ปัจจุบันมีไมโครพลาสติกปนเปื้อนตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก และยังมีงานวิจัยเผยอีกว่ามนุษย์อาจบริโภคไมโครพลาสติกมากกว่า 2,000 ชิ้น หรือเทียบเท่าบัตรเครดิต 1 ใบเลยทีเดียว
มีงานวิจัยศึกษาเกี่ยวกับไมโครพลาสติกขององค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล WWF ร่วมกับ มหาวิทยาลัยนิวคาสเซิลในออสเตรเลีย ทำการวิจัยหาปริมาณพลาสติกจากแหล่งธรรมชาติสู่วงจรบริโภคของมนุษย์ พบว่า มนุษย์อาจบริโภคไมโครพลาสติกเข้าสู่ร่างกายกว่า 2,000 ชิ้น เทียบเท่ากับบัตรเครดิต 1 ใบ เลยทีเดียว
ไมโครพลาสติกมีขนาดเล็กมากซึ่งยากต่อการเก็บและยังย่อยสลายยากอีกด้วย ด้วยเหตุนี้เองไมโครพลาสติกจึงมีการแพร่กระจาย ปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะสะสมในดิน แหล่งน้ำจืด และในมหาสมุทร ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์ หากรับประทานเข้าไปและไมโครพลาสติกสะสมในร่างกายมากๆ อาจส่งผลต่อสุขภาพ
นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Princeton สาขาวิศวกรรม ค้นพบวิธีเปลี่ยนอาหารที่เรากินทุกวัน อย่าง ไข่ขาว มาเป็นวัสดุใหม่ที่มีประโยชน์ในกรองไมโครพลาสติกในน้ำทะเลได้ถึง 99% โดย Craig Arnold หัวหน้าทีมวิจัยได้ไอเดียนี้มาจากอาหารเช้าซึ่งมีไข่เป็นส่วนประกอบ ซึ่งโปรตีนในไข่สามารถใช้สร้างโครงสร้างของแผ่นกรองไมโครพลาสติกได้
เนื้อหาที่น่าสนใจ :
เปิดโมเดลฮับ "ศูนย์กระจายสินค้ารักษ์โลก" ประหยัดพลังงานทุกมิติ
ทำความรู้จัก ‘ร่างข้อบัญญัติพื้นที่สีเขียว’ สร้างอากาศดีๆ ให้ กทม.
น้ำแข็งขั้วโลกใต้หายไป 2.6 ล้าน ตร.กม. พื้นที่ครึ่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
โดยทีมนักวิจัยได้ไข่ขาวมา Freeze Drying แล้วนำไปอบในที่ปลอดออกซิเจนที่อุณหภูมิ 900 องศาเซลเซียส หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนโครงสร้างโปรตีนในไข่ขาวจะกลายเป็นแผ่นคาร์บอนบางๆ ที่ใช้ในกรองไมโครพลาสติกออกจากน้ำ ซึ่งวัสดุจากไข่ขาวนี้เป็นวัสดุที่แข็งและเบาที่สุดในโลกหรือ Aerogel
หลังจากการทำทดสอบวัสดุที่ทำจากไข่ขาวในการกรองไม่โครพลาสติกในน้ำทะเลพบว่า วัสดุนี้สามารถกรองไมโครพลาสติกได้ 99% กรองเกลือได้ 98% ที่สำคัญวัสดุนี้ยังราคาถูกมาก ซึ่งจะมีการนำวัสดุจากไข่ขาวไปต่อยอดในการพัฒนาเครื่องกรองน้ำทะเลที่มีต้นทุนถูกลง
ที่มา : phys.org