svasdssvasds

นักวิจัยในอินโดนีเซียทดลองแยกไมโครพลาสติกด้วยคลื่นเสียง

นักวิจัยในอินโดนีเซียทดลองแยกไมโครพลาสติกด้วยคลื่นเสียง

ไมโครพลาสติกส่งผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม พบมีการปนเปื้อนในดินและน้ำ ล่าสุดนักวิจัยในประเทศอินโดนีเซียได้พัฒนาวิธีการใหม่ในการกำจัดไมโครพลาสติกออกจากน้ำโดยไม่ต้องใช้ตัวกรองราคาแพง

การแยกไมโครพลาสติกออกจากน้ำ เป็นไอเดียของนักวิจัยในอินโดนีเซียดักจับไมโครพลาสติก โดยปล่อยคลื่นเสียงเข้าไปในท่อโมเลกุลของไมโครพลาสติกจะสั่นสะเทือนแล้วจับตัวกัน จากนั้นจึงแยกออกจากน้ำ

นักวิจัยในอินโดนีเซียทดลองแยกไมโครพลาสติกด้วยคลื่นเสียง

แยกไมโครพลาสติกออกจากน้ำด้วยคลื่นเสียง

ไมโครพลาสติกคือชิ้นส่วนพลาสติกเล็กๆ ที่ผลิตขึ้นเมื่อชิ้นส่วนขนาดใหญ่ย่อยสลาย จะกลายเป็นไมโครพลาสติก ซึ่งองค์การบริหารมหาสมุทรและบรรยากาศแห่งชาติของสหรัฐอเมริกาจัดประเภทวัตถุเหล่านี้ว่ามีความยาวน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร การพัฒนานวัตกรรมในการแยกไมโครพลาสติกออกจากน้ำจึงเป็นสิ่งสำคัญ 

Dhany Arifianto วิศวกรของ Institut Teknologi Sepuluh Nopember ในเมืองสุราบายา ประเทศอินโดนีเซีย ได้พัฒนาระบบทำความสะอาดด้วยเสียง โดยในการทดสอบในห้องปฏิบัติพบว่า สามารถกรองเศษไนลอนออกได้อย่างมีประสิทธิภาพ สูงถึง 99% และไมโครพลาสติกอื่นๆ ประสิทธิภาพสูงถึง 95%แต่ผลลัพธ์เหล่านี้มีเหมาะกับแหล่งน้ำจืดเท่านั้น ซึ่งทำได้ง่ายกว่าน้ำทะเล และสำหรับการทดลองดักจับไมโครพลาสติกในน้ำทะเล ได้ผลเพียง 58% เท่านั้น

นักวิจัยในอินโดนีเซียทดลองแยกไมโครพลาสติกด้วยคลื่นเสียง คลื่นเสียงที่ใช้แยกไมโครพลาสติกอยู่ระดับเท่าไร?

ระดับคลื่นเสียงที่ใช้ในการทดลองในห้องปฏิบัติการสำหรับการแยกไมโครพลาสติกออกจากน้ำอยู่ที่ประมาณ 50–60 เดซิเบล ซึ่งเป็นระดับเสียงอยู่ระหว่างระดับการสนทนาเงียบๆ ที่บ้านกับระดับการสนทนาในสำนักงานที่วุ่นวาย

คลื่นเสียงอยู่ในระดับที่สามารถได้ยินได้พอสมควร ซึ่งงานวิจัยนี้ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโครงการ Clean Ocean Project ซึ่งวางตาข่ายในมหาสมุทรแปซิฟิกเพื่อจับขยะในมหาสมุทร นักวิจัยกล่าวว่า มลพิษจากไมโครพลาสติกเป็นปัญหาระดับโลก ซึ่งต้องอาศัยความพยายามจากนานาชาติ

ปัญหาไมโครพลาสติกเลวร้ายกว่าที่คิด

จากการศึกษาทางวิทยาศาสตร์มากกว่า 300 เรื่องเกี่ยวกับผลกระทบของสาร BPA ที่มีต่อระบบสืบพันธุ์เพศหญิง ซึ่งไมโครพลาสติกมีบิสฟีนอล เอ (BPA) ซึ่งเป็นสารเคมีที่อยู่ในรายชื่อสารที่เป็นพิษต่อพัฒนาการและการสืบพันธุ์ สาร BPA ยังมีผลกระทบต่อเพศชายด้วยเช่นกัน

 

ที่มา : Cosmos

 

เนื้อหาที่น่าสนใจ :