เสียงคัดค้านไม่เป็นผล ญี่ปุ่นเตรียมปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสี ที่มั่นใจว่าปลอดภัยลงทะเลแปซิฟิก แม้กลุ่มประมงพื้นบ้านและประเทศคู่ค้านจะคัดค้าน ไม่เชื่อว่าสะอาด
อุตสาหกรรมอาหารทะเลญี่ปุ่นเตรียมรับแรงกระแทก หลังญี่ปุ่นคอนเฟิร์มแล้ว จะเริ่มปล่อยน้ำที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีซึ่งมั่นใจว่าผ่านการบำบัดแล้วว่า 1 ล้านเมตริกตันจากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ในวันที่ 24 ส.ค. นี้ แม้กลุ่มประมงในพื้นที่และอุตสาหกรรมประมงจากประเทศคู่ค้าบางแห่งจะคัดค้าน
แผนการปล่อยน้ำดังกล่าว ได้รับการอนุมัติเมื่อ 2 ปีที่แล้ว โดยรัฐบาลญี่ปุ่น โดยมีส่วนเกี่ยวข้องสำคัญของการรื้อถอนโรงงานไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งจะดำเนินการรื้อถอนโดยบริษัท โตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ หรือเทปโก (TEPCO)
บริษัทฯและรัฐบาลอ้างว่า น้ำที่เตรียมจะปล่อย ได้รับการพิจารณาและทดสอบเป็นเวลากว่า 2 ปี จากสำนักงานพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (IAEA) แล้ว และมั่นใจว่าการปล่อยน้ำในครั้งนี้ปลอดภัยและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
น้ำเสียปนเปื้อนนิวเคลียร์รั่วไหลในญี่ปุ่น หวั่นกระทบสิ่งแวดล้อมระยะยาว
ชงรัฐบาลใหม่ ! ถกพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไทย-กัมพูชา สำรองแหล่งก๊าซราคาถูก
โค้งสุดท้าย ญี่ปุ่นยังเดินหน้า จ่อปล่อยน้ำเสียปนเปื้อนนิวเคลียร์ลงทะเล
แผนการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันภาพรังสี สร้างความกังวลใจไม่น้อยให้กับอุตสาหกรรมประมงทั้งกลุ่มประมงพื้นบ้านและประมงคู่ค้าระหว่างประเทศ เนื่องจากหวั่นกระทบต่อระบบนิเวศและสัตว์น้ำ อันเป็นหนึ่งในเศษรฐกิจการส่งออกหลักของญี่ปุ่น
ในปี 2022 การส่งออกสินค้าการเกษตรและอาหารทะเลญี่ปุ่นกำลังอยู่ในขาขึ้น มีการส่งออกเพิ่มขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดนส่วนมากมาจาก จีน ฮ่องกงและเกาหลีใต้ โดยการซื้อของจีนมีมูลค่ารวม 278.3 พันล้านเยน โดย 1 ใน 3 เป็นอาหารทะเล
โดยฮ่องกง เผยว่า หากมีการปล่อยจริง ๆ ในท้ายที่สุด ฮ่องกงก็มีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมอาหารทะเลที่มาจากพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงจากการปล่อยน้ำเสียดังกล่าว
ส่วนเกาหลีใต้เอง ประชาชนก็ออกมาเดินประท้วง ไม่เห็นด้วยกับการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก หวั่นกระทบการนำเข้าอาหารทะเลที่อาจมีสารอันตรายและส่งผลกระทบต่อชีวิตของสัตว์น้ำเป็นวงกว้าง
อย่างไรก็ตาม แผนการปล่อยน้ำยังคงดำเนินต่อไป โดยน้ำชุดแรกจะเริ่มปล่อยในวันพฤหัสบดีที่ 24 ส.ค. นี้จะมีปริมาณ 7,800 ลูกบาศก์เมตรภายใน 17 วัน
ไต้หวันเครียด มีคนแอบปล่อยปลาชะโดไทยจนแพร่พันธุ์ ทำปลาท้องถิ่นสูญพันธุ์
เผยสถานการณ์ทะเลไทยปี 65 ดีขึ้น แม้ยังเผชิญปัญหามลพิษ สัตว์ทะเลเกยตื้น
โดยมวลน้ำดังกล่าวจะมีไอโซโทปประมาณ 190 เบคเคอเรลของทริเทียมต่อลิตร (becquerels of tritium per litre) หรือหน่วยของกัมมันตภาพรังสี ซึ่งต่ำกว่าขีดจำกัดการบริโภคขององค์การอนามัยโลกกำหนดที่ 10,000 เบคเคอเรลต่อลิตร ตามการชี้แจงของเทปโก
รัฐบาลเผยว่า รัฐฯอนุมัติการปล่อยน้ำปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีจากโรงงานฟุกุชิมะ เนื่องจากถามความเห็นของประชาชนแล้ว และมีเพียงบางส่วนเท่านั้นที่คัดค้าน
จากการจัดทำแบบสำรวจโดยสถานีโทรทัศน์ FNN ของญี่ปุ่นในช่วงสุดสัปดาห์เผยว่า ประมาณ 56% ของผู้ตอบแบบสอบถามสนับสนุนให้ปล่อยและอีก 37% คัดค้านการปล่อย
แต่แม้ว่าผู้คัดค้านจะมีเปอร์เซ็นที่น้อยกว่า แต่ความกังวลนี้ยังคงมีผลต่อประเทศคู่ค้าระหว่างประเทศ เพราะหากญี่ปุ่นปล่อยจริง จีนจะสั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลจาก 10 จังหวัดในญี่ปุ่น รวมถึงฟุกุชิมะและโตเกียวด้วย
ญี่ปุ่นกล่าวว่าน้ำจะถูกกรองเพื่อกำจัดธาตุกัมมันตภาพรังสีส่วนใหญ่ ยกเว้นทริเทียม ซึ่งเป็นไอโซโทปของไฮโดรเจนที่แยกออกจากน้ำได้ยาก น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วจะถูกเจือจางให้ต่ำกว่าระดับไอโซโทปที่ได้รับการอนุมัติในระดับสากลก่อนที่จะถูกปล่อยออกสู่มหาสมุทรแปซิฟิก
เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นกล่าวว่าผลการทดสอบน้ำทะเลครั้งแรกหลังการปล่อยออกอาจจะพร้อมใช้ในช่วงต้นเดือนกันยายน ญี่ปุ่นจะทดสอบปลาในน่านน้ำใกล้โรงงานด้วย และเผยแพร่ผลการทดสอบบนเว็บไซต์ของกระทรวงเกษตรต่อไป
ที่มาข้อมูล