"นกล่าเหยื่อ" อาจสูญพันธุ์ เมื่อถูกล่าเสียเอง ทวีปแอฟริกากำลังสูญเสียประชากรนกล่าเหยื่ออย่างหนัก เหตุเพราะพื้นที่ทางเกษตรไปลุกล้ำพื้นที่หากิน และที่อยู่อาศัยของนกล่าเหยื่อเหล่านี้
นกล่าเหยื่อในทวีปแอฟริกากำลังเสี่ยงสูญพันธุ์ หลังประชากรลดฮวบ อันมีสาเหตุมาจากการถูกแย่งที่อยู่อาศัยในป่า สูญเสียแหล่งหาอาหาร พร้อมทั้งถูกล่าโดยมนุษย์
ข้อมูลจาก Peregrinefund ระบุว่า นกล่าเหยื่อในทวีปแอฟริกาสามารถพบได้หลายแห่ง อาทิ ทุ่งหญ้าสะวันนา ป่าเขตร้อน ทะเลทราย พื้นที่ชายฝั่ง หรือแม้กระทั่งเขตเมือง แต่เป็นเพราะอะไรกัน ถึงมีรายงานว่า นกล่าเหยื่อแอฟริกาอาจถึงคราวสูญพันธุ์
จากการศึกษาใหม่ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Ecology and Evolution แสดงให้เห็นว่า นกล่าเหยื่อในทวีปแอฟริกา อาทิ อินทรีนักรบ และเหยี่ยวนกเขาร้องดำ ได้สูญพันธุ์ไปจากทวีปแอฟริกาในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากพื้นที่ป่าหลายแห่งถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นพื้นที่ทำเกษตรกรรม
ดร.ฟิล ชอว์ ผู้เขียนรายงานการศึกษาชิ้นนี้ กล่าวว่า จำนวนประชากรที่ลดลงของนกล่าเหยื่อในแอฟริกาอาจส่งผลเสียไปถึงมนุษย์ด้วย แม้จะเป็นทางอ้อมก็ตาม ดร.ฟิล กล่าวต่อว่า การลดลงของแร้งอินเดียนำไปสู่การแพร่ระบาดของโรคพิษสุนัขบ้าของทวีปแอฟริกาในช่วงทศวรรษ 1990s
ในความหมายคือ นกล่าเหยื่อ ซึ่งมีขนาดใหญ่และสามารถบินล่าสุนัข พร้อมกินเป็นอาหารได้ แต่ยังไม่เป็นที่กระจ่างนัก ว่าทำไมถึงเอานกล่าเหยื่อมาอ้างถึงโรคพิษสุนัขบ้า หรือนกล่าเหยื่อในทวีแอฟริกาล่าสุนัขกันเป็นกิจลักษณะ
ย้อนกลับไปในปี 2558 การศึกษาเกี่ยวกับแร้งในทวีปแอฟริกา พบว่า มีจำนวนไม่น้อยที่กำลังตกอยู่ในอันตราย ในความหมายคือ ถูกล่าจากมนุษย์
ดร. ฟิล กล่าวว่า สาเหตุที่นกล่าเหยื่อในทวีปแอฟริกามีจำนวประชากรลดลง เป็นผลมาจากการขยายตัวทางเกษตรกร และทรัพยากรในการดำรงชีวิต ไม่เพียงพอต่อนกล่าเหยื่อเหล่านั้น โดยปัญหานี้เริ่มชัดเจนมาตั้งแต่ทศวรรษ 70s เมื่อพื้นที่ป่าและทุ่งหญ้าสะวันนา ได้ถูกเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรม
ต้องบอกว่าไม่ใช่แค่ทวีปแอฟริกาเท่านั้น ที่นกล่าเหยื่อเสี่ยงสูญพันธุ์ จากการศึกษาในปี 2019 เผยว่า สหรัฐและแคนาดาคือ 2 ประเทศที่สูญเสียประชากรนกล่าเหยื่อไปอย่างมีนัยสำคัญ (ราว 29%)
ที่มา: The Guardian , CBS News
เนื้อหาที่น่าสนใจ