SHORT CUT
สืบเนื่องจากกรณี ญี่ปุ่นจ่อไฟเขียวล่าวาฬตัวใหญ่เชิงพาณิชย์ ซึ่งถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง สปริงพาไปดู 3 ประเทศที่ยังคงล่าวาฬเชิงพาณิชย์อยู่ เพื่อฉายให้เห็นภาพกว้าง และบริบทที่มากขึ้น
กระฉ่อนโลกทีเดียวสำหรับถ้อยแถลงของ โยชิมาสะ ฮายาชิ โฆษกรัฐบาลญี่ปุ่น ที่บอกว่าจะกลับมาล่าวาฬตัวใหญ่อีกครั้ง โดยอ้างเหตุผลว่าอยากรักษาวัฒนธรรมอาหารแบบดั้งเดิมในประเทศเอาไว้
แม้ญี่ปุ่นจะเปิดรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ปมเรื่องการบรรจุชื่อวาฬฟินลงในบัญชีวาฬที่สามารถล่าเพื่อการพาณิชย์ได้ แต่ข่าวที่แพร่สะพัดออกไปทำให้ท่าทีนี้ของญี่ปุ่นถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างถึงพริกถึงขิง
กลุ่มกรีนพีช ที่เฝ้าวิจารณ์การล่าวาฬเชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่นมาโดยตลอด เปิดเผยว่า รัฐบาลญี่ปุ่นมักหยิบเรื่องวัฒนธรรมมาเป็นฉากหน้า เพื่อจะออกล่าวาฬเชิงพาณิชย์ก็เท่านั้น หรือใช้ช่องโหว่ทางกฎหมายและบอกว่าพวกเราล่าวาฬเพื่อการวิจัยเท่านั้น
นี่ถือเป็นเหตุการณ์ที่ชวนถกเถียงมากที่สุดเหตุการณ์หนึ่ง แต่นอกจากญี่ปุ่นแล้ว รู้หรือไม่ว่ายังมีอีก 2 ประเทศที่ยังคงล่าวาฬเชิงพาณิชย์อยู่ ได้แก่ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์
International Whaling Commission องค์กรนี้ก่อตั้งขึ้นในปี 1946 โดยมีจุดประสงค์คือกำจัดการล่าวาฬ ออกมาตรการอนุรักษ์วาฬ เรื่อยไปจนถึงพัฒนาอุตสาหกรรมการล่าวาฬให้เป็นระเบียบ ปัจจุบันมีสมาชิกที่เข้าร่วมทั้งหมด 88 ประเทศ
โดย IWC จำแนกการล่าวาฬออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่
อันที่เป็นปัญหาที่สุดก็คือ การล่าวาฬเชิงพาณิชย์
ในปี 1986 IWC ประกาศแบนการล่าวาฬเชิงพาณิชย์เป็นครั้งแรก ด้วยเห็นว่าหลายประเทศเร่งตักตวงเม็ดเงินจากธุรกิจนี้มากเกินความจำเป็น ซึ่งหมายความว่ามีวาฬจำนวนมากเป็นเครื่องสังเวย แต่ไอซ์แลนด์และญี่ปุ่นที่ยังเป็นสมาชิกอยู่ในเวลานั้น ก็แหกกฎและเดินหน้าล่าวาฬเชิงพาณิชย์อย่างไม่แคร์ใคร
ปัจจุบัน ทั้งไอซ์แลนด์และญี่ปุ่นถอนตัวจากการเป็นสมาชิก IWC แล้ว เหลือแค่นอร์เวย์ที่เป็นสมาชิกแค่ในนามเท่านั้น เพราะในเชิงปฏิบัตินอร์เวย์ยังคงเดินหน้าล่าวาฬอย่างต่อเนื่อง
ต้องบอกว่าในแต่ละปี รัฐบาล (ของทั้ง 3 ประเทศ) จะประกาศโควต้าการล่าวาฬออกมาเพื่อจำกัดไว้ไม่ให้ตัวเลขพุ่งสูง (จนน่าเกลียด) แต่อย่างไรก็ดี นอร์เวย์ถือเป็นประเทศที่มีอัตราการล่าวาฬเชิงพาณิชย์สูงมากในบรรดา 3 ประเทศ ทั้งนี้ วาฬที่ถูกฆ่าในนอร์เวย์กว่า 40% เป็นวาฬตัวเมียและกำลังตั้งท้อง
หลัก ๆ แล้วนอร์เวย์จะล่าวาฬมิงค์เพื่อนำไปทำเป็นอาหารให้ทั้งคนและสัตว์ รวมถึงส่งออกไปยังญี่ปุ่น ไอซ์แลนด์ หรือหมู่เกาะแฟโรในประเทศเดนมาร์ก
สถิติ 4 ปีย้อนหลัง การล่าวาฬเชิงพาณิชย์ในนอร์เวย์ (ข้อมูลจาก Whale and Dolphin Conservation)
ดินแดนแห่งนี้ล่าทั้งวาฬฟิน ซึ่งเป็นวาฬไซซ์ใหญ่ และวาฬมิงค์ จากนั้น จะชำแหละเนื้อและครีบเพื่อส่งออกไปขายยังประเทศญี่ปุ่น แต่สำหรับเนื้อวาฬมิงค์ ซึ่งเขาว่าเลิศรส ก็จะถูกนำไปปรุงเป็นเมนูเด็ดให้กับนักท่องเที่ยว
การล่าวาฬในไอซ์แลนด์อาจไม่ได้มีตัวเลขสูงเท่ากับนอร์เวย์ ข้อมูลจาก Whale and Dolphin Conservation ระบุว่า ตั้งแต่ IWC ออกกฎแบนการล่าวาฬ ไอซ์แลนด์ฆ่าวาฬไปทั้งหมดราว1,800 ตัว
เทียบกัน 3 ประเทศ ไอซ์แลนด์ถือว่ามีแนวโน้มดูดีมากที่สุดในแง่ของสวัสดิภาพและความปลอดภัยของวาฬ ในปี 2560 มีนักท่องเที่ยวกว่า 2.2 ล้านคน มาเที่ยวไอซ์แลนด์เพราะต้องการไปทริปชมวาฬ ซึ่งเป็นเหตุผลที่ทำให้ไอซ์แลนด์ฆ่าวาฬน้อยลง
ตัวตึงคนล่าสุด เพชฌฆาตวาฬแห่งทวีปเอเชีย ญี่ปุ่นเริ่มนิยมบริโภคเนื้อวาฬหลังจากผ่านช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งฝ่ายอักษะเป็นผู้ปราชัย ทำให้คนในประเทศมีชีวิตที่อัตคัด เนื้อวาฬเป็นแหล่งโปรตีนราคาถูกที่ประชาชนสามารถซื้อหากันได้
แต่เทรนด์การบริโภคก็วิวัฒน์ไปตามสภาพสังคม จากที่เคยบริโภคเนื้อวาฬ 2.3 แสนตันในทศวรรษ 60s กลับลดเหลือเพียง 2 พันตัน ในปี 2023 จนทุกอย่างเวียนมาบรรจบที่สถานการณ์ล่าสุด ยิ่งไปกว่านั้น รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการให้ประชาชนบริโภคเนื้อวาฬให้ได้ 5 พันตันเป็นอย่างน้อย
สถิติ 3 ปีย้อนหลัง การล่าวาฬเชิงพาณิชย์ในญี่ปุ่น (ข้อมูลจาก Whale and Dolphin Conservation)
หัวข้อสุดท้ายที่จะพูดถึงก็คือ ซากศพวาฬที่ทั้งโลกร่วมกันฆาตกรรม 5 ปีหลังสุด (เฉพาะเชิงพาณิชย์) สัตว์ที่พร่ำบอกกันว่าควรอนุรักษ์เป็นการเร่งด่วน แต่ดูเหมือนตัวเลขจะบอกเราว่าสุดท้าย การอนุรักษ์อาจเป็นเพียงแค่ลมปากเท่านั้น
ที่มา: Whale and Dolphin Conservation, Statista, Species Unite, Euro News, Lemonde, ibtimes, NOAA, World Population Review
ข่าวที่เกี่ยวข้อง