SHORT CUT
วันคุ้มครองโลก (Earth Day) Planet vs Plastic หรือ “ลดพลาสติก กู้วิกฤตโลกเดือด” ช่วยคิดหน่อยจะใช้พลาสติกยังไงให้คุ้มค่าที่สุด
มีงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยกัมปาเนีย ในอิตาลี พบว่า 58% ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาหลอดเลือดแดงคาโรติด ที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ใบหน้า และลำคอ มีชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กทั้งระดับไมโครพลาสติก และนาโนพลาสติก ปะปนอยู่ในหลอดเลือด แน่นอนว่าพลาสติกอยู่รอบตัวเรา แถมยังเป็นตัวร้ายกว่าที่คิด
จะเห็นได้ว่าพลาสติกทำลายทั้งโลก และชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์มากมาย เนื่องในวันคุ้มครองโลก (Earth Day) 22 เมษายน ของทุกปี จะเป็นวันที่กำหนดขึ้นเพื่อระลึกถึงจุดกำเนิดของการเคลื่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อมสมัยใหม่ในปี ค.ศ. 1970 เพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมและเพื่อกระตุ้นให้ผู้คนดำเนินการเพื่ออนุรักษ์ ปรับปรุง และฟื้นฟูสภาพแวดล้อมของเรา โดยในปี พ.ศ. 2512 นายJohn McConnell นักเคลื่อนไหวด้านสันติภาพ ได้เสนอให้จัดตั้งวันคุ้มครองโลกเพื่อให้เป็นเกียรติแก่โลก โดยเลือกใช้วันที่ 21 มีนาคม พ.ศ. 2513
ซึ่งเป็นวันเริ่มต้นของฤดูใบไม้ผลิของซีกโลกเหนือ ภายใน 1 เดือนต่อมา Gaylord Nelson หนึ่งในวุฒิสภาก็เสนอให้ระบุการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อมให้อยู่ในหลักสูตรของสหรัฐอเมริกา โดยจ้างนาย Denis Hayes นักเคลื่อนไหวรุ่นใหม่ให้เป็นผู้ประสานงาน ภายหลังใช้ชื่อวันคุ้มครองโลก (Earth Day) และในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2513 ผู้คนกว่า 20 ล้านคนก็เดินทางหลั่งไหลมาตามถนน เพื่อร่วมแสดงพลังตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อม วันนี้จึงกลายเป็นวันที่มีผู้ชุมนุมมากที่สุดในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ
สำหรับ Earth Day 2024 มีธีมกิจกรรมว่า Planet vs Plastic หรือ“ลดพลาสติก กู้วิกฤตโลกเดือด” เนื่องมาจากมลพิษขยะพลาสติกกลายเป็นวิกฤตสำคัญด้านสิ่งแวดล้อม เช่นเดียวกับปัญหาภาวะโลกร้อน กลายเป็นประเด็นสำคัญระดับโลกที่นานาชาติให้ความสำคัญและถูกหยิบยกขึ้นหารือควบคู่กันในการประชุมระดับนานาชาติ ขยะพลาสติกสร้างปัญหาภาวะโลกร้อน เริ่มจากกระบวนการผลิตพลาสติกที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นวัตถุดิบ หากเราใช้พลาสติกมากเท่าใด ปริมาณก๊าซเรือนกระจกก็ยิ่งถูกปล่อยออกสู่ชั้นบรรยากาศมากขึ้นเท่านั้น ข้อมูลจากกรมควบคุมมลพิษ
อย่างไรก็ตามคาดว่ามีขยะพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (Single-use Plastics) ประมาณปีละ 3.03 ล้านตัน ของปริมาณขยะที่เกิดขึ้นทั้งหมด (ร้อยละ 11.25) มีการนาขยะพลาสติกกลับไปใช้ประโยชน์ประมาณ ปีละ 0.75 ล้านตัน (ร้อยละ 25) (ปี 2565 นาขยะพลาสติกกลับไปใช้ประโยชน์เฉลี่ยประมาณ ปีละ 0.71 ล้านตัน) ส่วนที่เหลือ 2.18 ล้านตัน (ร้อยละ 72) จะถูกนาไปกาจัดโดยการฝังกลบรวมกับขยะมูลฝอยอื่นๆ อีก 0.09 ล้านตัน (ร้อยละ 3) ไม่ได้รับการจัดการและตกค้างในสิ่งแวดล้อม
ขยะพลาสติกนอกจากส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย งานวิจัยของ ดร.ราฟฟาเอล มาร์เฟลลาจากมหาวิทยาลัยกัมปาเนีย ในอิตาลี พบว่า 58% ของผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดรักษาหลอดเลือดแดงคาโรติด ที่ทำหน้าที่ส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ใบหน้า และลำคอ มีชิ้นส่วนพลาสติกขนาดเล็กทั้งระดับไมโครพลาสติกและนาโนพลาสติก
โดยเฉพาะพลาสติกแบบโพลีเอทิลีน (PE) และโพลีไวนิลคลอไรด์ (PVC) ปะปนอยู่ในหลอดเลือด จากการติดตามผลหลังจากผ่านไป 34 เดือน พบว่า 20% ของผู้ที่มีพลาสติกในหลอดเลือดแดงมีอาการหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือเสียชีวิตจากสาเหตุใด ๆ สูงกว่าคนที่ไม่มีพลาสติกในร่างกายถึง 4.5 เท่า โดยไม่รวมพิจารณาปัจจัยเสี่ยงอื่น ๆ ของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ นักวิจัยยังพบว่าผู้ป่วยที่มีพลาสติกในไขมันภายในหลอดเลือดแดง และอาจทำให้เสี่ยงต่อโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดในสมอง และเสียชีวิตได้มากกว่าด้วยเช่นกัน
สนธิสัญญาพลาสติกโลก (Global treaty on plastic) จะมีการประกาศใช้โดย 175 ประเทศ ในปี 2568 มีเป้าหมายเพื่อลดมลพิษพลาสติกให้เป็นศูนย์ภายในปี 2040 และจำกัดการสัมผัสไมโครพลาสติกทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศที่มีรายได้ปานกลางหรือต่ำ และกลุ่มเด็ก ทั้งนี้สนธิสัญญาฉบับนี้ยังอยู่ในกระบวนการร่างแผนงานขณะเดียวกันในหลายประเทศ
รวมถึงประเทศไทยได้เริ่มนำร่องแก้ไขปัญหาขยะพลาสติก ด้วยการลดการใช้พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวทิ้ง และถุงพลาสติกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยกรมการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อม จึงเชิญชวนช่วยลดพลาสติก กู้วิกฤตโลกเดือด ด้วย 4 ป
◦ ปฏิเสธพลาสติกใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง
◦ ปรับพฤติกรรมใช้พลาสติกให้คุ้มค่าที่สุด
◦ เปลี่ยนไปใช้บรรจุภัณฑ์จากธรรมชาติ
◦ แปลงร่างเพิ่มมูลค่าให้กับขยะพลาสติก
เมื่อพลาสติก เป็นภัยร้ายขนาดนี้ ช่วยคิดหน่อยจะใช้พลาสติกยังไงให้คุ้มค่าที่สุด ??
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เปิด 6 ขั้นตอนสุดปัง! จัดการขยะพลาสติก จาก Food Delivery ก่อนรีไซเคิล
จากขยะพลาสติกสู่เสื้อผ้า ปฏิวัติวงการแฟชั่นสู่ความยั่งยืนเป็นมิตรกับโลก