รู้จัก อลูมิเนียมฟอสไฟด์" หรือ "ฟอสฟีน" สารใช้ในการกำจัดแมลง ถือว่ามีความเป็นพิษ หลังรถกระบะบรรทุกถัง 200 ลิตร ทำสารเคมีรั่วไหล และเกิดไฟลุกไหม้ ย่านสำโรง
จากกรณี รถกระบะบรรทุกสาร "ก๊าซฟอสฟีน" เกิดการรั่วไหล และเกิดไฟลุกไหม้ เหตุเกิดบริเวณ ซอยพรสว่าง 7 ตำบลสำโรงเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ ล่าสุด นายสุนทร อุปมาณ นักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ กล่าวว่า ทางกรมควบคุมมวลพิษ ได้เดินทางมาตรวจสอบ "ก๊าซฟอสฟีน" ที่อาจจะตกค้างจากเมื่อคืนนี้ โดยจากการตรวจสอบไม่พบว่ามี "ก๊าซฟอสฟีน" ตกค้างอยู่ในพื้นที่แล้ว เนื่องจากมันสลายตัวไปแล้ว และได้เก็บกู้ไปแล้ว ซึ่งอีกอย่างหนึ่ง ที่จะต้องทำความเข้าใจกับชาวบ้าน เพื่อไม่ให้ตื่นตระหนก เกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้น
"เจ้าหน้าที่อาจต้องคุยกับชาวบ้าน อย่างละมุนละม่อม สักหน่อย ว่าจะต้องอพยพ หรือเคลื่อนย้ายออกจากพื้นที่อย่างไร ซึ่งหากมีการเคลื่อนย้าย ก็ควรย้ายไปทางด้านเหนือลม ประมาณ 200-300 เมตร ก็ปลอดภัยแล้ว เนื่องจากปริมาณของสารเคมี ไม่เยอะ มีไม่ถึง 200 ลิตร และเท่าที่ดู น่าจะประมาณ 100 ลิตร และการกระจายของสารดังกล่าว ก็อยู่ในวงจำกัด ไม่ได้ก่อให้เกิดผลกระทบในระดับที่รุนแรงมาก"
นายสุนทร กล่าวอีกว่า สำหรับเรื่องทางคดี ตอนนี้อยู่ระหว่างสอบสวน ล่าสุด บริเวณจุดเกิดเหตุ ซอยพรสว่าง 7 นั้น ทางเจ้าหน้าที่ฯ ได้ทำการเคลียร์สารเคมีที่ปะทุไปแล้ว ตั้งแต่เมื่อคืนที่ผ่านมา ดังนั้น ในวันนี้ทางเจ้าหน้าที่ฯ จึงได้เปิดการจราจรให้มีการสัญจรผ่านไปมา ได้ตามปกติ โดยเฉพาะในช่วงเช้านี้ ก็มีเจ้าหน้าที่ดับเพลิง ของเทศบาลตำบลสำโรงเหนือ เข้ามาตรวจซ้ำอีกรอบพร้อมกับเจ้าที่กรมควบคุมมลพิษ ก็ได้ลงพื้นที่เข้ามาตรวจวัดอากาศโดยรอบเช่นกัน ว่ามีสารพิษตกค้างหรือไม่ โดยจากการตรวจสอบ จากเครื่องวัด ค่าสารพิษ โดยรอบ ไม่พบว่า มีสารพิษตกค้างในพื้นที่แต่อย่างใด เนื่องจากตัวสารเคมี ได้สลายและถูกเก็บกู้ไปแล้ว ตั้งแต่เมื่อคืน
ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ควบคุมมลพิษ เข้าทำการวัดค่าสารเคมีอีกครั้งพร้อมกับเจ้าหน้าที่อ.บ.ต.สําโรงเหนือ ฉีดนํ้าทําความสะอาดหลังเกิดเหตุรถกระบะบรรทุกถัง 200 ลิตรทำสารเคมีรั่วไหล เป็นสารเคมีที่ใช้กำจัดศัตรูพืช ล่าสุดไม่พบสารเคมีตกค้างอยู่ ในพื้นที่ซอยพรสว่าง 12 ต.สำโรงเหนือ อ.เมืองสมุทรปราการจ.สมุทรปราการ
ก๊าซฟอสฟีน เป็นก๊าซที่เกิดขึ้นจากการทำปฏิกิริยาของสารอลูมิเนียมฟอสไฟด์ หรือสารสังกะสีฟอสไฟด์ (zinc phosphide) กับความชื้นในอากาศ โดยปกติสารทั้ง 2 ชนิดนี้จะอยู่ในรูปของแข็ง เมื่อทำปฏิกิริยากลายเป็นแก๊ส phosphine ใช้สำหรับเป็นสารรมควัน (fumigant) เพื่อใช้ฆ่าหนู (rodenticide) ในยุ้งฉางซึ่งบรรจุเมล็ดข้าว ข้าวโพด มันสำปะหลัง ใบยาสูบ หรือพืชผลทางการเกษตรอื่นๆ
ในกระบวนการหลอมโลหะผสม (ferrosilicon) สามารถเกิดก๊าซฟอสฟีนขึ้นได้ ในกระบวนการผลิตสารกึ่งตัวนำ (semi-conductors) มีการใช้ฟอสฟีน ในกระบวนการผลิต ทั้งสารกึ่งตัวนำชนิดที่ทำจาก silicon (Si) และ gallium arsenide (GaAs) เนื่องจากก๊าซชนิดนี้ เป็นที่ทราบกันดีว่าผลิตจากรูปแบบของสิ่งมีชีวิต (จากการแตกตัวของสารอินทรีย์) หรือผลิตขึ้นเองในห้องแล็บเท่านั้น
สารนี้ทำให้ระคายเคือง ต่อ ตา ผิวหนัง และ ทางเดินหายใจ หากหายใจได้รับฟอสฟีน (Phosphine) ที่ได้จากการสลายตัวของสารนี้ อาจทำให้เกิดภาวะปอดบวมน้ำ สารนี้อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด, ระบบประสาท, ระบบทางเดินหายใจ, ตับ และ ไต กรณีนี้อาจมีผลทำให้ภาวะการทำงานบกพร่อง การหายใจล้มเหลว หัวใจเต้นเร็ว และ ไม่รู้สึกตัวระดับรุนแรง การได้รับสัมผัสสารนี้ สามารถทำให้เสียชีวิตได้
อลูมิเนียมฟอสไฟต์ หรือ ฟอสฟีน เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 3 ตามพรบ. วัตถุอันตราย ควบคุมโดยกรมวิชาการเกษตร
ข่าวที่เกี่ยวข้อง