SHORT CUT
แม้จะทำทุกวิถีทางให้การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 ในกรุงปารีส มีความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด แต่ก็ยังไม่พ้นที่จะถูกตั้งคำถามว่า กระบวนการเหล่านั้นจะส่งผลดีต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงเพียงเครื่องมือ Greenwashing เพื่อสร้างภาพลักษณ์เท่านั้น
การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2024 เริ่มต้นขึ้นแล้วที่กรุงปารีสของฝรั่งเศส ภายใต้ความพยายามของผู้จัดงานที่ตั้งใจจะทำให้ 'ความยั่งยืน' กลายเป็นหัวใจสำคัญ เพื่อสร้างประวัติศาสตร์เกมกีฬาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากที่สุด โดยสัญญาว่าจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลงครึ่งหนึ่ง เทียบกับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่ลอนดอนในปี 2012
มีกระบวนการหลายอย่างที่ถูกจัดเตรียมอย่างรอบคอบ เพื่อให้เป็นไปตามแนวคิดด้านสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่างเช่น
อย่างไรก็ตาม กระบวนการทั้งหมดนี้ยังคงถูกตั้งคำถามว่า มันเพียงพอที่จะช่วยลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงแค่การฟอกเขียว (Greenwashing) เท่านั้น
ผู้เชี่ยวชาญหลายคนต่างมองว่า กิจกรรมสำคัญด้านกีฬา เช่น การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและฟุตบอลโลก ต่างพยายามแสดงความห่วงใยต่อสิ่งแวดล้อมมาอย่างยาวนาน และมักจะอ้างว่าพยายามทำทุกอย่างแล้วเพื่อช่วยปรับปรุงระบบนิเวศ แต่จนถึงตอนนี้ก็ยังไม่มีการแข่งขันใดเลยที่สามารถเป็นเกมที่ยังยืนได้อย่างแท้จริง
คริสติน โอบอนซาวิน นักวิชาการด้านกีฬาของชนพื้นเมืองในควิเบก มองว่ามาตรการเพื่อสิ่งแวดล้อมดังกล่าวเป็นเพียง "ฉากบังหน้า" เพราะการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกขนาดใหญ่ในยุคปัจจุบันที่ส่งผลให้มีการใช้พลังงานเชื้อเพลงปริมาณมหาศาล ไม่สอดคล้องกับวาระความยั่งยืนที่แท้จริง
กลุ่มเฝ้าระวังด้านสิ่งแวดล้อมอย่าง Carbon Market Watch ก็ออกมากล่าวหาผู้จัดงานโอลิมปิก 2024 ว่า ขาดความโปร่งใสและการสื่อสารที่ชัดเจน เช่น กล่าวอ้างว่ามีการใช้พลังงานหมุนเวียน 100 เปอร์เซ็นต์ แต่ปรากฎว่า "ใบรับรองการผลิตพลังงานหมุนเวียน" ทั้งหมดไม่ได้ถูกสร้างขึ้นอย่างเท่าเทียมกัน ทำให้เป็นไปไม่ได้เลยที่จะวัดผลกระทบที่แท้จริงของโอลิมปิกต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
นอกจากนี้ยังมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ กรณีการใช้เกาะตาฮิตีเป็นสถานที่จัดการแข่งขันโต้คลื่น จนทำให้มีแนวปะการังที่ได้รับความเสียหายจากขั้นตอนการติดตั้งหอคอยเสริมสำหรับการแข่งขัน ก่อนที่ทางผู้จัดจะต้องยอมลดขนาดหอคอยลง หลังมีผู้ลงชื่อร้องเรียนกว่า 250,000 คน
ขณะที่ คณะกรรมการโอลิมปิกสากล หรือ IOC ก็ถูกมองว่าเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญของการฟอกเขียวในโลกกีฬา จากการมีสปอนเซอร์เป็นบริษัทเอกชนซึ่งไม่ได้มีชื่อเสียงที่เหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อม เช่น Coca-Cola หนึ่งในผู้สนับสนุนที่ถูกระบุว่าเป็นผู้ผลิตขยะพลาสติกที่มีตราสินค้ารายใหญ่ที่สุดของโลก, Toyota ผู้สนับสนุนอีกรายที่ถูกปรับ 180 ล้านดอลลาร์ ฐานละเมิดกฎหมายว่าด้วยอากาศสะอาดอย่างต่อเนื่อง และ Samsung ที่ถูกเลือกอยู่ในรายชื่อองค์กรที่มีการฟอกเขียว โดย New Climate Institute และ Carbon Market Watch
ที่สำคัญคือการปล่อยก๊าซเรือนกระจกส่วนใหญ่ราว 85 เปอร์เซ็นต์ ของการแข่งขันโอลิมปิก มาจากการเดินทางไปชมการแข่งขันของแฟน ๆ นักข่าว และนักกีฬา ทำให้หลายคนมองว่า หากผู้จัดงานโอลิมปิกต้องการความยั่งยืนอย่างแท้จริง ก็ควรปรับลดขนาดการแข่งขันลง หรือจำกัดจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาจากระยะไกล
อย่างไรก็ตาม อีกประเด็นสำคัญที่ต้องยอมรับคือ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ยังคงเป็นมหกรรมสำคัญที่่มอบโอกาสให้กับนักกีฬาทั่วโลก
ที่มา