svasdssvasds

กฟผ.ชวนคนไทยรักษ์โลก ใช้ชีวิตติด ‘Neutral’ ลดการปล่อยคาร์บอน

กฟผ.ชวนคนไทยรักษ์โลก ใช้ชีวิตติด ‘Neutral’ ลดการปล่อยคาร์บอน

กฟผ.ชวนคนไทยร่วมรักษ์โลก ร่วมปรับวิธีคิด ปรับพฤติกรรม ใช้ชีวิตติด ‘Neutral’ หนุนแก้ปัญหาโลกรวน พร้อมดึงกูรูสายกรีนถกไอเดียเตรียมพร้อมมุ่งสู่เป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน ในวันสิ่งแวดล้อมโลก ลดการปล่อยคาร์บอนโดยเริ่มจากตนเอง

เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่เดินหน้ารักษ์โลกต่อเนื่อง รับเทรนด์โลกที่กำลังมาแรง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) จัดงานวันสิ่งแวดล้อม กฟผ. ประจำปี 2566 เนื่องในโอกาสวันสิ่งแวดล้อมโลก วันที่ 5 มิถุนายนของทุกปี ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29 พฤษภาคม – 2 มิถุนายน 2566 ภายใต้แนวคิด “ชีวิตติด Neutral” สร้างความรู้ความเข้าใจ และการตระหนักรู้ให้กับคนไทยในการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ร่วมขับเคลื่อนให้ประเทศบรรลุเป้าหมาย “ความเป็นกลางทางคาร์บอน” หรือ Carbon Neutrality ในปี 2050 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

นายบุญญนิตย์ วงศ์รักมิตร ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า กฟผ. ให้ความสำคัญกับการดูแลรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการรักษาความมั่นคงทางพลังงานมาโดยตลอด ไม่ว่าจะเป็นการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า การรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมให้ดีกว่ามาตรฐานที่กฎหมายกำหนด รวมถึงการส่งเสริมให้คนไทยตระหนักถึงปัญหาโลกรวน เพื่อปรับวิธีคิด และพฤติกรรมเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี

กฟผ.ชวนคนไทยรักษ์โลก ใช้ชีวิตติด ‘Neutral’ ลดการปล่อยคาร์บอน

นอกจากนี้กฟผ.ได้ตั้งเป้าหมายนำพาองค์กรและประเทศบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอน โดยได้ขับเคลื่อนองค์กรผ่านกลยุทธ์ ‘Triple S’ คือ Sources Transformation การเพิ่มสัดส่วนการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียน การปรับระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้ยืดหยุ่นและทันสมัยรองรับพลังงานหมุนเวียน ศึกษาเชื้อเพลิงและเทคโนโลยีที่ไม่ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพื่อนำมาใช้ในอนาคต Sink Co-Creation เพิ่มแหล่งดูดซับคาร์บอน ผ่านโครงการปลูกป่าล้านไร่ ในเวลา 10 ปี

โดยร่วมมือกับภาครัฐและองค์กรต่างๆรวมถึงการใช้เทคโนโลยีกักเก็บคาร์บอน และ Support Measures Mechanism ดำเนินโครงการสนับสนุนให้สังคม มีส่วนร่วมลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น โครงการฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 การสนับสนุนการใช้ยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศ พร้อมทั้งให้ความสำคัญกับการแก้ปัญหามลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของคนไทย สร้างต้นแบบหอฟอกอากาศ

สำหรับชุมชนด้วยเทคนิคพลาสมาเพื่อบรรเทาปัญหาฝุ่น PM2.5 พร้อมพัฒนาแอปพลิเคชัน Sensor for All ซึ่งเชื่อมโยงข้อมูลจากเซนเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศและปริมาณฝุ่นละอองที่ติดตั้งบริเวณโรงไฟฟ้า โรงงานขนาดใหญ่ สี่แยกไฟแดงที่มีการจราจรหนาแน่น สถานที่ท่องเที่ยวประจำจังหวัดกว่า 1,200 จุด ทั่วประเทศ เพื่อเฝ้าระวังให้ประชาชนสามารถวางแผนการใช้ชีวิตประจำวันให้เหมาะสมกับสภาพอากาศในช่วงที่ต้องเผชิญกับปัญหามลพิษทางอากาศได้สำหรับไฮไลต์ของงานวันสิ่งแวดล้อม กฟผ. ในปีนี้ คือ การจัดเสวนาในหัวข้อ “ปรับชีวิต พิชิตความเป็นกลางทางคาร์บอน” ซึ่งได้รับเกียรติจากกูรูด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ มาร่วมแชร์ประสบการณ์ ได้แก่

นายจิรวัฒน์ ระติสุนทร รองเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เผยว่า ประเทศไทยมีเป้าหมายบรรลุ Nationally Determined Contributions (NDC) ในปี 2030 เป้าหมาย Carbon Neutrality ในปี 2050 และเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ในปี 2065 โดยขับเคลื่อนผ่านแนวทาง 4 ด้าน คือ ด้านนโยบายและกฎหมาย ด้านการเงินและการลงทุน ด้านการพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และด้านการมีส่วนร่วม โดยพัฒนากลไกลตลาดคาร์บอนเครดิตเพื่อเป็นตัวเร่งในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายได้รวดเร็วขึ้น

นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) (อบก.) เผยว่า แนวคิดพื้นฐานในการบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจกสู่บรรลุเป้าหมาย คือ 1) ตรวจวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก 2) ลดการปล่อยและผลิตคาร์บอนเครดิต โดยพัฒนาเป็นโครงการลดก๊าซเรือนกระจกภาคสมัครใจตามมาตรฐานของประเทศไทย (Thailand Voluntary Emission Reduction Program: T-VER) ซึ่งจะได้ผลผลิตออกมาเป็นคาร์บอนเครดิต และ 3) นำคาร์บอนเครดิตไปขายในตลาดคาร์บอน พร้อมเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนภาคส่วนต่างๆ ให้บรรลุเป้าหมาย Carbon Neutrality

นอกจากนี้ภายในงานยังมีกิจกรรมรับมอบเครื่องหมาย Carbon Neutral Event จากนายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) เพื่อรับรองการจัดงานสิ่งแวดล้อม กฟผ. ว่ามีการชดเชยปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั้งหมดจนเป็นศูนย์ และเปิดตลาด “Living Neutral Fair” จำหน่ายสินค้าและอาหารรักษ์โลกที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม กว่า 30 ร้านค้า พร้อมกิจกรรม Workshop ประดิษฐ์สิ่งของจากวัสดุรีไซเคิล และนิทรรศการให้ความรู้เพื่อพิชิตความเป็นกลางทางคาร์บอน

 

related