svasdssvasds

พบสารปรอทที่มนุษย์ก่อ ปนเปื้อนในขนเพนกวินแอนตาร์กติก

พบสารปรอทที่มนุษย์ก่อ ปนเปื้อนในขนเพนกวินแอนตาร์กติก

สารพิษที่มนุษย์ก่อขึ้น สามารถส่งผลกระทบไปได้ไกลแค่ไหน เมื่อนักวิทยาศาสตร์พบการปนเปื้อนของปรอทในขนของเพนกวินบริเวณมหาสมุทรแอนตาร์กติก

การศึกษาวิจัยที่ตีพิมพ์ใน Science of the Total Environment เกี่ยวกับ การตรวจสอบระดับของปรอทในนกน้ำที่บินไม่ได้ เผยให้เห็นว่า มีการค้นพบสารปรอทในพื้นที่ห่างไกลอย่างมหาสมุทรใต้หรือแอนตาร์กติก ซึ่งคาดว่าแพร่กระจายผ่านชั้นบรรยากาศและการขนส่งสินค้าระยะไกลของมนุษย์

พบสารปรอทที่มนุษย์ก่อ ปนเปื้อนในขนเพนกวินแอนตาร์กติก

ไม่เพียงแต่ปนเปื้อนในน้ำ น้ำแข็ง หรืออากาศเท่านั้น แต่สารปรอทดังกล่าวยังสะสมอยู่ในสิ่งมีชิวิต โดยเฉพาะการปนเปื้อนในขนของเพนกวินที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ไกลจากมนุษย์ที่สุด

สารปรอทเป็นสารพิษที่ส่งผลต่อระบบประสาท เป็นสารอันตรายที่กำลังในแหล่งอาหารทั้งในน้ำและบนบก สัตว์ที่กินปลามีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนสูงสุด การสัมผัสสารปรอทเป็นเวลานานจะส่งผลต่อการสืบพันธุ์และอาจทำให้เกิดปัญหาทางระบบประสาท เช่น เฉื่อยชาและอ่อนแรง หากมีสัตว์ที่ไหนที่รับสารปรอทเข้าสู่ร่างกายในในปริมาณมากก็อาจส่งผลถึงตายได้

พบสารปรอทที่มนุษย์ก่อ ปนเปื้อนในขนเพนกวินแอนตาร์กติก

เพื่อประเมินขอบเขตความเสียหายที่เกิดขึ้น นักวิทยาศาสตร์ได้ขนของเพนกวินโตเต็มวัยที่เก็บมาจากแหล่งเพาะพันธุ์ใกล้เกาะแอนต์เวิร์ส ในคาบสมุทรแอนตาร์กติกตะวันตก โดยรวบรวมจากเพนกวินสามสายพันธุ์ คือ อเดลี เจนทู และชินสแตรป เพื่อนำมาตรวจสอบ

พวกเขาพบว่าการสะสมของปรอทในเพนกวินอาเดลีและเพนกวินเจนทู อยู่ในระดับต่ำที่สุดในบรรดานกเพนกวินทุกสายพันธุ์ที่เคยพบในมหาสมุทรใต้ ขณะที่ระดับปรอทในเพนกวินชินสแตรปนั้นสูงกว่าอย่างมีนัยสำคัญ

 

ความแตกต่างดังกล่าวอาจเกิดจากรูปแบบการกินของชินสแตรปที่แตกต่างจากสายพันธุ์อื่นที่ศึกษา เพราะในช่วงฤดูหนาวที่ไม่ใช่ฤดูผสมพันธุ์ ชินสแตรปจะอพยพไปหากินยังละติจูดที่ต่ำกว่าทางตอนเหนือ ซึ่งพวกมันและเพนกวินตัวอื่นๆ จะสะสมปรอทในปริมาณที่สูงกว่าเพนกวินที่อาศัยอยู่ทางใต้

 

ข้อมูลเหล่านี้ไม่เพียงแต่ช่วยให้เรารับรู้ถึงแหล่งที่ก่อให้เกิดการสะสมของปรอทเท่านั้น แต่ยังรวมถึงนิเวศวิทยาของเพนกวินในภาพรวมว่า รูปแบบการกินอาหารส่งผลต่อสุขภาพของเพนกวินอย่างไร และมลพิษปรอทหมุนเวียนอยู่ในมหาสมุทรของโลกอย่างไร

 

ขณะที่ความพยายามในการลดมลพิษจากปรอท โดยเฉพาะอย่างยิ่งจากอนุสัญญา Minamata เกี่ยวกับปรอทที่ประเทศต่างๆ 140 ประเทศนำมาใช้ในปี 2013 ได้รับการพิสูจน์ว่าช่วยลดการปล่อยสารปรอทสู่สิ่งแวดล้อมได้จริง โดยการศึกษาวิจัยในปี 2024 จากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์พบว่าระดับปรอทในบรรยากาศลดลงประมาณ 10% ระหว่างปี 2005 ถึง 2020 ซึ่งปัจจัยหลักมาจากการปิดโรงไฟฟ้าถ่านหินในหลายประเทศ