จากข้อมูลดาวเทียมเผยให้เห็นว่าคุณภาพอากาศที่ดีไม่ได้เพียงมีผลกับมนุษย์เท่านั้น ยังส่งผลกับการสังเคราะห์แสงของพืชด้วย โดยพืชจะดักจับคาร์บอนได้มากขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์หรือช่วงวันเสาร์ อาทิตย์ หรือวันหยุดที่ภาคอุตสาหกรรมลดการผลิต และผู้คนเดินทางน้อยลง
การลดลงของมลพิษฝุ่นละออง PM 2.5 ของภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตรและการเดินทาง จะช่วยปรับปรุงคุณภาพอากาศให้ดีขึ้น โดยสังเกตได้ชัดเจนในช่วงสุดสัปดาห์ วันเสาร์-อาทิตย์ นอกจากนี้การที่คุณภาพอากาศดีขึ้น ฝุ่น PM 2.5 ลดลง ยังสามารถเพิ่มปริมาณแสงแดดให้พืชสามารถเข้าถึงได้ ช่วยเพิ่มความสามารถในการกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศและบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ด้วย งานวิจัยใหม่นี้ใช้ดาวเทียมเพื่อวัดทั้งกิจกรรมการสังเคราะห์แสงและมลพิษจาการนำเสนอข้อมูลโดยการใช้ข้อมูลจากดาวเทียม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าพืชสามารถดูดซับคาร์บอนได้มากขึ้นในช่วงสุดสัปดาห์ที่การผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลง และผู้คนเดินทางน้อยลง
พืชมีความสามารถพิเศษที่เรียกว่าการสังเคราะห์แสง โดยจะเปลี่ยนพลังงานของดวงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานเคมี และพืชจะดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์จากอากาศ ซึ่งในการต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศหรือ Climate Change ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ พืชจะดึงคาร์บอนบางส่วนออกจากชั้นบรรยากาศและเก็บรักษาไว้เป็นสารชีวภาพ เพื่อป้องกันไม่ให้ก่อให้เกิดภาวะโลกร้อน
อย่างไรก็ตามประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสงของพืชจะลดลง ก็ต่อเมื่อคุณภาพอากาศไม่ดีซึ มีฝุ่นละอองลอยสู่ชั้นบรรยากาศจากกิจกรรมการเดินทางและเผาเชื้อเพลิงฟอสซิลหรือไม้ และสิ่งเหล่านี้ส่งผลเสียต่อคุณภาพอากาศ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์ นอกจากนี้ยังสามารถกระจายหรือดูดซับแสงแดด อันจะส่งผลต่อพืชเหมือนกับการติดอยู่ในที่ร่ม
งานวิจัยก่อนหน้านี้เผยให้เห็นว่ามลพิษจากฝุ่นละอองสามารถกดผลผลิตพืชผลทางการเกษตรได้มากถึง 20 เปอร์เซ็นต์ โดยทีมวิจัยได้ใช้เครื่องมือ TROPOspheric Monitoring Instrument (TROPOMI) บนดาวเทียม Copernicus Sentinel-5 Precursor เพื่อทำการตรวจวัดกิจกรรมการสังเคราะห์แสงของพืชในยุโรป
เนื่องจากขั้นตอนหนึ่งของกระบวนการสังเคราะห์แสงจะปล่อยแสงเรืองแสงออกมา ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากอวกาศและวัดด้วยดาวเทียม โดยนักวิจัยเชื่อมโยงผลการค้นพบการสังเคราะห์ด้วยแสงกับการวัดละอองลอยที่ถ่ายโดย Visible Infrared Imaging Radiometer Suite และใช้การสร้างแบบจำลองเพื่อทำความเข้าใจความสัมพันธ์
นักวิจัย เผยว่า “เรามุ่งเน้นไปที่ยุโรปเนื่องจากมีรูปแบบกิจกรรมของมนุษย์ที่กำหนดไว้ตลอดทั้งสัปดาห์ เมื่อเทียบกับภูมิภาคอื่นๆ นอกจากนี้ระบบนิเวศในยุโรปหลายแห่งกำลังประสบกับผลกระทบด้านลบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และประเทศต่างๆ ในยุโรปก็ได้ตั้งเป้าหมายในการลดคาร์บอนไดออกไซด์”
จากงานวิจัยแสดงให้เห็นวงจรกิจกรรมการสังเคราะห์แสงรายสัปดาห์ ซึ่งสูงสุดในช่วงสุดสัปดาห์และลดลงในระหว่างสัปดาห์ ซึ่งเป็นสิ่งที่ตรงกันข้ามกับรูปแบบของมลพิษจากละอองลอย และยังพบรูปแบบที่คล้ายกันในช่วงล็อกดาวน์จากโควิด-19 เมื่อผู้คนต้องกักตัวอยู่บ้าน
หากสามารถลดมลพิษได้ตลอดทั้งสัปดาห์ โดยรักษาระดับกิจกรรมการสังเคราะห์แสงของพืชในช่วงสุดสัปดาห์ไว้ตลอดเวลา จะกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกจากชั้นบรรยากาศได้ถึง 40-60 เมกะตัน เลยมีเดียว
ที่มา : Eurek Alert
เนื้อหาที่น่าสนใจ :