แค่แห่แซวกันใหญ่ สำหรับ "ตัวกล้วยตาก" เพราะมีรูปลักษณ์ที่เห็นแล้วชวนท้องร้องเหลือเกิน แต่นี่คือทาก 2 ชนิดใหม่ของโลกที่ค้นพบในประเทศไทย โดยนักวิจัยไทย
คนแห่แซวกันใหญ่ เมื่อเฟซบุ๊กเพจ Animal Systematics Research Unit, CU หรือ หน่วยปฏิบัติการวิจัยซิสเทมาติกส์ของสัตว์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เผยแพร่รายละเอียดการค้นพบ “ทาก” สายพันธุ์ใหม่ของโลก 2 ชนิดในประเทศไทย ได้แก่
ซึ่งผู้ที่ค้นพบกล้วยตาก 2 ชนิดใหม่นี้คือ นางสาวบวรลักษณ์ มิตรเชื้อชาติ นิสิตระดับปริญญาเอก ภายใต้การดูแลของ ศ.ดร.สมศักดิ์ ปัญหา หน่วยปฏิบัติการซิสเทแมติกส์ของสัตว์ ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยอาศัยข้อมูลอวัยวะภายในและแผนภูมิต้นไม้เชิงวิวัฒนาการจากข้อมูลดีเอ็นเอในการแยกชนิด
การค้นพบกล้วยตาก 2 ชนิดใหม่ของโลกในครั้งนี้ ทำให้ประเทศไทยมีตัวกล้วยตากในสกุล Valiguna ทั้งหมด 3 ชนิดด้วยกัน โดยชนิดแรกที่มีการค้นพบคือ Valiguna Siamensis (Martens, 1867 หรือชื่อภาษาไทยคือ “ตัวกล้วยตากสยาม” ซึ่งพบได้ทั่วประเทศไทย รวมถึงเมียนมาร์ และลาว
แม้ชื่อจะฟังแล้วท้องร้องน้ำลายหกไปเสียหน่อย แต่ “ตัวกล้วยตาก” มีอีกชื่อว่าทากเปลือกบก (land slug) ข้อมูลจาก รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธุ์ ระบุว่า ทากชนิดนี้ถูกจัดให้เป็นสัตว์ในกลุ่มหอยฝาเดียว แต่ไม่มีเปลือกให้เห็นอีก เพราะร่างกายลดรูปเปลือกไปจนหมด
โดย นางสาวบวรลักษณ์ มิตรเชื้อชาติ ให้ข้อมูลว่าตัวทากกล้วยตากเป็นสัตว์ที่กินทั้งพืช (herbivore) และเศษซากพืช (detritivore) จากนั้นจะย่อยเป็นเศษเล็ก ๆ กล่าวคือช่วยย่อยอินทรีย์สารต่าง ๆ และผลิตธาตุอาหารในระบบนิเวศ ในแง่นี้พืชจะสามารถดูดซับธาตุอาหารเหล่านั้นไปใช้ได้ง่ายยิ่งขึ้น
ตัวกล้วยตากชื่อน่ารัก (แถมน่ากิน) แต่คนแต่ละที่อาจเรียกไม่เหมือนกัน คนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือเห็นโพสต์นี้อาจเรียกว่า “แมงลิ้นหมา” หรือ “ตัวลิ้นหมา” คนทางภาคเหนือมาเห็นอาจเรียกว่า “ขี้ตืกฟ้า” หรือคนทางภาคใต้ผ่านมาเห็นอาจเรียกว่านี่คือ “ทากฟ้า” ส่วนคนภาคกลางเรียกว่า “ตัวกล้วยตาก”
ทั้งนี้ การค้นพบในครั้งนี้ได้เพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับทากเปลือกบกในวงศ์ Veronicellidae โดยชี้ให้เห็นว่ายังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับความหลากหลายทางสัณฐานวิทยาและพันธุกรรมของทากเปลือยบกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อใช้เป็นแนวทางในการอนุรักษ์และจัดการความหลากหลายทางชีวภาพต่อไป
ที่มา: Animal Systematics Research Unit, CU
ข่าวที่เกี่ยวข้อง