น้อยคนที่จะรู้จัก "ตัวเรือด" (bed bug) แมลงตัวจิ๋วสีน้ำตาลแดง ขนาดตัวประมาณเดียวกับเห็บเหา ที่ชอบซุกอาศัยอยู่ซอกหลืบของเบาะ ฟูก ที่นอน เพื่อรอคอยกัดกินเลือดมนุษย์ในยามค่ำคืน ไม่มีใครรู้ว่าแมลงชนิดนี้กำลังจะเป็นตัวก่อปัญหาด้านสุขภาพ
ตัวเรือด หรือ Bedbug คือ แมลงไม่มีปีก ความยาวของตัวเรือดประมาณ 5-6 มิลลิเมตร ตัวเรือด มองเห็นได้ยาก ลำตัวจะแบนรี มีขา มีปากที่แหลม ซึ่งมักออกมาดูดเลือดคนในเวลากลางคืนบริเวณที่พัก โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนเตียงนอนหรือบริเวณที่ผู้คนใช้พักผ่อนนอนหลับเป็นประจำ อาการผู้ที่ถูกตัวเรือดกัดดูดเลือดจะรู้สึกคัน เกิดการบวม ผื่นแพ้ และผิวหนังอักเสบ
ตัวเรือดเป็นปัญหาด้านสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ เพราะตัวเรือดสามารถแพร่ขยายพันธุ์และเพิ่มจำนวนได้อย่างรวดเร็ว และมักซ่อนตัวอยู่ตามที่นอน ซอกเตียง เก้าอี้ พื้นกระดาน และรอยแตกของอาคาร โดยเฉพาะตามที่สาธารณะ เช่น โรงแรม โรงภาพยนตร์ ค่ายทหาร โรงเรียน ในรถไฟและรถยนต์ หรือแม้แต่บนเครื่องบิน ฯลฯ
ล่าสุด นายสนธิ คชวัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อมไทย ได้เปิดผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว Sonthi Kotchawat ประเด็น ตัวเรือดกำลังจะบุกประเทศไทย โดยระบุว่า
ขณะนี้ตัวเรือด (bedbug) ระบาดหนักติดมาจากปารีสเดินทางถึงกรุงโซล โตเกียว ไทเป ฮ่องกง สิงคโปร์และได้เข้าประเทศ ไทยแล้ว
เกาหลีใต้ได้ประกาศสงครามต่อสู้กับตัวเรือด100% ขณะนี้มีการขายยาฆ่าแมลงเพิ่มขึ้นถีง 800% พบเจอทั้งในห้องน้ำสา ธารณะ เตียงนอน ที่นอนบนรถไฟ หอพักนักศึกษา เป็นต้น ฮ่องกง ญีปุ่น ไต้หวัน ได้ประกาศจัดการกับตัวเรือดอย่างเต็มที่เนื่องจากกระทบกับการท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวถูกตัวเรือกัดจำนวนมาก คนไทยที่ไปเที่ยวประเทศดังกล่าวได้พาตัวเรือดขึ้นเครื่องบินกลับมาเมืองไทยแล้ว
ตัวเรือดมีขนาดเล็กกว่า1ซม (0.3นิ้ว) ตัวมีสีน้ำตาลแดง ไม่มีปีก ชอบกินเลือดของคนหรือสัตว์ สามารถมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 5 เดือน แม้ว่าจะไม่ได้กินเลือดของคนหรือสัตว์เลยก็ตาม ตัวเรือดแพร่พันธุ์ได้รวดเร็ว
บริเวณที่พบมากที่สุดในห้องพัก คือ ฟูกที่นอน เตียง ตู้เสื้อผ้า โซฟา รูปภาพ ผนังหรือผ้าม่าน เป็นต้น ตัวเรือดชอบอาศัยอยู่ใกล้กับบริเวณที่คนนอนอยู่ และมีความสามารถในการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี
หากคนถูกกัดมักจะเกิดอาการแพ้มีตุ่มแดง บวม คันมาก ขนาด 2-5 มิลลิเมตร ที่เรียงกันเป็นแนวตรงหลายๆ ตุ่ม ผู้ที่โดนกัดมักไม่เจ็บ แต่ในบางรายอาจพบผื่นแพ้ที่รุนแรงกว่านี้ได้และคันมาก รอยกัดอาจจะหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ โดยผื่นคันมักพบบริเวณนอกร่มผ้า เช่น บริเวณใบ หน้า คอ มือ แขนหรือหลัง เป็นต้น การรัก ษาให้ทานยาแก้แพ้ แก้ค้น หรือทายากลุ่มสเตียรอยด์ เพื่อรักษาอาการคันจากผื่นที่ถูกตัวเรือดกัด เป็นต้น
ไปต่างประเทศต้องระวังตัวเรือดอย่าเอากลับมาด้วยต้องสังเกตห้องพักหรือเตียงนอน เช่น ในห้องพักมีกลิ่นเหม็นอับ,พบรอยคราบเลือดบนผ้าปูที่ นอน, รอยเปื้อนมูลดำของตัวเรือดที่เป็นจุดเล็กๆ,ไข่ของเรือดที่มีลักษณะเป็นวงรีสีขาว สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เมื่กลับมาจากต่างประเทศต้องกำจัดตัวเรือดที่อาจติดมาด้วย เช่น การซักด้วยน้ำยาฆ่าเซื้อหรือต้มอย่างน้อย10นาที,อบผ้าด้วยที่อุณหภูมิอย่างน้อย 60 องศาเซลเซียส นานอย่างน้อย 30 นาที,ใช้เครื่องพ่นไอน้ำร้อนไปยังกระเป๋าเดินทาง อุปกรณ์เดินทางต่างๆ
ไม่มีรายงานการระบาดของเรือดในประเทศไทยมาหลายสิบปีจนทำให้คนวัยหนุ่มสาวในยุคปัจจุบันไม่รู้จักเรือด อย่างไรก็ตามเริ่มมีข่าวการพบตัวเรือด ตามโรงแรมต่างๆ มากขึ้น เพราะติดมากับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติเป็นเหตุให้เกิด การระบาดของตัวเรือดในโรงแรมและที่พักในเมืองที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ ของประเทศไทย เช่น กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงใหม่ ภูเก็ต กระบี่ ฯลฯ
ส่งผลให้ผู้ประกอบการธุรกิจโรงแรมและที่พัก ประสบปัญหาตัวเรือดระบาดในที่พัก เป็นอย่างมาก ทั้งๆที่เป็นสถานที่ซึ่งสะอาด แต่ก็สามารถเป็นแหล่งอาศัยและ ขยายพันธุ์ของตัวเรือดได้หากมีตัวเรือดติดเข้ามาแม้เพียงไม่กี่ตัวและไม่สามารถ กำจัดให้หมดสิ้นไป
2. ใช้สารเคมี
ทั้งนี้การพ่นหมอกควัน (Thermal Fogging) โดยใช้สารเคมีกำจัดแมลงชนิดต่างๆ ที่ใช้พ่นกำจัดยุงทั่วๆ ไป ไม่สามารถกำจัดตัวเรือดได้
ที่มา : Sonthi Kotchawat , กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
ข่าวที่เกี่ยวข้อง