SHORT CUT
สั่นสะเทือนอีกแล้ว เมื่อนักวิจัยจากสหรัฐฯ เผยตีพิมพ์การศึกษา ระบุว่า ตรวจพบไมโครพลาสติกในอัณฑะของมนุษย์ และอาจเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้ปริมาณอสุจิของบุรุษเพศลดลง
ผลการศึกษาที่ติพิมพ์ในวารสาร Toxicological Sciences ระบุว่า อัณฑะของทั้งมนุษย์และสุนัข พบว่ามีไมโครพลาสติกแทรกอยู่ในเนื้อเยื่อ ซึ่งคาดการณ์ว่าเชื่อมโยงไปสู่ภาวะเจริญพันธุ์ของบุรุษเพศ
โพลีเอทิลีน (Polyethylene) เป็นพลาสติกชนิดหนึ่งที่มักถูกใช้ไปทำเป็นถุงหรือขวดพลาสติกแบบที่เราใช้กัน อีกหนึ่งชนิดที่พบบ่อยคือพีวีซี (PVC) แต่พลาสติก 2 ชนิดที่ว่านี้ถูกพบว่าปรากฏอยู่ในอัณฑะของมนุษย์แล้ว
ศาสตราจารย์ เซียวจง หยู จากมหาวิทยาลัยนิวเม็กซิโก เปิดเผยว่า “พีวีซีปล่อยสารเคมีจำนวนมากที่ไปรบกวนการผลิตอสุจิ แถมยังไปทำให้การทำงานของต่อมไร้ท่อหยุดชะงัก”
ในตอนแรก เซียวจงก็สงสัยว่าไมโครพลาสติกจะสามารถแทรกซึมเข้าไปถึงระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ได้เลยหรือ แต่ตัวอย่างที่เธอศึกษาก็บอกว่าสิ่งที่เธอสงสัยนั้นมันจริง ไมโครพลาสติกสามารถเข้าไปถึงระบบสืบพันธุ์ของมนุษย์ได้
เซียวจงตรวจอัณฑะของมนุษย์และสุนัขเลี้ยง แล้วนำข้อมูลมาเปรียบเทียบกัน พบว่า ไมโครพลาสติกในอัณฑะของมนุษย์มีมากกว่าสุนัขเลี้ยงถึงสามเท่า
หลายทศวรรษที่ผ่านมา มีการศึกษาหลายชิ้นที่บ่งชี้ว่าปริมาณอสุจิของมนุษย์ลดลงจริง แถมเกิดจากหลากหลายสาเหตุ - ปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น อากาศร้อน สารเคมีต่าง ๆ เช่น ยาฆ่าแมลง
ก่อนหน้านี้ มีการศึกษาที่ตีพิมพ์โดยหอสมุดแพทยศาสตร์แห่งชาติ (National Library of Medicine) ระบุว่า ไมโครพลาสติกมีส่วนเชื่อมโยงต่อภาวะมีบุตรยากในบุรุษเพศ
พลาสติกไซซ์จิ๋วสามารถพบได้ทั่วไปใกล้ตัว น้ำดื่ม เจือปนอยู่ในอาหาร หรือแม้กระทั่งอวัยวะต่าง ๆ ในร่างกายมนุษย์ เช่น สมอง หัวใจ อัณฑะ หรือแม้กระทั่งน้ำนมแม่ ก็ยังตรวจพบว่ามีไมโครพลาสติกเจือปนอยู่
นี่เป็นเพียงแค่ตัวอย่างของไมโครพลาสติกที่พบเจอในร่างกายเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้วไมโครพลาสติกอยู่รอบตัวเราจริง ๆ สปริงขอลิสต์บทความเกี่ยวกับไมโครพลาสติกเอาไว้ด้านล่าง
เผยวิธีกำจัดไมโครพลาสติกในน้ำดื่ม จากนักวิจัยจีน รับประกันสะอาดทุกอึก
เราอาจกินไมโครพลาสติกโดยไม่รู้ตัว! ลิสต์อาหารที่พบพลาสติกจิ๋วเยอะที่สุด
"ไมโครพลาสติก" ในขวดน้ำดื่ม เป็นอันตรายต่อสุขภาพจริงไหม ? อ.เจษฎ์ ไขกระจ่าง
ไมโครพลาสติกอยู่ไหนบ้างรอบตัวเรา? ชวนรู้ ไมโครพลาสติกรอบตัวมนุษย์ 101
นักวิทย์พบอันตรายใหม่ เจอไมโครพลาสติกในสมอง หลังเข้าร่างกายภายใน 2 ชั่วโมง
*หมายเหตุ ไมโครพลาสติกมีขนาดเล็กมาก สามารถเข้าได้ทางผิวหนัง สูดดม หรือผ่านเจือปนมากับอาหารการกิน ความอันตรายคือมันเล็กมากจนเรามองไม่เห็น แถมไม่รู้ด้วยว่าจะป้องกันพลาสติกไซซ์จิ๋วนี้อย่างไร
ที่มา: The Guardian, People
ข่าวที่เกี่ยวข้อง