svasdssvasds

พายุเฮอริเคนอาจอัปความรุนแรงเป็นระดับ 6-7 หากไม่หยุดปล่อยคาร์บอน

พายุเฮอริเคนอาจอัปความรุนแรงเป็นระดับ 6-7 หากไม่หยุดปล่อยคาร์บอน

ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมาพายุเฮอริเคนมีทวีกำลังความรุนแรงขึ้นมาก จนนักวิทยาศาสตร์อาจจะต้องจัดระดับของพายุเฮอริเคนใหม่ เพื่อสะท้อนความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากโลกร้อน โดยอาจอัปความรุนแรงเป็นระดับ 6-7

จากสภาวะโลกร้อนหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่เรากำลังเผชิญอยู่มีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ ภัยพิบัติทางธรรมชาติ อย่าง พายุเฮอริเคนก็อัปเลเวลความรุนแรงขึ้นเช่นกัน

พายุเฮอริเคนอาจอัปความรุนแรงเป็นระดับ 6-7 หากไม่หยุดปล่อยคาร์บอน

โลกร้อนทำพายุเฮอริเคนทวีความรุนแรงขึ้น

ปัจจุบันพายุเฮอริเคนถูกจัดระดับความรุนแรงอยู่ในระดับ 1-5 ตามความเร็วลมสูงสุด ซึ่งพายุเฮอริเคนจะได้รับสถานะระดับ 5 หากมีความเร็วลมเกิน 252 กิโลเมตร (157 ไมล์) ต่อชั่วโมงที่ความรุนแรงระดับ 5 ส่งผลเสียหายต่อทรัพย์สินรวมถึงต้นไม้ล้มและสายไฟ เช่นเดียวกับบ้านเรือนที่ถูกทำลาย พื้นที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่หลังจากพายุระดับ 5 จะไม่สามารถอยู่อาศัยได้เป็นเวลาหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน

จากการศึกษาใหม่นักวิจัยได้ตั้งข้อสังเกตว่าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมามีพายุหลายลูกที่มีความเร็วเกินขีดจำกัด ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์ได้เสนอว่าทางการควรนึกถึงการจัดระดับความรุนแรงของพายุเฮอริเคนใหม่ โดยความรุนแรงระดับ 6 กำหนดพายุเฮอริเคนและไต้ฝุ่นที่มีความเร็วลมเกิน 309 กิโลเมตร (192 ไมล์) ต่อชั่วโมง
 
ตั้งแต่ปี 2013 เป็นต้นมา มีพายุอย่างน้อย 5 ลูกที่เข้าสู่เกณฑ์สมมุติระดับ 6 แล้ว ได้แก่ เฮอริเคนแพทริเซีย ไต้ฝุ่นเมรันติ ไต้ฝุ่นโกนี ไต้ฝุ่นไห่เยี่ยน และไต้ฝุ่นซูริเก ตัวอย่างความรุนแรงที่อยู่ในระดับ 6 เช่น พายุเฮอริเคนแพทริเซียโจมตีเม็กซิโกและบางส่วนของเท็กซัสในเดือนตุลาคม 2558 ด้วยความเร็วลมคงที่สูงสุด 346 กิโลเมตร (215 ไมล์) ต่อชั่วโมง ถือเป็นพายุหมุนเขตร้อนที่ทรงพลังที่สุดเท่าที่เคยพบเห็นในซีกโลกตะวันตก

พายุเฮอริเคนอาจอัปความรุนแรงเป็นระดับ 6-7 หากไม่หยุดปล่อยคาร์บอน

แม้เฮอริเคนระดับ 6 จะยังไม่เป็นทางการ แต่ความรุนแรงก็ปฎิเสธไม่ได้

​​​​เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้เพิ่มความดุร้ายของพายุทั่วโลก พายุประเภทนี้จึงถูกกำหนดให้เป็นเรื่องปกติมากขึ้นในอีกหลายปีและหลายทศวรรษข้างหน้า Climate Change สามารถส่งผลกระทบต่อพายุเฮอริเคนและไต้ฝุ่นได้หลายวิธี ทั้ง อุณหภูมิผิวน้ำทะเลที่อุ่นขึ้นส่งผลให้พายุเฮอริเคนมีพลังงานมากขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่ความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นและความเร็วลมที่เร็วขึ้น

ในขณะเดียวกันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอาจทำให้การเคลื่อนที่ของพายุเฮอริเคนช้าลงเมื่อเคลื่อนตัวผ่านภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ ซึ่งจะทำให้พายุเฮอริเคนแฝงตัวอยู่ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งได้นานขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มปริมาณความเสียหาย 

แม้ว่าระบบการจัดหมวดหมู่พายุที่เสนอยังไม่ได้รับการรับรองจากองค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA) หรือหน่วยงานราชการอื่นๆ แต่ก็ไม่ใช่ครั้งแรกที่นักวิจัยได้เสนอแนวคิดในการขยายพายุเฮอริเคนแซฟเฟอร์-ซิมป์สัน ในขณะที่วิกฤตสภาพภูมิอากาศทวีความรุนแรงมากขึ้น ข้อเสนอเหล่านี้ก็มีแนวโน้มที่จะกลายเป็นจริงมากขึ้นเรื่อยๆ

            
            
            เครดิต : IFL Science
        

พายุจะรุนแรงขึ้นหากยังคงปล่อยคาร์บอน

เจมส์ คอสซิน นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศจาก First Street Foundation ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยที่ไม่แสวงหาผลกำไรในนิวยอร์ก เผยว่า หากเรายังคงปล่อยก๊าซคาร์บอนอย่างต่อเนื่องในอัตราปัจจุบัน เราอาจจะได้เห็นพายุความรุนแรงระดับ 7 ด้วยซ้ำ และมีความเป็นไปได้อย่างแน่นอนในทางทฤษฎีหากโลกร้อนขึ้น 

ตอนนี้พายุ 5 ลูกได้ฝ่าฝืนเกณฑ์ความรุนแรงระดับ 6 แล้ว และทั้งหมดได้เกิดขึ้นตั้งแต่ปี 2556 โดยคาดว่าพายุดุมากขึ้นเรื่อยๆ ภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังดำเนินอยู่

แม้ในระบบทางการการวัดระดับพายุเฮอริเคนแซฟเฟอร์-ซิมป์สันที่ศูนย์เฮอริเคนแห่งชาติ (NHC) ในสหรัฐอเมริกาใช้จะยังไม่มีพายุเฮอริเคนความรุนแรงระดับ 6 หรือ 7 แต่ความรุนแรงของพายุเฮอริเคนได้เกินระดับที่พีคสุดไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่ปฎิเสธไม่ได้ นักวิทยาศาสตร์มีความกังวลว่าพายุเหล่านี้จะรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ เมื่อสภาพอากาศเปลี่ยนแปลงหรือโลกยังคงร้อนขึ้น

 

ที่มา : IFL Science / New Scienctist

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :