svasdssvasds

ชวนส่องสถานการณ์ "อากาศร้อน" ของประเทศเพื่อนบ้านไทย ฮ็อตจนไหม้มีจริง!

ชวนส่องสถานการณ์ "อากาศร้อน" ของประเทศเพื่อนบ้านไทย ฮ็อตจนไหม้มีจริง!

ขณะนี้ หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ ขณะเดียวกัน ไทยเข้าสู่ช่วงรอยต่อระหว่างเอลนีโญสู่ลานีญา บทความนี้จะพาไปสำรวจสถานการณ์ ว่าด้วยเรื่องอากาศร้อนกับผลกระทบของประชาชนในประเทศนั้น ๆ

SHORT CUT

  • ไทยอยู่ระหว่างรอยต่อของช่วงปลาย “เอลนีโญ” เข้าสู่ “ลานีญา” ซึ่งคาดว่าจะเกิดในเดือน มิ.ย. 67 เป็นต้นไป และจะหนักที่สุดช่วงเดือน ก.ย. - ต.ค. 67
  • ฟิลิปปินส์ มีค่าดัชนีความร้อน 42 - 46 องศา ล่าสุด สั่งปิดโรงเรียนชั่วคราว พม่า อากาศร้อน 45 องศา ประชาชนต้องหลบอยู่ใต้เงาต้นไม้
  • ขณะที่เวียดนาม กรุงฮานอยร้อยสุดในประเทศ จ่อทะลุ 50 องศา กัมพูชาถูกคลื่นความร้อนเล่นงาน อุณหภูมิพุ่ง 42 องศา

ขณะนี้ หลายประเทศในภูมิภาคเอเชียต้องเผชิญกับอุณหภูมิที่สูงเป็นประวัติการณ์ ขณะเดียวกัน ไทยเข้าสู่ช่วงรอยต่อระหว่างเอลนีโญสู่ลานีญา บทความนี้จะพาไปสำรวจสถานการณ์ ว่าด้วยเรื่องอากาศร้อนกับผลกระทบของประชาชนในประเทศนั้น ๆ

วันก่อนสหประชาชาติเพิ่งประกาศไปว่าปี 2566 ที่ผ่านมาเอเชียคือภูมิภาคที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ จนเกิดภัยพิบัติมากที่สุดในโลก แต่ดูเหมือน ณ เวลานี้ ภัยแล้งดูจะเป็นอาวุธร้ายมากที่สุด

วันนี้ สปริงจะพาไปดูว่าประเทศบ้านใกล้เรือนเคียงของไทยอย่าง ฟิลิปปินส์ พม่า เวียดนาม กัมพูชา ต้องเผชิญกับอากาศร้อนแค่ไหน ได้รับผลกระทบจากภัยแล้งยังไงบ้าง เพื่อตรงตามคอนเซปต์ที่ว่า “เราจะร้อนไปด้วยกัน จนกว่าชีวิตจะหาไหม้

สถานการณ์อากาศร้อนในเมืองไทย

สำหรับประเทศไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างรอยต่อของช่วงปลาย “เอลนีโญ” เข้าสู่ “ลานีญา” ซึ่งคาดว่าจะเกิดในเดือน มิ.ย. 67 เป็นต้นไป และจะหนักที่สุดช่วงเดือน ก.ย. - ต.ค. 67

แต่ภาพรวม ไทยยังร้อนจนน่าเป็นห่วงอยู่ กว่า 42 จังหวัดที่คาดว่าอุณหภูมิจะพุ่งแตะ 40 – 43 องศา ดังนั้น แนะนำให้หลีกเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้งไว้ก่อนดีที่สุด

ฟิลิปปินส์ อากาศร้อนแค่ไหน?

เริ่มต้นด้วยไม้เบื่อไม้เมา (บนเวทีนางงาม) มีรายงานว่าขณะนี้พื้นที่กว่าครึ่งประเทศฟิลิปปินส์ต้องเผชิญกับภัยแล้งครั้งใหญ่ แล้งถึงขั้นโครงสร้างเขื่อนที่ถูกสร้างมาตั้งแต่ปี 1970s ปรากฏให้เห็นอีกครั้งเนื่องจากระดับน้ำลดลง

ด้วยค่าดัชนีความร้อนกว่า 42 – 46 องศา ทำให้ในที่สุด ทางการฟิลิปปินส์ได้สั่งปิดโรงเรียนทั่วประเทศกว่า 5,000 แห่ง แถมประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนหลีกเลี่ยงทำกิจกรรมกลางแจ้ง และให้พกร่ม สวมหมวก จิบน้ำบ่อย ๆ เพื่อป้องกันการเกิดฮีทสโตรก แต่ล่าสุด มีรายงานผู้เสียชีวิตแล้ว 6 ราย

ประชาชนฟิลิปปินส์พกพัดลมส่วนตัวไว้ดับร้อน Credit ภาพ REUTERS

หนูน้อยขอแช่น้ำเพื่อดับร้อน Credit ภาพ REUTERS

พม่า

เรียกได้ว่าเดือดไม่แพ้สงครามในประเทศเลยทีเดียว เพราะขณะนี้พม่าอุณหภูมิ 45 องศา อากาศร้อนอบอ้าว ประชาชนส่วนใหญ่อาศัยไปนั่งอยู่ใต้ร่มไม้เพื่อช่วยคลายร้อนได้บ้าง และเช่นกันมีการสั่งระงับชั้นเรียนแล้ว

อย่างไรก็ดี ฉากทัศน์ที่เป็นสงครามได้ทำลายโครงสร้างพื้นฐาน หรือระบบโครงข่ายไฟฟ้าเสียหายไปบางส่วน เป็นเหตุให้ประชาชนต้องเผชิญหน้ากับอากาศร้อนจัดเข้าอย่างจัง

ชาวย่างกุ้งถึงขั้นเอ่ยว่า “ตอนกลางคืนคือช่วงเวลาที่เราเฝ้ารอ เพราะตอนเที่ยง ๆ เราอาศัยอยู่ในบ้านไม่ได้จริง ๆ” โดยอากาศในพม่าจะเริ่มร้อนตั้งแต่ 10:00 น.เป็นต้นไป

เวียดนาม

ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. – 1 พ.ค. 67 เวียดนามจะถูกคลื่นความร้อนถล่ม ทาฝั่งตะวันตกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะอยู่ที่ 36 – 40 องศา ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออุณหภูมิจะอยู่ที่ 36 – 38 องศา แต่ที่พีคสุดคือกรุงฮานอย เพราะมีรายงานว่าอากาศอาจร้อนทะลุ 50 องศา ร้อนระดับสีดำ

อย่างไรก็ดี ทางการเวียดนามแนะนำว่าอย่าออกไปกลางแจ้งตั้งแต่เวลา 11:00 – 16:00 น. (ในวันหยุด) เพื่อหลีกเลี่ยงอากาศร้อน รังสียูวี หรือหากเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ ก่อนออกจากบ้านควรสวมหมวกบังแดด ทาครีมกันแดดให้พร้อม

กรุงฮาน้อย อุณหภูมิร้อนระดับสีดำ อุณหภูมิพุ่ง 50 องศา

กัมพูชา

ชาญ ยุทธ โฆษกและรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรน้ำและอุตุนิยมวิทยากัมพูชา เปิดเผยว่า ขณะนี้กัมพูชากำลังถูกคลื่นความร้อนเล่นงาน อุณหภูมิพุ่งทะเล 42 องศา ซึ่งถือว่าสูงที่สุดในรอบ 170 ปี

ท่ามกลางอากาศร้อน ๆ ก็ยังมีเรื่องดี เพราะเมื่อเข้าสู่เดือนพฤษภาคม กัมพูชาจะมีปริมาณน้ำฝนมากขึ้น ส่งผลให้อุณหภูมิโดยรวมเฉลี่ยลดลง ไม่ร้อนเท่าเดือนเมษายนแล้ว

 

ที่มา: The Guardian, CNA, lemonde, vnexpress, NST

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related