SHORT CUT
สุดทึ่ง! ครั้งแรกของโลก! นักวิจัยค้นพบตัวอ่อน "แมลงปอเข็มปีกแคบแดง” ที่ป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่ ซึ่งพบเห็นได้ยาก ต่างจากตัวเต็มวัยที่สามารถพบเจอได้ทั่วไป แมลงปอสกุลนี้มีการกระจายตั้งแต่อินเดียไปจนถึงจีนตอนใต้ และ
มีคำกล่าวที่ว่า ธรรมชาติสวยงามเสมอ ล่าสุดนักวิจัยจากกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ร่วมกับนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยทูเดามอตและมหาวิทยาลัยยุยตัน ประเทศเวียดนาม และมูลนิธิโลกสีเขียว ได้รายงานลักษณะตัวอ่อนของแมลงปอเข็มปีกแคบแดง ( Dysphaea gloriosa Fraser, 1938) ซึ่งเป็นการรายงานลักษณะตัวอ่อนของแมลงปอในสกุล Dysphaea เป็นครั้งแรกของโลก จากกลุ่มป่ามรดกโลกดงพญาเย็น-เขาใหญ่
ทั้งนี้ตัวอ่อนแมลงปอเข็มปีกแคบแดง สามารถพบเห็นได้ยาก ต่างจากตัวเต็มวัยที่สามารถพบเจอได้ทั่วไปแมลงปอสกุลนี้มีการกระจายตั้งแต่อินเดียไปจนถึงจีนตอนใต้ และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในประเทศไทยพบได้ในพื้นที่ป่าต้นน้ำที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลไม่เกิน 700 เมตร
อย่างไรก็ตามแมลงปอชนิดนี้มีลักษณะเด่นเหมือนแมลงปอเข็มน้ำตกสี (Euphaea) และแมลงปอเข็มปีกหยัก (Anisopluera)คือ มีส่วนหางบวมเป็นกระเปาะอ้วน แต่แมลงปอเข็มปีกแคบแดงจะมีส่วนหัวที่ใหญ่มากเมื่อเทียบกับขนาดลำตัวขณะที่สกุลอื่นๆจะมีขนาดของหัวไม่แตกต่างต่างจากลำตัวมาก ตัวอ่อนของแมลงปอเข็มปีกแคบสีแดง พบได้ตามลำธารต้นน้ำที่มีความอุดมสมบูรณ์และมีคุณภาพดี โดยจะเกาะอยู่ใต้ก้อนหินในลำธาร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง