ปัญหามลพิษทางน้ำของไทย ยังต้องเร่งแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง โดย เฉพาะมลพิษทางน้ำ จากน้ำมัน และเคมีภัณฑ์ ล่าสุดบางจากฯ สนับสนุนกรมเจ้าท่า ฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการขจัดมลพิษทางน้ำ ครั้งแรกในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา
เพราะ…น้ำคือเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน และธุรกิจ รวมถึงการเกษตร ต้นไม้ ใบหญ้า ระบบนิเวศต่างก็ต้องการน้ำเพื่อให้ดำรงอยู่ได้ แต่…ปัจจุบันแม่น้ำลำคลองถูกปล่อยมลพิษ สารเคมี ขยะ ลงไปจำนวนมาก ทำให้น้ำเน่าเสีย และมีสารเคมีเจือปนอยู่จำนวนมาก จึงทำให้หลายฝ่ายต่างเร่งเข้ามาแก้ไขปัญหา ล่าสุดกรมเจ้าท่า กระทรวงคมนาคม และบางจากฯ ได้มีจัดการฝึกซ้อมแผนปฏิบัติการขจัดมลพิษทางน้ำ เนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์แห่งชาติ ครั้งที่ 12
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมควบคุมมลพิษ แนะผันน้ำ-บำบัดน้ำเสียในคลอง ก่อนปล่อยลงแม่น้ำท่าจีน
กรมควบคุมมลพิษ เร่งดูแลระบบบำบัดน้ำเสีย 200 แห่ง ให้ได้มาตรฐาน
แม็คโคร จับมือ กทม. ลด แยกขยะ พร้อมผลิตน้ำ EM ใช้บำบัดน้ำเสียในคูคลอง
โดยนายธรรมรัตน์ ประยูรสุข รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจโรงกลั่นและการค้าน้ำมัน ในฐานะที่เป็นสมัชชาสมาคมอนุรักษ์สภาพแวดล้อมของกลุ่มอุตสาหกรรมน้ำมัน หรือ IESG เปิดเผยว่า การซ้อมแผนปฏิบัติการขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์แห่งชาติ ครั้งที่ 12 นี้ เป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหลายหน่วยงานที่มีบทบาทในการขจัดคราบน้ำมัน ทั้งงานด้านการวางแผนงาน การดำเนินงาน การให้การสนับสนุนข้อมูลต่างๆ ซึ่งจะช่วยทำให้การดำเนินการแก้ไขปัญหารการรั่วไหลของน้ำมันเป็นไปด้วยความปลอดภัย รวดเร็ว และส่งผลกระทบที่มีต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อมให้น้อยที่สุด
การซ้อมแผนชาติฯ ครั้งนี้ นับเป็นครั้งแรกที่การฝึกซ้อมแผนฯ จัดขึ้นในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และบางจากฯ ร่วมสนับสนุนโดยเอื้อเฟื้อสถานที่ให้เป็นสถานที่ฝึกซ้อม พร้อมนำเรือศรีธารารักษ์ 8 เรือขจัดคราบน้ำมันของบางจากฯ ซึ่งประจำอยู่ที่ท่าเรือ บางจาก ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ดูแลสิ่งแวดล้อมและสร้างความเชื่อมั่นให้กับชุมชนในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาจนถึงปากร่องน้ำมานานกว่า 3 ปีแล้ว ร่วมในการซ้อมด้วย
“การซ้อมแผนฯ ถือเป็นการฝึกการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นการเสริมสร้างความพร้อม และเพิ่มศักยภาพการปฏิบัติงานด้านการขจัดมลพิษทางน้ำเนื่องจากน้ำมันและเคมีภัณฑ์ พร้อมช่วยควบคุมการแพร่กระจายของมลพิษได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ทางน้ำให้เกิดความสมดุลและยั่งยืนต่อไป”