SHORT CUT
การศึกษาใหม่จากสหรัฐฯ เผยว่า ปลูกต้นไม้ริมถนน ช่วยดูดซับมลพิษได้ 37% แต่อยากให้มองเป็นแค่ตัวช่วย ควรพัฒนาด้านอื่น ๆ ควบคู่ไปด้วย อาทิ รถสาธารณะ เลนส์ปั่นจักรยาน หรือ ขนส่งที่เฟื่องฟู
“ต้นไม้” คือฮีโร่แห่งภาคพื้นดินของจริง งานวิจัยใหม่จากสหรัฐเผยว่า ปลูกต้นไม้ริมถนนช่วยลดฝุ่นควันจากการจราจรได้จริง ย้ำ! เป็นแค่ยาดี แต่ยังไม่ได้ปัญหาแบบถอนรากถอนโคน
งานวิจัยนี้สุ่มเก็บตัวอย่างคุณภาพอากาศในบริเวณถนนที่ประกอบไปด้วย 2 เงื่อนไขคือ ‘มีต้นไม้’ กับ ‘ไม่มีต้นไม้’ ผลปรากฏว่า บริเวณถนนที่มีต้นไม้ขนาบ 2ข้างทาง อากาศสะอาดกว่าอย่างหลัง 37%
“ต้นไม้ใกล้ถนนไม่สามารถแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ แต่พอจะช่วยลดดีกรีความรุนแรงของมันได้” โรบี กรีนวาลด์ หัวหน้าการวิจัย กล่าว
ปัญหามลพิษบนท้องถนนจำเป็นต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน เพราะการศึกษาด้านสุขภาพหลายชิ้นที่บ่งชี้ว่า มลพิษบนท้องถนน จากรถยนต์ก็ดี หรือเมล์เก่าก็ดี มีผลให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ มากมาย อาทิ โรคหอบหืด มะเร็งปอด หลอดลมอักเสบ เป็นต้น
มองกลับมาที่ประเทศไทย เว็บไซต์ INRIX เผยว่า คนไทยใช้เวลาอยู่บนรถเฉลี่ย 64 ชั่วโมงต่อปี ท่ามกลางจราจรที่ตัดขัด แถมมีมลพิษสูง
มองไปริมฟุตบาทก็มีคนเดินไปมา (สูดควันพิษ) หรือบางครั้งก็มีแขกไม่ได้รับเชิญมาแว้นบนนถนน กระทั่งทำให้ไทยติดอันดับ 16 สำหรับประเทศที่มีการจราจรติดขัดมากที่สุด
ต้นไม้สำคัญ แต่ไม่ใช่ที่สุด ย้อนกลับไปที่คำพูดของกรีนวาลด์ ที่บอกต้นไม้เป็นแค่วิธีทุเลาปัญหา ไม่ได้แก้ปัญหาแบบ 100% เพราะท้ายที่สุดแล้ว ต้นไม้ก็ยังคายก๊าซคาร์บอนออกมาอยู่
ดังนั้น หลักสำคัญเลยคือจะทำยังไงให้คนใช้รถส่วนตัวน้อยลง แล้วหันมาใช้บริการรถสาธารณะมากขึ้น หรือต้องออกแบบเมืองอย่างไร ให้ประชาชนรู้สึกว่าอยากเดิน ไม่ใช่ให้พวกเขารู้สึกขยาดเพราะกลัวตกท่อ ต้องคอยหลบแขกไม่รับเชิญอีก
เราควรปลูกต้นไม้ริมถนนให้มากขึ้น “เพราะมันมีประโยชน์กว่าแค่ความสวยงาม แต่ต้นไม้ไม่ใช่ยาวิเศษที่ปลูกปุ๊ป ปัญหาฝุ่นควันบนนท้องถนนจะหายไปในทันที” กรีนวาลด์ กล่าว
ที่มา: PHYS.ORG
ข่าวที่เกี่ยวข้อง