svasdssvasds

หมู่เกาะแฟโร: ฆ่าวาฬ 40 ตัว ภายใน 5 วัน ธรรมเนียมเก่าแก่หรือโหดร้ายทารุณ?

หมู่เกาะแฟโร: ฆ่าวาฬ 40 ตัว ภายใน 5 วัน ธรรมเนียมเก่าแก่หรือโหดร้ายทารุณ?

วันที่ 4 พ.ค. 2567 ที่ผ่านมา ธรรมเนียมการล่าวาฬบนหมู่เกาะแฟโรได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และมีวาฬถูกฆ่าไปแล้วกว่า 40 ตัว สปริงชวนติดตามเรื่องราวนี้ หมู่เกาะแฟโรมีที่มาอย่างไร ธรรมเนียมการล่าวาฬมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ และคนบนเกาะคิดยังไงกับเรื่องนี้

SHORT CUT

  • ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา หมู่เกาะแห่งนี้สังหารวาฬและโลมาไปแล้วกว่า 20,000 ตัว เฉลี่ยปีละ 1,000 ตัว
  • หมู่เกาะแฟโรเป็นเขตปกครองตนเอง ตั้งอยู่ระหว่างไอซ์แลนด์และนอร์เวย์ มีประชากรราว 53,418 คน และมีธรรมเนียมล่าวาฬที่มีมาตั้งแต่ ค.ศ. 800 
  • มีคนวิเคราะห์ว่า การล่าวาฬของหมู่เกาะแฟโรในบริบทของสังคมสมัยใหม่ อาจเป็นการต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมที่พยายามบ่อนเซาะและเข้ามามีอิทธิพลเหนือ

วันที่ 4 พ.ค. 2567 ที่ผ่านมา ธรรมเนียมการล่าวาฬบนหมู่เกาะแฟโรได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว และมีวาฬถูกฆ่าไปแล้วกว่า 40 ตัว สปริงชวนติดตามเรื่องราวนี้ หมู่เกาะแฟโรมีที่มาอย่างไร ธรรมเนียมการล่าวาฬมีมาตั้งแต่เมื่อไหร่ และคนบนเกาะคิดยังไงกับเรื่องนี้

“มันเป็นธรรมเนียมเก่าแก่ของเรา”

บ่อยครั้งที่ประโยคทำนองนี้ถูกใช้เป็นข้ออ้างในการทำอะไรบางอย่าง สำหรับกรณีนี้ ถือเป็นสถานการณ์ตัวอย่างที่ดีในการถกเถียง เพราะความยึดมั่นในธรรมเนียมของหมู่เกาะแฟโร ทำให้วาฬกว่า 40 ชีวิตต้องถูกพรากไปอย่างโหดร้ายทารุณ

สปริงชวนรีแคปสั้น ๆ ก่อนเข้าเนื้อหา รู้หรือไม่ว่า...ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา หมู่เกาะแห่งนี้สังหารวาฬและโลมาไปแล้วกว่า 20,000 ตัว เฉลี่ยปีละ 1,000 ตัว และที่สำคัญเนื้อวาฬจะถูกนำไปปรุงเป็นอาหารหลากหลายสไตล์ให้คนบนเกาะได้ทานกันอย่างอูมามิ

วาฬหลายสิบชีวิตหลังถูกเชืือดเพื่อนำไปบริโภคเป็นอาหาร Credit ภาพ Sea Sepherd

ทำความรู้จัก เกาะสวรรค์แห่งแดนไกล

หมู่เกาะแฟโรเป็นเขตปกครองตนเอง ตั้งอยู่ระหว่างไอซ์แลนด์และนอร์เวย์ มีประชากรราว 53,418 คน สืบค้นไปพบว่าคนส่วนใหญ่บนเกาะแห่งนี้สืบเชื้อสายมาจากชาวไวกิ้ง และอพยพมาตั้งรกรากในช่วง ค.ศ. 800 (ไม่น่าเชื่อว่าเก่าแก่กว่ากรุงรัตนโกสินทร์เสียอีก)

หมู่เกาะแฟโร ตั้งอยู่ระหว่างไอซ์แลนด์ และ นอร์เวย์ Credit ภาพ Flickr

ธรรมเนียมการล่าวาฬ ที่มีมากว่า 1,200 ปี

grindadráp” คือชื่อที่คนบนเกาะใช้เรียกธรรมเนียมการล่าวาฬ หลายเว็บไซต์ให้ข้อมูลว่า การล่าวาฬของหมู่เกาะแฟโรจะเกิดขึ้นช่วงมิถุนายนไปจนถึงตุลาคม แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับว่าคลื่นทะเลและสภาพอากาศเป็นใจมากแค่ไหน

โดยชาวบ้านจะแล่นเรือล้อมรอบวาฬหรือโลมาเอาไว้ จากนั้นพวกมันจะถูกอาวุธ เช่น ตะขอ หอก หรือใบมีดเฉือนจนเสียชีวิต จากนั้น พวกมันก็จะถูกลากไปจอดไว้ที่ริมชายฝั่ง ดังที่เราเห็นในภาพ

เกริ่นไปเล็กน้อยแล้วว่าวาฬผู้น่าสงสารพวกนี้ เมื่อสิ้นชีวิตไปแล้วก็จะถูกนำไปทำเป็นอาหารเลิศรส เมนูฮิตที่สุดมีชื่อว่า “Tvøst and spik” พูดให้เข้าใจมันก็คือ fish and chip ดี ๆ นี่เอง เพราะบนจานประกอบไปด้วย เนื้อวาฬและมันฝรั่ง

Fish and Chip จากเนื้อวาฬ เมนูเลิศรสแห่งเกาะแฟโร Credit ภาพ wikipedia / Arne List

ใครเห็นก็ว่าโหดร้าย คนบนเกาะคิดเห็นยังไง?

วาฬก็เหมือนวัว แกะ หมู หรือไก่ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นอาหาร” นี่คือทัศนคติหรือมุมมองของคนแฟโรต่อวาฬ สัตว์ที่ทั้งโลกพร่ำบอกว่าให้ช่วยกันอนุรักษ์

ทั้งนี้ สปริงได้ไปสืบค้นเพิ่มเติม และได้ใจความดังนี้ คนบนหมู่เกาะแฟโรมองว่าวาฬหรือโลมาในมหาสมุทรเปรียบเสมือนสัตว์ที่ถูกเลี้ยงแบบปล่อยอิสระ

ดังนั้น การล่าหรือบริโภคเนื้อพวกมันจึงถือว่ายั่งยืนและเป็นธรรมชาติมากกว่าการเลี้ยงในฟาร์ม หรือเนื้อจากโรงงาน

การล่าวาฬกับเสียงประท้วงที่ไม่เป็นผล

กลุ่ม Blue Planet Society อธิบายว่า เมื่อปีที่แล้ว หมู่เกาะแฟโรใช้ตะขอลากวาฬเข้าฝั่งเป็นร้อยตัว และไล่เชือดทีละตัว ๆ จากท้องทะเลสีคราม ก็เปลี่ยนเฉดเป็นสีแดง คาวหึ่งไปด้วยเลือด

ชายฝั่งที่เต็มไปด้วยซากวาฬบนเกาะแฟโร Credit ภาพ Sea Sepherd

ทำให้ชวนคิดต่อว่า หากเราปลดเปลื้องเลนส์หรือแนวคิดทุกอย่างออกไปทั้งหมด เราจะรู้สึกยังไงระหว่าง เฉย ๆ หรือ หดหู่

คำถามต่อมาคือ การล่าวาฬผิดกฎหมายหรือไม่ นี่แหละความตลกร้าย เพราะการล่าวาฬของหมู่เกาะแฟโรได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายของสหภาพยุโรป และด้วยความเป็นรัฐอิสระจึงทำให้หมู่เกาะแห่งนี้สามารถผ่านกฎหมายของตัวเองได้

“การล่าวาฬมันไม่จำเป็นเลยสำหรับประเทศที่มีเงินเดือนเฉลี่ยหัวละ 60,000 ดอลลาร์สหรัฐ/ปี (2 ล้านบาท) พวกเขาทำเพื่อความเพลิดเพลิน และความบ้าเลือดล้วน ๆ” กลุ่ม Blue Planet Society กล่าวถึงกรณีการล่าวาฬบนหมู่เกาะแฟโร

มีคนวิเคราะห์ว่า การล่าวาฬของหมู่เกาะแฟโรในบริบทของสังคมสมัยใหม่ อาจเป็นการต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมที่พยายามบ่อนเซาะและเข้ามามีอิทธิพลเหนือ ซึ่งระยะเวลาเป็นพันปีคงพิสูจน์ได้แล้วว่า “ไม่เป็นผล”

คุณล่ะคิดเห็นอย่างไร นี่คือธรรมเนียมเก่าแก่หรือโหดร้ายทารุณ?

 

ที่มา: Euro News, UK Whale, Britannica

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related