svasdssvasds

หรือสัตว์ควรมีสิทธิออกเสียงของตัวเองเพื่อสวัสดิภาพในชีวิต ?

หรือสัตว์ควรมีสิทธิออกเสียงของตัวเองเพื่อสวัสดิภาพในชีวิต ?

เป็นประเด็นมาหลายปีแล้วสำหรับเรื่อง “ความเป็นตัวตน” หรือไอเดียที่ว่าสัตว์ควรมีสิทธิของตัวเองหรือไม่? เพื่อออกเสียง เห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย กับข้อกฎหมายบางข้อที่พวกมันได้รับผลกระทบโดยตรง Spring รวบรวมที่มาไอเดีย และข้อเห็นแย้งมให้อ่านกัน

ผู้เขียนการศึกษาในประเด็นนี้มีชื่อว่า Loan-Radu Motoarca เขาเริ่มบทความด้วยตลกขบขันว่า

“พอบอกว่าสัตว์ควรมีสิทธิเลือกตั้งได้ คุณก็อย่าไปนึกว่าจะได้เห็นภาพสุนัข แมว หรือสิงโตไปต่อแถวเข้าคูหากาเบอร์ 99 ล่ะ”

เข้าคูหา เจอหน้าสัตว์

โดย Motoarca เสนอว่า ให้ตั้งตัวแทนซึ่งเป็นมนุษย์ เป็นผู้ลงคะแนนเสียงในนามของสัตว์ ในข้อกฎหมายต่าง ๆ แต่พอพูดถึงเรื่องการเลือกตั้ง ไม่ได้หมายความว่า คน ๆ นั้น จะมีสิทธิเพิ่มมาอีกเสียงหรอกนะ

ในความหมายคือ ให้ลงคะแนนเสียงได้เฉพาะข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัตว์ (แต่ละชนิด) โดยตรงเท่านั้น

ดังนั้น หมายความว่าหากไอเดียนี้เป็นที่แพร่หลายและได้รับการยอมรับ ลิง นก สิงโต หรือสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ อาจมีส่วนร่วมในการ เห็นด้วย / ไม่เห็นด้วย ต่อบทกฎหมายบางข้อที่อาจส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของพวกมันได้

ทั้งนี้ ที่บอกว่าสัตว์มีสิทธิออกเสียงก็ไม่ได้หมายความตามนั้น แต่ให้เป็นเจ้าของสัตว์ องค์กร หรือหน่วยงานที่ดูแลเกี่ยวกับสัตว์โดยตรงเพื่อการันตีความเที่ยงธรรม ความเข้าใจในปัญหาอย่างถ่องแท้ และเล็งเห็นว่าข้อกฎหมายนั้นเป็นปัญหากับสัตว์จริง ๆ

ฟังดูดี แต่...

นั่งอ่านไปเพลิน ๆ ข้อมูลและเหตุผลที่ Motoarca ยกมา ฟังแล้วก็ชวนให้เชื่อเอาได้ง่าย ๆ เหมือนกัน ขณะเดียวกัน Matthew Kramer ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายและการเมืองจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ กล่าวว่า การให้สิทธิมนุษย์ไปออกสิทธิออกเสียงแทนสัตว์มีความเสี่ยงอยู่หลายเรื่อง

Matthew โยงไปถึงเรื่องว่า แทนที่สัตว์จะได้เป็นคนออกเสียงให้ตัวเอง (ซึ่งทำไม่ได้) เมื่อมนุษย์เข้ามาเกี่ยวในเรื่องนี้ ทุกการกระทำจะมีผลประโยชน์บางอย่างซ้อนทับอยู่ ฟังดูอาจคิดว่า คุณมองโลกในแง่ร้ายเกินไปหรือเปล่า

เขาอธิบายเพิ่มว่า ลองนึกดูว่า หากเข้าสู่ช่วงเลือกตั้งระดับประเทศ สมมติว่าเป็นสหรัฐ หากพรรคการเมืองฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งแคมเปญหาเสียงว่า หากลงคะแนนให้กับพรรค จะพิจารณาการให้สิทธิลงคะแนนเสียงของสัตว์ โดยมีมนุษย์เป็นตัวแทน

กรณีศึกษา สิงโต พัทยา

หรือยกตัวอย่างเช่น กรณี สิงโต พัทยา ที่เป็นประเด็นร้อนในช่วง 1 – 2 วันที่ผ่านมา หลังชาวอินเดียขับรถเปิดประทุน พาเจ้าป่ารายนี้อวดโฉมไปทั่วเมือง กระทั่งมีการถามกันว่า ไทยสามารถเลี้ยงสิงโตได้ด้วยงั้นหรือ ซึ่ง Spring ก็รวบรวมไว้ให้แล้ว เรื่องข้อกฎหมายการเลี้ยงสิงโต

สิงโต พัทยา

กรณีนี้สะท้อนว่า หากมนุษย์หรือองค์กรใดก็ตามที่เป็นผู้แทนเพื่อออกเสียงแทนสัตว์ อิงตามไอเดียของ Motoarca รู้สึกว่าการเลี้ยงสิงโตไม่ควรถูกกฎหมาย หรือควรปรับแก้ข้อห้ามบางอย่างให้เข้มงวดขึ้น คนกลุ่มนี้ก็จะไปลงคะแนนเสียง เพื่อให้รัฐปรับแก้ข้อกฎหมาย ด้วยเห็นว่านั่นคือสิ่งที่ดีที่สุดต่อทั้งสิงโตและมนุษย์

กลับมาที่ Matthew ถ้อยความของเขาสามารถสรุปได้ว่า สรรพสัตว์มีอารมณ์ความรู้สึก พวกมันจะตื่นเต้นกับสิ่งรอบตัว หรือจะเหงาหงอยก็ได้ ทั้งหมดนี้ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมรอบ ๆ ตัว กล่าวคือ ปล่อยให้มันเป็นเรื่องของธรรมชาติไปดีที่สุดแล้ว ให้หน่วยงานที่ดูแลด้านนี้เป็นคนจัดการน่าจะเป็นทางออกที่เหมาะสมที่สุด

คุณล่ะคิดเห็นอย่างไร? คิดว่าควรมีการตั้งตัวแทนออกเสียงในนามสัตว์หรือไม่Spring รวบรวมไอเดียและข้อเห็นแย้งมาให้พิจารณา

 

ที่มา: Daily Mail , Mind Matters

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related