svasdssvasds

ปากีสถานและบาฮามาส ร่วมผลักดันข้อตกลง ยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

ปากีสถานและบาฮามาส ร่วมผลักดันข้อตกลง ยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

สองประเทศที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ตัดสินใจเข้าร่วมการผลักดันสนธิสัญญาเพื่อการเปลี่ยนผ่านจากถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซ โดยประเทศร่ำรวยที่ปล่อยมลพิษสูงจะต้องแสดงความรับผิดชอบ

นับเป็นสัญญาณที่ดี เมื่อปากีสถานและบาฮามาส ได้ก้าวเข้าร่วมกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ที่ได้รับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และกำลังแสวงหาตัวกลางในการบรรลุข้อตกลงระดับโลกเพื่อยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลอย่างเท่าเทียมกัน 

บาฮามาส เป็นประเทศลำดับที่ 15 แล้ว ที่ให้การรับรองสนธิสัญญาไม่แพร่ขยาย ซึ่งจะนำไปสู่การจัดทำแผนระดับโลก เพื่อยุติการขยายตัวของถ่านหิน น้ำมัน และก๊าซอย่างชัดเจนและยุติธรรม โดยประเทศร่ำรวยที่ปล่อยมลพิษสูงจะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อประเทศที่ได้รับผลกระทบ

โดยบาฮามาส ถือเป็นประเทศเกาะที่ต้องเผชิญวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงที่สุด เช่น ระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น พายุเฮอริเคนที่พัดถล่มบ่อยครั้งและรุนแรงขึ้น ทำให้ประเทศเกาะต่างๆ มีหนี้สินล้นพ้นตัว และขัดขวางความสามารถของรัฐบาลในการดูแลพลเมือง ในปี 2019 เกาะแห่งนี้ประสบกับภัยพิบัติทางสภาพอากาศที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์ อย่าง 'พายุเฮอริเคนโดเรียน' ซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมากเท่านั้น ทั้งยังทำให้เกาะสูญเสียรายได้และความเสียหายอย่างน้อย 3.4 พันล้านดอลลาร์อีกด้วย

ปากีสถานและบาฮามาส ร่วมผลักดันข้อตกลง ยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

ในขณะเดียวกัน ปากีสถานกลายเป็นประเทศแรกในเอเชียใต้ ที่มีส่วนร่วมอย่างเป็นทางการกับกลุ่มพันธมิตรเพื่อพัฒนาสนธิสัญญาสำหรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานที่ยุติธรรมอย่างแท้จริง โดยเชื่อมโยงกับการสนับสนุนทางการเงินและทางเทคนิคสำหรับประเทศกำลังพัฒนาและประเทศที่มีความเสี่ยงต่อวิกฤติสภาพภูมิอากาศ เพื่อให้แน่ใจว่าคนงานและชุมชนที่ต้องพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลจะไม่ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง

ที่ผ่านมาปากีสถานก็ต้องเผชิญกับผลกระทบจากสภาพอากาศที่เลวร้ายอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นเหตุการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่ที่ทำให้พื้นที่หนึ่งในสามของประเทศจมอยู่ใต้น้ำในปี 2022 ตลอดจนสภาพอากาศที่ร้อนจัด ภัยแล้ง ฝุ่นควันมลพิษ และภัยคุกคามจากการละลายของธารน้ำแข็งที่ค่อยรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ

ปากีสถานและบาฮามาส ร่วมผลักดันข้อตกลง ยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

อย่างไรก็ตาม การประชุมสุดยอดว่าด้วยสภาพอากาศของสหประชาชาติก็ยังไม่สามารถบรรลุข้อตกลงหรือแผนที่เป็นรูปธรรมในการยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลได้ แม้จะมีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ที่บ่งชี้ชัดเจนว่า เชื้อเพลิงฟอสซิลคือปัจจัยสำคัญที่ก่อให้เกิดหายนะด้านสภาพอากาศ และทำให้ปี 2024 เป็นปีที่ร้อนที่สุดเท่าที่มีการบันทึกไว้ แต่การเจรจาเรื่องสภาพอากาศของสหประชาชาติในบากู, Cop29, การประชุมสุดยอดด้านความหลากหลายทางชีวภาพของสหประชาชาติในกาลี, การประชุมสุดยอดเรื่องภัยแล้งของสหประชาชาติในริยาด และการเจรจาสนธิสัญญาพลาสติกในบาซูล้วนจบลงด้วยความล้มเหลว

ปากีสถานและบาฮามาส ร่วมผลักดันข้อตกลง ยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล