ใครที่อยากรับรองคาร์บอนเครดิตได้ด้วยตัวเองฟังทางนี้ ล่าสุดมีการเปิดตัว พร้อมแจกฟรี ! คู่มือการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภาคเกษตร ฉบับประชาชน เพื่อให้ประชาชนสามารถขอรับรองคาร์บอนเครดิตในพื้นที่การเกษตรของตนเองได้ วันนี้ วันสุดท้าย
เพราะ… ปัญหาโลกร้อน คือเรื่องใหญ่ที่ไทยต้องเร่งลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก และสร้างคาร์บอนเครดิตจากแหล่งต่างๆ ให้มากขึ้น หลายหน่วยงานจึงเดินหน้าในเรื่องนี้กันอย่างเข้มข้น ล่าสุด “กรมวิชาการเกษตร”จัดงานยิ่งใหญ่ สถาปนาครบรอบ 50 ปี ได้จัดทำโครงการเผยแพร่ผลงานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรม ผ่านนิทรรศการ “5 ทศวรรษแห่งการพัฒนาวิชาการเกษตรไทย และ การก้าวไปในทศวรรษที่ 6” ขึ้นเพื่อถ่ายทอดเรื่องราวความเป็นมาของกรมวิชาการเกษตร และมีส่วนจัดแสดงผลงานวิจัยค้นคว้าที่ประสบความสำเร็จเพื่อถ่ายทอดแนวคิดและประโยชน์ที่ได้รับจากงานวิจัย
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรมทะเลเผย โครงการปลูกป่าชายเลนคาร์บอนเครดิตคืบ พร้อมเปิดรอบใหม่สิงหานี้
TGO เร่งสร้างการรับรู้ให้ประชาชน ภาคธุรกิจ เรื่อง “คาร์บอนเครดิต T-VER”
นายกฯ ปลื้ม 4 จังหวัด นำร่องซื้อขายคาร์บอนเครดิต ครั้งแรกในประเทศ
ทั้งนี้งานดังกล่าวจัดที่วันที่ 19-20 สิงหาคม 2566 รวมระยะเวลา 2 วัน ตั้งแต่เวลา 10.30 – 19.30 น. ณ Helix Garden ชั้น 5 ศูนย์การค้าเอ็มควอเทียร์ ถ.สุขุมวิท กรุงเทพฯ นายระพีภัทร์ จันทร์ศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า อีกหนึ่งไฮไลท์สำคัญของงานนี้ คือ ได้เปิดตัว พร้อมแจกฟรี ! คู่มือการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ภาคเกษตร ฉบับประชาชน ซึ่งเป็นเอกสารคู่มือภาคประชาชน “โครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (THAILAND VOLUNTARY EMISSION REDUCTION PROGRAM : T-VER) เพื่อขอรับรองคาร์บอนเครดิตภาคเกษตร
โดยได้จัดทำขึ้นเพื่อให้เกษตรกรและประชาชนทั่วไป ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐาน T-VER ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อให้ประชาชนสามารถขอรับรองคาร์บอนเครดิตในพื้นที่การเกษตรของตนเองได้ทั้งในพืชไร่ และไม้ผลยืนต้นเพื่อสร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกร
จุดเด่นของในคู่มือนี้ คือจะอธิบายอย่างละเอียดที่มาที่ไป ระเบียบเงื่อนไข การเข้าร่วมโครงการ มีวิธีการอย่างไร เพื่อวิเคราะห์ปริมาณคาร์บอนสะสมในดินแล้วมีการคำนวณปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จนไปถึงการแนะนำให้เกษตรกร ยื่นขอรับรองคาร์บอนเครดิตกับองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) ต่อจากนั้นก็จะกระบวนการซื้อขายคาร์บอน สร้างรายได้เพิ่มให้แก่เกษตรกร นอกเหนือจากการขายผลผลิตเพียงอย่างเดียว