สุดทึ่ง! ปลาที่อยู่ในตู้ปลานานที่สุดในโลก ยังมีชีวิตอยู่ ชื่อ เมธูเซลาห์ หรือปลาปอด นักวิทย์คาดมีอายุ 92 ปี หรืออาจมีอายุมากถึง 101 ปี อยู่ได้นานขนาดนี้ได้ยังไงกันนะ?
คิด ๆ ไปก็น่าเศร้า อยู่ในตู้ตัวเดียวมานานเกือบ 100 ปี! เมธูเซลาห์ (Methuselah) ที่อยู่ในตู้โชว์พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ Steinhart ในซานฟรานซิสโก รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ผู้เชี่ยวชาญคาดว่าเป็นปลาปอดในตู้ปลาที่เก่าแก่ที่สุดในโลก
เมธูเซลาห์ ปลาที่มีอายุมากที่สุดในโลก เป็นปลาปอดออสเตรเลีย (Neoceratodus forsteri) เพศเมีย มีความยาว 1.2 เมตร หนัก 40 ปอนด์ เจ้าหน้าที่อควาเรียมบอกว่า เธอมาพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำแห่งนี้ครั้งแรกเมื่อปี 1938 หลังถูกส่งมาพร้อมกับปลาอื่น ๆ อีกกว่า 200 ตัว จากฟิจิและออสเตรเลีย
เจ้าหน้าที่อควาเรียมไม่มีใครอายุยืนเท่าเธอ เข้ามาทำงานก็เจอกับเธอแล้ว จึงไม่แน่ใจว่าเมธูเซลาห์ตัวนี้อายุเท่าไหร่กันแน่ ซึ่งตอนนี้ทุกคนคิดว่า เธออายุ 84 ปีแล้ว และอยู่นานที่สุดในตู้ปลาแห่งนี้ และที่ผ่านมา เธอไม่ได้เชื่องช้าลงเลย เธอชอบให้เจ้าหน้าที่ถูท้อง และไม่เคยทำร้ายใคร จนเจ้าหน้าที่ทุกคนก็เอ็นดูมัน นั่นเลยทำให้ผู้คนต่างสับสนเกี่ยวกับอายุของมัน
ในการศึกษานี้ นักวิจัยได้เปรียบเทียบ DNA ของเมธูเซลาห์กับสารพันธุกรรมปลาปอดในออสเตรเลียตัวอื่น ๆ เพื่อดูว่า DNA ของเธอสึกหรอมากแค่ไหน ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า เธอน่าจะมีอายุ 92 ปี แต่ระดับความไม่แน่นอนของการทดลองลักษณะนี้ไม่ค่อยชัดนัก เธออาจมีอายุได้ถึง 101 ปี
นักวิจัยไม่แน่ใจว่าเมธูเซลาห์จะมีอายุอยู่นานแค่ไหน แต่การมีชีวิตของเธอตอนนี้อาจทำให้เราได้ค้นพบกับคำตอบนั้น David Roberts ผู้ร่วมเขียนการศึกษานี้ และเป็นนักวิจัยจาก Australian River Institute มหาวิทยาลัย Griffith กล่าวว่า “แต่ไม่ว่าเธอจะอยู่ได้นานแค่ไหน ก็ไม่มีปลาปอดชนิดใดมีอายุได้มากกว่าเมธูเซลาห์แล้ว”
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ข่าวดี! ประชากรแรดเพิ่มขึ้น 27,00 ตัวทั่วโลก ชัยชนะของนักอนุรักษ์
เปิด 6 เหตุผล ทำไมถึงไม่ควรเอานกกรงหัวจุกออกจากบัญชีสัตว์คุ้มครอง
ปลาปอดออสเตรเลีย เป็นสิ่งมีชีวิตประหลาด รูปร่างหน้าตาและพันธุกรรมหลาย ๆ อย่างของมันดูคล้ายกับรอดพ้นมาจากยุคจูราสสิก นักวิทย์เชื่อว่า มันมีความเชื่อมโยงระหว่างวิวัฒนาการณ์ของสัตว์บกและสัตว์น้ำ ซึ่งมันก็ถูกเรียกขานในปัจจุบันว่า “ฟอสซิลที่มีชีวิต”
พวกมันไม่เปลี่ยนแปลงหรือวิวัฒนาการณ์มาเป็นเวลาหลายล้านปี ฟอสซิลที่เก่าแก่ที่สุดของปลาปอดในสกุล Neoceratodus ที่มนุษย์ค้นพบ คือปลาปอดที่มีชีวิตอยู่เมื่อ 380 ล้านปีก่อนในยุคดีโวเนียน (419.2 ล้านถึง 358.9 ล้านปีก่อน) ตามข้อมูลของพิพิธภัณฑ์ออสเตรเลียน
สำหรับแหล่งที่อยู่อาศัย เราสามารถพบปลาปอดได้เฉพาะแม่น้ำบางสายในรัฐควีนส์แลนด์ ประเทศออสเตรเลีย ในช่วงฤดูแล้ง แม่น้ำอาจนิ่งซึ่งจะทำให้ระดับออกซิเจนในน้ำลดลง เมื่อการหายใจในน้ำยากขึ้น ปลาปอดก็จะว่ายขึ้นมาผิวน้ำและหายใจเอาอากาศเข้าผ่านปอดเดียว นี่จึงเป็นที่มาของชื่อพวกมัน
อย่างไรก็ตาม อนาคตของสายพันธุ์ปลาปอดอาจอยู่ยากขึ้น เนื่องจากปลาปอดออสเตรเลียถูกคุกคามจากการขยายเมืองของมนุษย์และโครงการสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ เช่น เขื่อน ซึ่งได้เปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมการอยู่อาศัยของพวกมัน ปัจจุบัน ปลาปอดถูกขึ้นบัญชีแดง สัตว์ใกล้สูญพันธุ์ โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN)
ที่มาข้อมูล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง