พามาส่องโอกาส "SME" รุกตลาด "คาร์บอนเครดิต" ต้องทำยังไง หลังนโยบายทั้งไทยแ ละต่างประเทศมุ่งเป้าจัดการ Carbon Foot Print นอกจากมาดูโอกาสที่ SME ในอนาคต จะต้องคาร์บอนต้องเป็นศูนย์ ถึงส่งออกถึงจะง่าย เพราะหลายประเทศเริ่มคุมเข้มสินค้านำเข้าแล้ว
หลายประเทศคู่ค้าเริ่มหันมาใส่ใจเรื่อง Carbon Credit และ Carbon Foot Print มากขึ้น โดยให้ความกับสินค้าที่จะนำเข้ามาประเทศของตัวเองว่าจะต้อง Net Zero มีการปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยที่สุด เทรนด์นี้กำลังมาแรง และในอนาคตมาตรการจะเข้มข้นมากขึ้นเรื่อย ๆ โดยเฉพาะสหภาพยุโรป (EU) หนึ่งในภูมิภาคที่ให้ความสำคัญกับการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างจริงจัง ซึ่งในปี 2562 คณะกรรมาธิการยุโรป ได้ออกแผนการปฏิรูปสีเขียว
โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (GHGs) ลง 50-55% ภายในปี 2573 และในปี 2593 ต้องปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) เพื่อทำให้อุณหภูมิของโลกไม่เพิ่มขึ้นเกิน 5-2.0 องศาเซลเซียส ตามที่ตกลงกันไว้ในความตกลงปารีส (Paris Agreement) ซึ่งมาตรการ CBAM เป็น 1 ใน มาตรการสำคัญของ European Green Deal ที่สหภาพยุโรปจะนำมาปรับใช้
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
สูตรสำเร็จ ! นโยบายลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกไต้หวัน บทเรียนที่ไทยควรตามรอย
ข้าวรักษ์โลก คืออะไร ? ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก ลดต้นทุนระยะยาว ดีต่อใจ
เอเปครักษ์โลก ศูนย์สื่อมวลชนลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก เทียบปลูกต้นไม้ 831 ต้น
โดย CBAM คือมาตรการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นการกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาใน EU ในสินค้า 5 กลุ่มแรก ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการรั่วไหลของคาร์บอนสูง ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า ซีเมนต์ กระแสไฟฟ้า ปุ๋ย และอลูมิเนียม ซึ่งการปรับใช้มาตรการ CBAM กับสินค้าเข้าเกณฑ์การพิจารณาค่าคาร์บอนในระยะแรก อาจกระทบสินค้าส่งออกของไทยไป EU มูลค่าสูงถึง 28,573 ล้านบาท และในอนาคตอาจมีการปรับเพิ่มสินค้าที่จะถูกนำมาพิจารณาตามเกณฑ์ CBAM อีก ได้แก่ refinery products/ organic chemicals/ hydrogen/ ammonia และ plastic polymers ซึ่งรัฐสภายุโรปได้รับรองร่างกฎหมายนี้แล้วเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา โดยระบุถึงการลดระยะเวลาการบังคับใช้แบบเปลี่ยนผ่านลง จาก 3 ปี เป็น 2 ปี ทั้งนี้ต้องรอติดตามประกาศรายละเอียดอย่างเป็นทางการต่อไป
ทั้งนี้มาตรการ CBAM เสมือนเป็นแรงกดดันทางอ้อมให้ผู้ผลิตสินค้าในประเทศกำลังพัฒนาหันมาปรับปรุงกระบวนการผลิตให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นและลดการปล่อยคาร์บอนลง หรือหันมาลงทุนในพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เพื่อที่จะสามารถแข่งขันและเข้าสู่ตลาด EU ได้ แน่นอนว่าทั้งหมดที่กล่าวมา คือโจทย์ที่ยากขึ้นสำหรับธุรกิจ SMEs ที่จะส่งสินค้าให้บริษัทขนาดใหญ่ และส่งออกไปยุโรปอีดทอดหนึ่ง จะต้องผ่านการประเมินการปล่อยคาร์บอนก่อนถึงจะส่งออกได้
นายเกียรติชาย ไมตรีวงษ์ ผู้อำนวยการ องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน ) เปิดเผยในการสัมมนา "Carbon Credit and Carbon Foot Print :โอกาสหรืออุปสรรคของ SME" ว่า ในอนาคตการส่งออกจะต้องผ่านประเมินเรื่องของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อน ถึงจะเสียภาษีน้อยลง โดยการปรับราคาคาร์บอนก่อนข้ามพรมแดนของสหภาพยุโรป ซึ่งเป็นการกำหนดราคาสินค้านำเข้าบางประเภทเพื่อป้องกันการนำเข้าสินค้าที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกสูงเข้ามาใน EU ในสินค้า 5 กลุ่มแรก ที่มีความเสี่ยงสูงต่อการรั่วไหลของคาร์บอนสูง ได้แก่ เหล็กและเหล็กกล้า ซีเมนต์ กระแสไฟฟ้า ปุ๋ย และอลูมิเนียม
ดังนั้นมองว่าหาก SMEs รายใดทำได้ก็จะนับว่าเป็นโอกาสทางธุรกิจ และอยากให้ SMEs ไทยเร่งปรับตัว และให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ เพราะจะทำให้ไทยกลายเป็นพื้นที่ที่น่าลงทุนสูงขึ้น สำหรับนักลงทุนสายกรีน ที่สำคัญในอนาคตธนาคารที่จะปล่อยกู้ให้กับภาคธุรกิจจะมีการวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกก่อนให้กู้เงินมาลงทุน ที่สำคัญการส่งออกในรูปแบบ FTA จะทำได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ในขณะเดียวกันหากหาก SME สามารถสร้าง Carbon Credit ได้ ก็จะขายต่อต่างประเทศได้ หรือขายให้แก่บริษัทใหญ่ ที่ไม่สามารถจัดการได้ ตลาดคาร์บอนเครดิตจึงประกอบด้วยผู้ปล่อยที่ต้องการลด Carbon Foot Print
สำหรับทิศทางของประเทศไทยวันนี้ เมื่อมองจากสิ่งที่กำลังจะมาก็คือ จะมีการควบคุมการรายงาน Carbon Footprint มีการควบคุมให้สามารถเก็บอัตราการปล่อยเกินเหลือแลกกันได้ มีคาร์บอน TAX และปัจจุบันมีระบบ T-ver และ T-ver Premium เป็นระบบลงทะเบียน และจะมีตลาดการซื้อขายในอนาคตที่เรียกว่า FTIX
สำหรับ SME ที่เล็งเห็นถึงโอกาสก็สามารถยื่นเรื่องขอรับรองคาร์บอนเครดิต กับทางองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน ) ซึ่งมีระบบรองรับที่ได้มาตรฐานเทียบเท่าต่างประเทศ ซึ่งเรียกว่า T-ver และ T-ver Premium โดยจะต้องผ่านขั้นตอนต่างๆ ได้แก่