svasdssvasds

แนวคิดสุดกรีน "โรงพยาบาลรักษ์โลก" เป็นไปได้ไหม จะทำได้อย่างไรบ้าง?

แนวคิดสุดกรีน "โรงพยาบาลรักษ์โลก" เป็นไปได้ไหม จะทำได้อย่างไรบ้าง?

พญ.จามรี เชื้อเพชระโสภณ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลเมดพาร์ค ได้เผยเกี่ยวกับโครงการและเทคโนโลยีต่างๆที่จะส่งเสริมให้โรงพยาบาลรักษ์โลกมากยิ่งขึ้น ในเวทีงาน Innovation Keeping The World

แนวคิดสุดกรีน \"โรงพยาบาลรักษ์โลก\" เป็นไปได้ไหม จะทำได้อย่างไรบ้าง? โรงพยาบาลกับการรักษ์โลกมีความจำเป็นอย่างมาก เพราะมีการศึกษาในปี 2019 ว่าถ้าคิดว่าโรงพยาบาลทั้งหมดในโลกเป็นประเทศหนึ่ง "โรงพยาบาลอยู่ในประเทศอันดับ 5 ที่ผลิตคาร์บอนฟุตปรินท์ทั่วโลก"

ปัจจุบัน โรงพยาบาล ปล่อยคาร์บอนของโรงงานผลิตไฟฟ้าจากถ่านหิน 514 แห่ง หรือร้อยละ 4.4 ของการปล่อยคาร์บอนทั้งหมดทั่วโลก ขยะทางการแพทย์ 15% เป็นขยะอันตราย , อุปกรณ์ที่ทำจากพลาสติกที่ใช้เพียงครั้งเดียวคิดเป็น 20% ของขยะทางการแพทย์ทั้งหมด ซึ่งอุปกรณ์การแพทย์เกิดขยะจากคุณภาพ โรงพยาบาลไม่สามารถลดคุณภาพอุปกรณ์ต่างๆในโรงพยาบาลได้

ขยะมีเพิ่มขึ้นที่เกิดจากสถานการณ์โควิด ไม่ว่าจะเป็นชุด PPE ที่ต้องใช้แล้วทิ้ง , ถุงมือยาง ซึ่งวงการสุขภาพทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับโลกเยอะ แต่แก้ปัญหานั้นๆน้อยมาก

 

 

 

 

 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง : 

แนวคิดสุดกรีน \"โรงพยาบาลรักษ์โลก\" เป็นไปได้ไหม จะทำได้อย่างไรบ้าง?

ปัจจุบันมีการพัฒนาถุงมือย่อยสลายได้ (Disposable Gloves) แต่ก็ราคายังสูงอยู่ , Syringe แบบเดิมๆที่ต้องใช้แล้วทิ้ง แต่นวัตกรรมที่สามารถทำให้ไซริงค์ใช้ซ้ำได้ แต่ยังรอการคิดค้นอยู่

แนวคิดสุดกรีน \"โรงพยาบาลรักษ์โลก\" เป็นไปได้ไหม จะทำได้อย่างไรบ้าง?

 

ขณะเดียวกันองค์กรอนามัยโลก ได้มีแผนงานยุทธศาสตร์ด้านสุขภาพและพลังงาน เพื่อเร่งพัฒนาการเข้าถึงพลังงานสะอาดและยั่งยืนสำหรับการคุ้มครองและบริการด้านสาธารณสุข ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ได้มีการสัมมนาจะมีการนำใช้ดิจิทัลเข้ามาช่วยในด้านสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

หันกลับมาที่ประเทศไทย กระทรวงสาธารณะสุขได้มีความสนใจเรื่องรักษ์โลกจากหน่วยงานสุขภาพประเทศไทย ซึ่งเป็นแรงผลักดันให้โรงพยาบาลหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากขึ้น

พญ.จามรี เชื้อเพชระโสภณ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร โรงพยาบาลเมดพาร์ค ได้เผยข้อมูลเกี่ยวกับโรงพยาบาลว่า MedPark รักษ์โลกอย่างไรบ้าง

แนวคิดสุดกรีน \"โรงพยาบาลรักษ์โลก\" เป็นไปได้ไหม จะทำได้อย่างไรบ้าง?

ก่อนจะเขียนแบบโรงพยาบาล MedPark สิ่งที่มีปัญหาที่สุดคือ Building และได้พัฒนาโรงพยาบาลเป็น "Green Building" ซึ่งอาคารโรงพยาบาลที่เผชิญแสงแดด ใช้กระจกนิรภัย ลดแสง ลดความร้อน เพื่อลดการใช้พลังงานภายในให้น้อยลง กระจกด้านสะท้อนต่ำ ไม่ปล่อยความร้อน หรือแสงสะท้อนไปรบกวนผู้อาศัยโดยรอบ

MedPark มีสวนเพื่อใช้จริงในการดูแลผู้ป่วย น้ำที่นำมาใช้รดน้ำต้นไม้คือน้ำบำบัดภายในโรงพยาบาล และยังมีการควบคุมอากาศภายในโรงพยาบาลเมดพาร์ค 

รวมถึง เทคโนโลยีทางการแพทย์ของเมดพาร์ค เช่น CT Scan ที่ประหยัดพลังงาน ลดรังสี มากกว่ารุ่นเดิมๆถึง 40% โรงพยาบาลมีการลดการเกิดของเสียจากการทำงานหลายขั้นตอน ด้วยกระบวนการ Automation เช่นการตรวจเลือด ทั้งลดเวลาและใช้เวลาส่งตรวจน้อยลงอีกด้วย

MedPark ยังมีแอปพลิเคชั่น เช่น การนัดหมายผ่านแอปพลิเคชั่น ลดการใช้กระดาษในขั้นตอนการทำงาน เช่น ระบบสั่งยาออนไลน์ ปรับกระบวนการต่างๆให้สั้นกระชับ รู้ผลเร็ว ดีขึ้นเร็ว กลับบ้านเร็ว ลดค่าใช้จ่ายและไม่เสียเวลา และส่งผลให้ช่วยลดขยะภายในโรงพยาบาลตามมาด้วย

เป้าหมายในอนาคตของโรงพยาบาลเมดพาร์ค ต้องการพัฒนาทางข้างหน้า เข้าร่วมโครงการ LEED Operation and maintenance และมีเป้าหมายด้าน Paperless , Digital Transformation

ปัจจุบัน Net Zero Carbon Healthcare มีแม่แบบเกิดขึ้นที่อังกฤษ และมีความเป็นไปได้ที่อนาคตจะมีโรงพยาบาลรักษ์โลกเกิดขึ้นได้ และนั่นจะทำให้โรงพยาบาลทั่วโลกหันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น

 

related