กรณีน้ำปนเปื้อนนิวเคลียร์รั่วไหลจากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ ได้สร้างความกังวลแก่นานาชาติถึงความสามารถของบริษัทโตเกียว อิเล็กทริก พาวเวอร์ คอมปานี หรือเทปโก (TEPCO) ตลอดจนการบังคับควบคุมที่มีประสิทธิภาพไม่เพียงพอของรัฐบาลญี่ปุ่น
รายงานข่าวที่บริษัทเทปโก (TEPCO) ออกมายืนยันการรั่วไหลของน้ำเสียปนเปื้อนนิวเคลียร์จากโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ฟุกุชิมะ ไดอิจิ อันเป็นผลมาจากท่อที่ใช้ลำเลียงน้ำเสียเกิดรอยแตก
วังเหวินปิน โฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เผยว่า ประชาคมระหว่างประเทศตั้งคำถามกับความชอบด้วยกฎหมายและความปลอดภัยของแผนการปล่อยน้ำเสียลงสู่มหาสมุทรของญี่ปุ่นมาอย่างยาวนาน โดยประชาชนในฟุกุชิมะได้ชี้ให้เห็นหลายครั้งว่าการจัดการของเทปโกนั้นมีปัญหาอย่างมาก นับตั้งแต่เกิดอุบัติเหตุกับโรงไฟฟ้านิวเคลียร์
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
ภาวะโลกร้อนเป็นตัวกระตุ้นทำให้เกิดแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิดมากขึ้น
วงปีต้นไม้ ใช้ศึกษาประวัติศาสตร์ภูมิอากาศในพื้นที่ วิเคราะห์น้ำ ความชื้น
"วาฬโลลิต้า" วาฬออร์กาที่ถูกจองจำกว่า 50 ปี ตายก่อนได้รับการปล่อยตัว
ประชาชนต่างกำลังตั้งข้อสงสัยว่าเทปโกมีความสามารถในจัดการน้ำเสียปนเปื้อนนิวเคลียร์เหล่านี้อย่างเหมาะสมได้หรือไม่? วังเหวินปิน ตั้งคำถามว่า “เทปโกจะสามารถรับมือกับน้ำเสียได้อย่างปลอดภัยและมีความรับผิดชอบตลอดกระบวนการได้หรือไม่? จะสามารถจัดการกับการปล่อยน้ำเสียยาวนาน 30 ปี โดยปราศจากข้อผิดพลาดและข้อบกพร่องได้หรือไม่? จะสามารถรับรองประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือระยะยาวของการดูแลโรงงานได้หรือไม่? จะสามารถเก็บตัวอย่างน้ำเสียและเฝ้าติดตามกิจกรรมต่างๆ ตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัดได้ไหม?” ซึ่งคำถามเหล่านี้เป็นสิ่งที่ประชาคมระหว่างประเทศต่างกำลังคลางแคลงใจ
ทั้งนี้วังย้ำว่าฝ่ายญี่ปุ่นควรใส่ใจต่อข้อกังวลอันชอบด้วยกฎหมายของประชาคมระหว่างประเทศและประชาชนในญี่ปุ่น หยุดผลักดันแผนการปล่อยน้ำเสียลงสู่มหาสมุทร ดำเนินการสื่อสารอย่างเต็มที่และจริงใจกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้าน กำจัดน้ำเสียปนเปื้อนนิวเคลียร์ด้วยความรับผิดชอบอย่างแท้จริง และยอมรับการกำกับดูแลจากประชาคมระหว่างประเทศอย่างเข้มงวด
ที่มา : xinhua thai