svasdssvasds

ต้นไม้อาจไม่สามารถช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนได้อีกต่อไป ผลพวงจาก "โลกเดือด"

ต้นไม้อาจไม่สามารถช่วยดูดซับก๊าซคาร์บอนได้อีกต่อไป ผลพวงจาก "โลกเดือด"

ต้นไม้อาจไม่สามารถช่วยเราดูดซับก๊าซคาร์บอนได้อีกต่อไป เพราะสภาพอากาศที่แห้งแล้งอันเป็นผลพวงมาจากโลกเดือด กำลังทำพวกมันเกิดภาวะที่เรียกว่า "หายใจด้วยแสง" ส่งผลกระทบต่อโลกอย่างไร?

ต้นไม้ฮีโร่ดูดซับก๊าซคาร์บอน

การปลูกต้นไม้คือวิธีที่สากลโลกยอมรับกันมานานแล้วว่า สามารถช่วยจัดการกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศได้ เพราะพวกมันมีหน้าที่คอยดูดซับก๊าซคาร์บอนเอาไว้ก่อนที่จะลอยขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลก

ปัจจุบัน ต้นไม้ช่วยเราดูดซับก๊าซคาร์บอนในสัดส่วน 25% ของปริมาณก๊าซคาร์บอนทั่วโลก ตามข้อมูลที่กระทรวงพลังงานของสหรัฐระบุไว้

แต่ดูเหมือนว่า โลกเดือดและที่ทำให้อากาศร้อนขึ้นทุกวัน ๆ กำลังส่งผลกระทบโดยตรงไปยังต้นไม้ใบเขียวพวกนี้ ในการกักเก็บคาร์บอน

ต้นไม้ดูดซับก๊าซคาร์บอนในสัดส่วน 25% ของปริมาณก๊าซคาร์บอนทั่วโลก Credit ภาพ REUTERS

ต้นไม้ดูดซับคาร์บอนน้อยลงเพราะ?

งานวิจัยจาก Penn State University ชี้ว่า ในบริเวณที่อากาศร้อนหรือแห้งแล้งหนัก ต้นไม้มีแนวโน้มสูงที่จะปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศมากกว่าต้นไม่ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีอากาศเย็นและชื้น ซึ่งนักวิจัยเรียกขานสถานการณ์นี้ว่า “ต้นไม้กำลังไอ

ปกติแล้วต้นไม้จะดูดซับก๊าซคาร์บอนเอาไว้ในช่วงเวลากลางวัน และจะปล่อยออกซิเจนออกมาในระหว่างกระบวนการสังเคราะห์แสง ปัญหาคือ เมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นและปริมาณน้ำที่มีจำกัด กระบวนการเมื่อครู่จะย้อนกลับ ซึ่งเป็นภาวะที่เรียกว่า “หายใจด้วยแสง” (Photorespiration)

กระบวน “หายใจด้วยแสง” (Photorespiration) Credit ภาพ Science Facts

ในความหมายคือ พืชจะใช้ออกซิเจนในการสังเคราะห์แสง และปล่อยก๊าซคาร์บอนออกมาแทน ซึ่ง Max Lloyd ผู้เขียนวิจัยชิ้นนี้ ได้ไปเก็บข้อมูลเนื้อเยื่อต้นไม้ทั่วโลก และพบกับว่าจริงว่า ต้นไม้หายใจด้วยแสงมากขึ้นเป็น 2 เท่า ในสภาพแวดล้อมที่ “ร้อนและแล้ง”

พูดกันง่าย ๆ ก็คือ แทนที่ต้นไม้จะช่วยเราดูดซับก๊าซคาร์บอนไว้ กลับกลายเป็นว่าพวกมันกำลังปล่อยก๊าซคาร์บอนออกสู่ชั้นบรรยากาศโลกมากกว่าปกติเสียอีก

ต้นไม้หายใจด้วยแสงมากขึ้นเป็น 2 เท่า ในสภาพแวดล้อมที่ “ร้อนและแล้ง” Credit ภาพ REUTERS

เมื่อเกิดสถานการณ์เช่นนี้ คนผิดจะเป็นใครล่ะ ต้นไม้กำลังบกพร่องในหน้าที่? ต้นไม้มีหน้าที่? หรือทุกอย่างมันย้อนกลับมาหาพวกเราทุกคนที่ผลักดันโลกให้เดินทางมาสู่จุดนี้...

บทสรุป

จากงานวิจัยของ Max Lloyd ที่ชี้ให้เราเห็นว่า ต้นไม้อาจไม่สามารถช่วยเราดูดซับก๊าซคาร์บอนไว้ได้ตลอดเวลาเหมือนก่อน เพราะเมื่อโลกร้อนขึ้น (จากฝีมือมนุษย์) ผลที่ตามมาคือราคาที่มนุษย์ทุกคนต้องจ่ายร่วมกัน...

ดังนั้น ปรากฏการณ์นี้ยิ่งตอกย้ำเข้าไปใหญ่ว่า ทั้งโลกควรเหยียบคันเร่งลดโลกร้อนโดยด่วน จะด้วยวิธีละเมียดละไม ค่อย ๆ ปลูกฝัง หรือจะเป็นระดับนโยบายเพื่อบังคับให้มนุษย์กลับสู่ลู่ทางที่จะนำโลกสีเขียวกลับมาอีกครั้ง เพราะบางทีหากเราปล่อย “ปอดของโลก” เอาไว้แบบนี้ อาจสายเกินแก้

มนุษย์จะทำอย่างไรต่อไป เมื่อปิดของโลกกำลังเป๋ ? Credit ภาพ REUTERS

 

ที่มา: Earth , np.thai

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related