เคยเห็นไหม? แมลงปอเขียวท้องส้ม เพิ่งถูกค้นพบโดยนักวิจัยม.เกษตร และเพิ่งประกาศว่ามันคือแมลงปอยักษ์ชนิดใหม่ของโลก บ่งชี้ความสมบูรณ์ของระบบนิเวศได้
ไม่ใช่สัตว์ลึกลับที่ไหน หรือไม่ใช่ไม่มีใครเคยค้นพบ แต่มันเพิ่งถูกวิเคราะห์สปีชีส์ว่าแตกต่างจากชนิดพันธุ์อื่น ๆ ในสายพันธุ์ของมันเอง ซึ่งไม่เคยถูกบันทึกหรือแยกแยะมาก่อน
แมลงปอยักษ์เขียวท้องส้ม เป็นแมลงปอที่เดิมมีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Anax immaculifrons ซึ่งกระจายพันธุ์กว้างขวางทั่วโลกตั้งแต่ทางตอนใต้ของทวีปยุโรป เอเชียใต้ ไปจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และบางประเทศในเอเชียตะวันออก แต่มีความแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ สังเกตได้จากสีท้องของมัน
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
งานวิจัยใหม่เผย พืช ส่งเสียงร้องออกมาได้เมื่อหิวน้ำหรือเครียด
แบนไม่ส่ง “เมนูหูฉลาม” อาหารทำลายระบบนิเวศ ทำฉลามเสี่ยงสูญพันธุ์
ในความเป็นจริง แมลงปอทั้งสองสี เคยจัดเป็นแมลงปอชนิดเดียวกัน จากหลักฐานที่พบแมลงปอสีต่าง ๆ แพร่กระจายอยู่ในแต่ละพื้นที่ แต่ก็ทำให้นักวิทยาศาสตร์สงสัยและงัดขึ้นมาทำวิจัยใหม่ ถึงเนื้อแท้ของสปีชีส์ว่าแตกต่างกันจริงหรือไม่ จึงนำไปสู่การศึกษาในด้านสัณฐานวิทยาและความสัมพันธ์ระดับโมเลกุล (DNA) ของแมลงปอทั้งสองประชากรทั้งในรูปแบบตัวเต็มวัยและตัวอ่อน รวมถึงเทียบเคียงกับแมลงปอยักษ์ชนิดอื่น ๆ ด้วย
จึงสรุปได้ว่า A. immaculifrons ทั้งสองประชากรเป็นคนละชนิดกัน และทีมงานได้ตั้งชื่อให้กับประชากรที่พบในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียตะวันออกว่า A. aurantiacus ซึ่งแปลว่า สีส้ม ตามที่สีท้องที่โดดเด่นไม่เหมือนกับสมาชิกอื่น ๆ ในสกุลและพบได้ยากในวงศ์นี้
ค้นพบงู 5 สายพันธุ์ใหม่ในปานามา ถูกตั้งชื่อว่า "ลีโอนาร์โด ดิคาปริโอ"
ประโยชน์ของแมลงปอในธรรมชาติ
การมีอยู่ของแมลงปอยักษ์มีความสำคัญมากกับระบบนิเวศ หากพื้นที่ใดมีแมลงปอยักษ์อาศัยอยู่ ก็สามารถบ่งบอกได้ว่า พื้นที่แห่งนั้นสะอาดมีการไหลเวียนของน้ำที่ดี และสามารถใช้เป็นดัชนีชี้วัดคุณภาพของน้ำได้ด้วย ดังนั้น การค้นพบครั้งนี้จึงบ่งบอกได้ถึง สภาพระบบนิเวศบริเวณลำธารต้นน้ำในไทยได้เป็นอย่างดี
ซึ่งงานวิจัยนี้ ทีมงานวิจัยได้ตีพิมพ์ผลงานวิจัยเผยแพร่ลงในวารสาร Odonatologica ซึ่งเป็นวารสารเก่าแก่มากกว่า 50 ปี และมีชื่อเสียงในวงการนักธรรมชาติวิทยาที่ศึกษาแมลงปอ ในเดือนธันวาคม 2565 ว่าเป็นงานวิจัยการค้นพบแมลงปอชนิดใหม่ของโลก นำโดย ดร. ทศพล แซ่ตั้ง กีฏพิชญกุล นักวิจัยหลังปริญญาเอก คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และ อาจารย์ ดร. กรอร วงษ์กำแหง ภาควิชาสัตววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมกับ นายนพปฎล มากบุญ นักกีฏวิทยาผู้เชี่ยวชาญทางด้านแมลงปอ
ที่มาข้อมูล