ลาฮอร์ (Lahore) เมืองในปากีสถาน ใช้ฝนเทียมเพื่อลดมลพิษในเมือง หลังค่าอากาศพุ่งแตะ 300 เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน ผลลัพธ์เกินคาด ผู้เชี่ยวชาญ สวน ให้จัดการปัญหาที่ต้นตอ จะดีต่อเมืองและประชาชนในระยะยาวมากกว่า
ลาฮอร์อากาศย่ำแย่
ลาฮอร์ คือเมืองหลวงที่ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันออกของจังหวัดปัญจาบ (Punjarb) ประเทศปากีสถาน ติดกับชายแดนอินเดีย ซึ่งขึ้นชื่อลือชาอย่างมากเรื่องคุณภาพอากาศที่ย่ำแย่เป็นอันดับต้น ๆ ของโลก ด้วยประชากรที่เพิ่มขึ้นถึง 13 ล้านคน
เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา คุณภาพอากาศในเมืองลาฮอร์ย่ำแย่มาก จนต้องมีการสั่งให้โรงเรียน ตลาด และสวนสาธารณะปิดทำการเป็นเวลาสี่วัน เพื่อรอให้ระดับมลพิษทุเลาลงก่อน เพราะระดับคุณภาพอากาศ (AQI) ของเมืองย่ำแย่และเป็นอันตรายต่อสุขภาพ
ใช้ฝนเทียมแก้ฝุ่น
เบื้องต้นรัฐบาลเมืองปัญจาบออกมาตรการรับมือกับปัญหามลพิษแล้ว โดยสั่งให้ใช้ฝนเทียมเพื่อสร้างฝนให้ตกทั่วเมือง กำหนดเอาไว้ทั้งหมด 10 จุด
วิธีการสร้างฝนเทียมที่รัฐบาลปัญจาบใช้ได้แก่ ใช้เครื่องบิน Cessna ล่องขึ้นไปบนฟ้าระดับเดียวกับก้อนเมฆ จากนั้นก็บินพ่นเกลือแกงที่ผสมกับน้ำลงบนเมฆ หลังจาก ใช้เวลาอีกไม่กี่ชั่วโมง ฟ้าก็จะครึ้ม แล้วฝนก็ตกลงมา
ในปากีสถานเรียกการทำฝนเทียมเช่นนี้ว่า “blueskying” เป็นหลักการการทำฝนเทียม เป็นที่นิยมอย่างมากในประเทศแทบตะวันออกกลาง จีนกับอินเดียก็ใช้หลักการเดียวกัน
Bilal Afzal ผู้ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมประจำจังหวัดปัญจาบ การทำฝนเทียมเป็นไปด้วยดี แต่ปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาไม่เพียงพอ ที่จะทำให้คุณภาพอากาศในเมืองดีขึ้น แต่อย่างน้อยค่า AQI ก็ลดลงจาก 300 เหลือ 189 ก็ถือเป็นสัญญาณที่ดี ทว่า ยังอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอยู่
ขณะที่ทำการขึ้นบินเพื่อสร้างฝนเทียมอยู่นั้น แพทย์คนหนึ่งที่อาศัยอยู่ในเมืองลาฮอร์ กล่าวว่า ขณะที่กำลังเดินกลับบ้าน ก็มีน้ำอะไรไม่รู้หยดใส่ ตอนแรกเธอนึกว่าเป็นมูลของนก
ผู้เชี่ยวชาญแนะให้แก้ที่ต้นเหตุ
ทั้งนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศได้ออกมาเตือนว่า ให้วางแผนการรับมือฝุ่นอย่างรัดกุม หากคะยั้นคะยอใช้วิธินี้เพื่อช่วยลดฝุ่นไปเรื่อย ๆ อาจก่อให้เกิดผลกระทบตามมาอีกหลายข้อ
อาทิ อาจไปกระทบกับฝนจริงที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ประชาชนถูกสารเคมีปนเปื้อนบนร่างกาย เปลืองทรัพยากรไปโดยใช่เหตุ แถมการขับเครื่องบินก็เป็นการปล่อยมลพิษออกสู่ชั้นบรรยากาศอีกด้วย
นอกจากนี้ หากโปรยสารเคมีบนเมฆมากเกินไป อาจก่อให้เกิดพายุลูกเห็บ หรือฝนตกหนักได้ ผู้เชี่ยวชาญยืนกรานว่า วิธีนี้ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ยั่งยืน อีกทั้งจะไปเร่งภัยแล้งให้หนักเข้าไปอีก พร้อมเปรียบว่าการทำในลักษณะนี้ก็เหมือนกับการใช้สาร สเตียรอยด์สำหรับนักกีฬา
เหนือสิ่งอื่นใด ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศกลับมองว่า ควรเอาเวลาไปแก้ไขปัญหาที่ต้นตอ อาจจะได้ผลดีในระยะยาวมากกว่า อาทิ การขนส่ง การปล่อยมลพิษจากภาคอุตสาหกรรม การเผาไหม้ทางการเกษตร และผืนป่าสีเขียวที่ร่อยหรอลงไปทุกที
ที่มา: The Guardian
เนื้อหาที่น่าสนใจ