรงระดับ 5

Credit Reuters

อย่างไรก็ดี สังเกตกันไหมว่า หน่วยงานต่าง ๆ จะเรียกเฮอริเคน ตามด้วยชื่อ และมีความรุนแรงห้องท้ายอยู่เสมอ นั่นเป็นเพราะว่าการสื่อสารในช่วงภัยพิบัติต้องทำยังไงก็ได้ให้ประชาชนเข้าใจถึงความรุนแรงของพายุได้มาก และรวดเร็วที่สุด

Credit Reuters

SPRiNG พาไปย้อนดูที่มาการแบ่งระดับเฮอริเคน เริ่มต้นโดยใคร เมื่อไหร่ และใช้เกณฑ์อะไรเป็นตัวแบ่ง ติดตามได้ที่บทความนี้

วิศวกรรายหนึ่ง...คิดค้นมาตรวัดเฮอริเคน

เวลามีการรายงานข่าวเรื่องเฮอริเคน เรามักจะเห็นตัวย่อ “SSHWS” ห้อยท้าย หรือไม่ก็ถูกใช้อ้างอิงอยู่เสมอ จุดกำเนิดของมาตรวัดนี้มาจาก ชายชาวอเมริกันที่ชื่อ “เฮอร์เบิร์ต แซฟเฟอร์” หลังจากเรียนจบในปี 1940 แซฟเฟอร์ประกอบอาชีพเป็นวิศวกร อาศัยอยู่ที่เมืองเดด เคาน์ตี ในรัฐไมอามี ซึ่งปัญหาที่เกิดซ้ำ ๆ แบบไม่รู้จบของเมืองนี้คือ “พายุเฮอริเคน”

เฮอร์เบิร์ต แซฟเฟอร์ (คนขวา)

จนกระทั่งในปี 1969 แซฟเฟอร์ได้ทำงานร่วมกับองค์การสหประชาชาติ เพื่อศึกษาวิธีป้องกันความเสียหายจากพายุเฮอริเคน โดยโฟกัสไปที่บ้านของผู้มีรายได้น้อย ระหว่างนั้นเอง เขาค้นพบว่ายังไม่มีมาตรวัด หรือเกณฑ์ที่บ่งบอกความรุนแรงของเฮอริเคนเพื่อให้เห็นภาพง่าย ๆ แตกต่างจากแผ่นดินไหวที่มีหน่วย “ริกเตอร์” คอยกำกับ

ด้วยเหตุฉะนี้ แซฟเฟอร์จึงพัฒนามาตรวัดเพื่อจัดประเภทความรุนแรงของเฮอริเคน โดยแบ่งความรุนแรงออกเป็น 5 ประเภท โดยอ้างอิงจากความเร็วลม และผลลัพธ์ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับโครงสร้าง หรือบ้านเรือน

ต่อมาในปี 1971 โรเบิร์ต ซิมป์สัน นักอุตุนิยมวิทยา ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้อำนวยการอยู่ที่ ศูนย์พายุเฮอริเคนแห่งชาติ ของสหรัฐฯ มาเห็นเข้าจึงนำไปต่อยอด และเพิ่มตัวแปรต่าง ๆ เข้าไป อาทิ คลื่นพายุซัดฝั่ง ความกดอากาศที่ศูนย์กลาง

นั่นจึงเป็นที่มามาตราเฮอริเคนแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน (Saffir-Simpson hurricane scale หรือ SSHS) มาตรวัดนี้มีถูกใช้อย่างแพร่หลายในปี 1973

เช็ก5 ระดับความรุนแรงของเฮอริเคน

  • ระดับ 1

ความเร็วลม 119-153 กม./ชม.

ความสูงของคลื่น 1.2-1.5 ม.

ตัวอย่าง: เฮอริเคนเจอร์รี่ (1989)

 

  • ระดับ 2

ความเร็วลม 154-177 กม./ชม.

ความสูงของคลื่น 1.8-2.4 ม.

ตัวอย่าง: เฮอริเคนฟรานซีน (2024)

 

  • ระดับ 3

ความเร็วลม 178-209 กม./ชม.

ความสูงของคลื่น 2.7-3.7 ม.

ตัวอย่าง: เฮอร์ริเคนแซนดี (2012)

 

  • ระดับ 4

ความเร็วลม 210-249 กม./ชม.

ความสูงของคลื่น 4.0-5.5 ม.

ตัวอย่าง: เฮอริเคนเฮเลน (2024)

 

  • ระดับ 5

ความเร็วลมไม่น้อยกว่า 250 กม./ชม.

ความสูงคลื่นไม่น้อยกว่า 5.5 ม.

ตัวอย่าง: เฮอริเคนมิลตัน (2024)

 

ที่มา: The People, NOAA, Storm Guard

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related