สุดเจ๋ง! โครงการเพลินน้ำมันพืชเก่า แลกน้ำมันพืชใหม่" รณรงค์ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ พร้อมนำกลับมาผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี เพื่อโลกที่ยั่งยืน
ภาคธุรกิจไทยยังคงเดินหน้าออกมาตรการรักษ์โลกต่อเนื่อง เพื่อรับเทรนด์โลกที่เปลี่ยนไป วันนี้จะพามาดูตัวอย่างภาคธุรกิจรักษ์โลก ในกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมันพืช และอุตสาหกรรมน้ำมัน ที่ร่วมมือกันผุดโครงการรักษ์สิ่งแวดล้อม โดยความร่วมมือดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างบริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด ภายใต้กลุ่มธุรกิจบางจาก และ บริษัท สวีท มีท (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตน้ำมันพืชตรา “เพลิน” ที่ได้ร่วมมือทำโครงการ “เพลิน น้ำมันพืชเก่า แลกน้ำมันพืชใหม่” เพื่อรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคมอย่างยั่งยืนร่วมกัน ในการรณรงค์ไม่ใช้น้ำมันทอดซ้ำ
และนำกลับมาผลิตเป็นน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานแบบยั่งยืน : Sustainable Aviation Fuel หรือ SAF ที่บีเอสจีเอฟรับซื้อภายใต้โครงการ “ทอด ไม่ทิ้ง” เพื่อบริหารจัดการนำน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว หรือ UCO เพื่อนำมาผลิตน้ำมัน SAF ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์จากภาคการบิน ตอบโจทย์โมเดลเศรษฐกิจของกลุ่มบางจากอย่างครบวงจร
โดยนายเอกภัท เตมียเวส ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สวีท มีท (ประเทศไทย) จำกัด ผู้ผลิตน้ำมันพืชตรา “เพลิน” การร่วมมือดังกล่าวภายใต้วิสัยทัศน์ของกลุ่มบางจาก เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ หรือ Net Zero Emissions ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ และคุณภาพชีวิตของประชาคมโลกในอนาคต ด้วยความมุ่งมั่นดังกล่าวบริษัทฯ จึงได้ริเริ่มโครงการ ‘เพลิน น้ำมันพืชเก่าแลกน้ำมันพืชใหม่’ ภายใต้ Concept ‘ทอด ไม่ทิ้ง’
ทั้งนี้เพื่อรวบรวมน้ำมันพืชใช้แล้ว จากกลุ่มลูกค้าในภาคอุตสาหกรรม ร้านค้า ร้านอาหาร รวมทั้งลูกค้ารายย่อยทุกกลุ่มของน้ำมันพืชเพลิน นํามาส่งให้กับทางบางจาก เพื่อนำกลับไปผลิตน้ำมันอากาศยานยั่งยืน ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์อย่างมากในหลายมิติทั้งในด้านสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคมของประเทศ
“ในด้านของผู้บริโภคจะได้ประโยชน์จากบริโภคอาหารที่ถูกสุขอนามัย ที่เกิดจากลดปริมาณการใช้น้ำมันในการทอดซ้ำ และสำหรับร้านค้า ร้านอาหารจะได้ประโยชน์ในด้านต้นทุนจากการซื้อน้ำมันใหม่ที่ต่ำลง ผมเชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะเป็นจุดเริ่มต้นนำไปสู่โอกาสในการขยายผลต่อยอด และผสานความร่วมมือในด้านอื่นๆ ต่อไป โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มทางธุรกิจ ควบคู่กับการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมและสังคม เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนร่วมกัน”
ด้านนายธรรมรัตน์ ประยูรสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และ ประธานกรรมการ บริษัท บีเอสจีเอฟ จำกัด กล่าวว่า บีเอสจีเอฟ บริษัทในเครือของกลุ่มบางจาก ในฐานะกลุ่มบริษัทนวัตกรรมสีเขียวชั้นนำในเอเชีย ที่ได้มีความมุ่งมั่นในการร่วมแก้ปัญหาสภาพภูมิอากาศของโลก โดยให้ความสำคัญในการเพิ่มการลงทุนในธุรกิจสีเขียว ได้มีการลงทุนเพื่อสร้างหน่วยผลิตน้ำมันอากาศยานแบบยั่งยืนจากน้ำมันปรุงอาหารใช้แล้ว ซึ่งเป็นการสร้างมูลค่าของเสียภายในประเทศ
และยังช่วยในการลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ในภาคอุตสาหกรรมการบิน บางจากจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่น้ำมันพืชเพลินเข้าร่วมโครงการนี้ สำหรับ Sustainable Aviation Fuel หรือ SAF ถือเป็นเรื่องใหม่ของโลก ซึ่งบางจากได้ทำการศึกษาเรื่องนี้มาระยะหนึ่งแล้ว และกำลังก่อสร้างโรงงาน ซึ่งเป็นโรงงานที่ 17 ของโลก และเป็นเพียงโรงงานเดียวในประเทศไทย
โดยมีกำลังการผลิตประมาณ 1 ล้านลิตรต่อวัน จริงๆ แล้วโครงการนี้เป็นเรื่องของคาร์บอนและพลังงานสะอาด แต่นอกเหนือจากเรื่องคาร์บอน สิ่งที่เราภาคฎมิใจที่สุด คือ การได้ดูแลสุขภาพของคนไทย เพราะกระทรวงสาธารณ์สุข มีความพยายามมานานกว่า 10 ปีแล้ว ที่ไม่อยากให้มีการใช้น้ำมันทอดซ้ำ ฉะนั้น ประโยชน์หลักๆ จากโครงการนี้จะเป็นเรื่องสุขภาพ และนอกเหนือจากนั้น เป็นการช่วยโลกลดคาร์บอนอีกทางหนึ่ง
“ปัจจุบัน อียู ได้มีการบังคับใช้คาร์บอนแท็กแล้ว สำหรับบางจากนับเป็นบริษัทที่มีน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคาร์บอนต่ำที่สุดในประเทศ และเราพยายามที่จะเอาสิ่งที่เราทำไปชวยผู้ประกอบการคนไทย นั่นคือ ถ้าใช้น้ำมันดีเซลของบางจาก คาร์บอนจะต่ำกว่าทั่วไป เวลานำเข้าสินค้าในกลุ่มประเทศอียู ก็จะได้เปรียบเรื่องคาร์บอนแท็ก ซึ่งเป็นความตั้งใจที่บางจากอยากทำ แต่ทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นไม่ได้เลย หากไม่มีพันธมิตรมาช่วยเรา” นายธรรมรัตน์ กล่าวทิ้งท้าย
อย่างไรก็ตามในการดำเนินงานจะทยอยมีแคมเปญและกิจกรรมต่างๆ ที่จัดร่วมกันระหว่างกลุ่มบางจากและน้ำมันพืชเพลินออกมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของโครงการฯ สำหรับในภาคธุรกิจ ภาคอุตสาหกรรม ร้านค้า ร้านอาหาร และประชาชนที่สนใจเข้าร่วมโครงการ และ/หรือเข้าร่วมเป็นตัวแทนในการรับซื้อน้ำมันพืชใช้แล้วมาขายให้กับทางบริษัทฯ หรือเข้าร่วมโครงการในการนำน้ำมันเก่าแลกน้ำมันพืชใหม่ เพื่อนำไปใช้เองหรือนำไปจำหน่ายต่อ ซึ่งถือเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ อีกทั้งยังขยายโอกาสให้กับประชาชนที่ต้องการมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
คนไทยใช้พลังงานสูงขึ้น ! 4 เดือนปี’66 เพิ่ม 3.8% น้ำมันเครื่องบินแชมป์
ข่าวปลอม! สรรพสามิตลดภาษีน้ำมันเครื่องบิน เริ่มตั้งแต่ 1 ม.ค. 66 – 30 มิ.ย. 67
ราชกิจจาฯ ขยายเวลาลดภาษีน้ำมันเครื่องบินภายในประเทศ กระตุ้นท่องเที่ยวช่วงโควิด-19