svasdssvasds

ค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้ พุ่งเกินค่ามาตรฐาน 21 จังหวัด กทม.ระดับสีส้ม 38 พื้นที่

ค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้ พุ่งเกินค่ามาตรฐาน 21 จังหวัด กทม.ระดับสีส้ม 38 พื้นที่

ค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้ 17 ธ.ค. 2566 กทม. อยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ 38 พื้นที่ ส่วนอีก 21 จังหวัด ค่าฝุ่นเกินค่ามาตรฐานส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

ค่าฝุ่น PM 2.5 วันนี้ (17 ธ.ค. 2566) ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร รายงานสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หรือ PM 2.5 ของสถานีตรวจวัดคุณภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร ประจำวันอาทิตย์ที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2566 เวลา 07.00 น. ค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมง ตรวจวัดได้ 32.4-59.3 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.)

ค่าฝุ่น PM 2.5 พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 38 พื้นที่ คือ

  1. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 74.3 มคก./ลบ.ม.
  2. เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 61.7 มคก./ลบ.ม.
  3. เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 60.4 มคก./ลบ.ม.
  4. สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 56.7 มคก./ลบ.ม.
  5. เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 55.0 มคก./ลบ.ม.
  6. เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 53.8 มคก./ลบ.ม.
  7. เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 53.4 มคก./ลบ.ม.
  8. เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 52.7 มคก./ลบ.ม.
  9. เขตบางนา บริเวณหน้าห้าง สรรพสินค้าบิ๊กซี บางนา : มีค่าเท่ากับ 52.4 มคก./ลบ.ม.
  10. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 52.3 มคก./ลบ.ม.
  11. เขตสวนหลวง ด้านหน้าสำนักงานเขตสวนหลวง : มีค่าเท่ากับ 51.6 มคก./ลบ.ม.
  12. เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 51.4 มคก./ลบ.ม.
  13. เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 50.2 มคก./ลบ.ม.
  14. เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 50.0 มคก./ลบ.ม.
  15. สวนบางแคภิรมย์ เขตบางแค เขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 49.8 มคก./ลบ.ม.

ค่าฝุ่น PM 2.5 พบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

 16. เขตประเวศ ด้านหน้าห้างสรรพสินค้าซีคอน สแควร์ : มีค่าเท่ากับ 49.1 มคก./ลบ.ม.

 17. เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 49.0 มคก./ลบ.ม.

 18. เขตจอมทอง ภายในสำนักงานเขตจอมทอง : มีค่าเท่ากับ 48.0 มคก./ลบ.ม.

 19. เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 47.3 มคก./ลบ.ม.

 20. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 47.1 มคก./ลบ.ม.

 21.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 46.8 มคก./ลบ.ม.

 22. เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 45.7 มคก./ลบ.ม.

 23. เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 45.7 มคก./ลบ.ม.

 24. เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 45.2 มคก./ลบ.ม.

 25. เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 44.2 มคก./ลบ.ม.

 26. เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 44.0 มคก./ลบ.ม.

 27. เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 43.9 มคก./ลบ.ม.

 28. เขตทุ่งครุ หน้ามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี : มีค่าเท่ากับ 42.2 มคก./ลบ.ม.

 29. เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 41.8 มคก./ลบ.ม.

 30. เขตพระโขนง ภายในสำนักงานเขตพระโขนง : มีค่าเท่ากับ 41.1 มคก./ลบ.ม.

 

 31. เขตบางคอแหลม บริเวณป้อมตำรวจสี่แยกถนนตก : มีค่าเท่ากับ 40.7 มคก./ลบ.ม.

 32. เขตพระนคร ภายในสำนักงานเขตพระนคร : มีค่าเท่ากับ 39.9 มคก./ลบ.ม.

 33. เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 39.8 มคก./ลบ.ม.

 34. เขตคลองเตย ภายในสำนักงานเขตคลองเตย : มีค่าเท่ากับ 39.7 มคก./ลบ.ม.

 35. เขตบึงกุ่ม ภายในสำนักงานเขตบึงกุ่ม : มีค่าเท่ากับ 39.3 มคก./ลบ.ม.

 36. สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย เขตบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 39.0 มคก./ลบ.ม.

 37. เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 38.6 มคก./ลบ.ม.

 38. สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด เขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 38.4 มคก./ลบ.ม.

คุณภาพอากาศระดับสีส้ม : เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

คุณภาพอากาศระดับสีแดง : มีผลกระทบต่อสุขภาพ

ประชาชนทุกคน : งดกิจกรรมกลางแจ้ง หากมีความจำเป็นต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งให้ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเองทุกครั้ง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ ผู้ที่มีโรคประจำตัว ควรอยู่ในพื้นที่ปลอดภัยจากมลพิษทางอากาศ ให้เตรียมยาและอุปกรณ์ที่จำเป็นให้พร้อมและปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด

ดัชนีคุณภาพอากาศของสถานีตรวจวัดของกรุงเทพมหานคร : ส่วนใหญ่อยู่ในระดับคุณภาพอากาศ เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

กรมอุตุนิยมวิทยา พยากรณ์สภาพอากาศ ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร : มีเมฆบางส่วนกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM 2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)

ในช่วงวันที่ 17-25 ธ.ค. 66 การระบายอากาศค่อนข้างดี(ยกเว้น 18-19 ธ.ค.66 อ่อน) อย่างไรก็ตามสภาวะอากาศใกล้พื้นผิวมีลักษณะปิด จึงคาดว่าการระบายเป็นไปอย่างจำกัด จึงส่งผลต่อความเข้มข้นของฝุ่นละอองที่มีแนวโน้มสะสมตัวในระยะนี้ และคาดการณ์วันนี้มีเมฆบางส่วนกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส

ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร

สำนักสิ่งแวดล้อมได้ประสานแจ้งทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เพิ่มความเข้มงวดการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง เพื่อเป็นการบรรเทาความรุนแรงของสถานการณ์ฝุ่นละออง PM 2.5 และผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นกับสุขภาพอนามัยของประชาชน

ค่าฝุ่น PM 2.5 เกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ภาพรวมปริมาณ PM 2.5 ในประเทศพบ เกินค่ามาตรฐาน ใน จ.นนทบุรี กรุงเทพฯ จ.นครปฐม จ.สมุทรสาคร จ.สมุทรปราการ จ.เชียงราย จ.พิษณุโลก จ.ตาก จ.อุทัยธานี จ.ชัยนาท จ.สิงห์บุรี จ.ลพบุรี จ.สระบุรี จ.อ่างทอง จ.สุพรรณบุรี จ.พระนครศรีอยุธยา จ.กาญจนบุรี จ.ราชบุรี จ.สมุทรสงคราม จ.ระยอง และ จ. หนองคาย

  • ภาคเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 4 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 10.8 - 44.4 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 10.0 - 38.0 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคกลางและตะวันตก เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 26.7 - 60.6 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคตะวันออก เกินค่ามาตรฐาน 1 พื้นที่ ตรวจวัดได้ 16.6 - 39.1 มคก./ลบ.ม.
  • ภาคใต้ ภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดีมาก ตรวจวัดได้ 9.2 - 19.9 มคก./ลบ.ม.
  • กรุงเทพมหานครและปริมณฑล โดยสถานีตรวจวัดของ คพ. ร่วมกับ​ ​กทม. เกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ ตรวจวัดได้ 25.3 - 87.5 มคก./ลบ.ม.

ที่มา : ศูนย์แก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related