SHORT CUT
ล่าสุดของ US News & World Report โดยครองอันดับ 1 จากทั้งหมด 89 ประเทศ แซงหน้าเยอรมนี แคนาดา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สวีเดน เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์
พามาดูความยิ่งใหญ่ของประเทศที่ร่ำรวยอย่าง ‘ดูไบ’ ที่กำลังจะสร้างศูนย์กลางเศรษฐกิจบนทะเลทรายมูลค่า 1 พันล้านล้านบาท แถมยังไม่ง้อพึ่งพา “น้ำมัน” อีกด้วย ตั้งเป้า 10 ปีเป็นศูนย์กลาง ‘การเงิน’
“ดูไบ” ในสายตาของหลายคนก็คงจะมองว่าเป็นประเทศร่ำรวยเป็นหนึ่งของโลก “ดูไบ” ใน 7 รัฐของประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) ปัจจุบันได้กลายเป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจที่สำคัญระดับโลก ด้วยตึกระฟ้าสูงเสียดฟ้า อาคารหรูหรา และโครงสร้างพื้นฐานที่ทันสมัย แถมยังได้ตั้งเป้าให้เมืองกลายเป็นศูนย์กลางระดับโลกทั้งด้านการลงทุน การค้า เทคโนโลยีและการเงิน
พร้อมกันนี้ดูไบยังเดินหน้าเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่เริ่มต้นขึ้นเมื่อดูไบ ตัดสินใจที่จะพัฒนาเศรษฐกิจให้หลุดพ้นจากการพึ่งพา “อุตสาหกรรมน้ำมัน” เพียงอย่างเดียว พร้อมกับเปลี่ยนแปลงภาพลักษณ์ของภูมิภาคที่ถูกมองว่าเต็มไปด้วยความขัดแย้งไปสู่เมืองที่ให้ความสำคัญกับการลงทุนในภาคบริการ การท่องเที่ยว และการค้า
เริ่มจากการจุดพลุสร้างวิวัฒนาการจากท่าเรือ “เจเบล อาลี” (Jebel Ali) สู่ท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดและพลุกพล่านที่สุดในตะวันออกกลาง จนหลายคนลืมไปว่า “ดูไบ” เป็นเมืองที่เพิ่งสร้างขึ้นได้ไม่นาน เมื่อหลายสิบปีก่อนในสายตาชาวโลกดูไบเป็นเพียงเมืองเล็กๆ ที่ตั้งอยู่ริมทะเลทราย แต่ตอนนี้กลายเป็นเมืองที่ถูกจับต้องในเวทีโลก สำหรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ GDP ของดูไบในไตรมาส 1 ปี 2567 เพิ่มขึ้น 3.2% มีมูลค่า 1.1 แสนล้านดีแรห์มสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ หรือราว 1 พันล้านล้านบาท
“จิฮาด อาซูร์” ผู้อำนวยการแผนกตะวันออกกลางและเอเชียกลางของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ยืนยันว่าการเติบโตทางเศรษฐกิจของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์มีแนวโน้มที่จะนำหน้าประเทศสมาชิกในอ่าวอาหรับ (GCC) ในปี 2568 โดยได้รับการขับเคลื่อนเป็นหลักจากภาคส่วนที่ไม่ใช่ “น้ำมัน” สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลก จากการจัดอันดับล่าสุดของ US News & World Report โดยครองอันดับ 1 จากทั้งหมด 89 ประเทศ แซงหน้าเยอรมนี แคนาดา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สวีเดน เดนมาร์ก เนเธอร์แลนด์
นอกจากนี้ดูไบยังครองอันดับ 20 เมืองที่ร่ำรวยที่สุดในโลก ตามรายงานล่าสุดของเฮนลี่ย์ แอนด์ พาร์ทเนอร์ส (Henley & Partners) โดยมีจำนวนเศรษฐีมากกว่ามีทรัพย์สินสุทธิมากกว่า 100 ล้านดอลลาร์ถึง 68,000 คน และเศรษฐีระดับพันล้านดอลลาร์ถึง 15 คน บุคคลที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิสูงในดูไบพุ่งสูงขึ้น 18% ในช่วงครึ่งปีแรก ของปี 2565 และทั้งปีสามารถดึงดูดคนกลุ่มนี้ได้มากถึง 3,500 คน ซึ่งคาดว่าคนกลุ่มคนเหล่านี้เลือกที่จะย้ายถิ่นฐานและตั้งรกรากในดูไบมากขึ้นเรื่อยๆ
อย่างไรก็ตามหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ดึงดูดนักลงทุนและผู้ที่มีฐานะร่ำรวยคือ “นโยบายภาษี” ที่เอื้ออำนวย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่มีภาษีรายได้ส่วนบุคคล ทำให้ผู้ที่มีรายได้สูงสามารถเก็บเงินได้มากขึ้นนอกจากนี้ดูไบยังมี สภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เป็นมิตร โดยมีกฎระเบียบที่ผ่อนปรน กรอบกฎหมายที่แข็งแกร่ง และระบบราชการที่โปร่งใสและมีประสิทธิภาพ ทำให้การเริ่มต้นและดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างราบรื่นและง่ายดาย
ด้วยการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วของจำนวนผู้ถือ “วีซ่าทองคำ” ซึ่งเป็นวีซ่าประเภทหนึ่งที่มอบให้กับนักลงทุนและผู้ที่มีทักษะสูง ส่งผลให้เกิดกำลังซื้อมหาศาลในตลาด ทำให้ภาคการค้าส่งและค้าปลีกกลายเป็นอุตสาหกรรมหลักที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของดูไบ และมีส่วนสำคัญในการ หนุน GDP ของเมืองสูงถึง 2.6 หมื่นล้านเดอร์แฮม หรือราว 2.4 แสนล้านบาทในช่วงครึ่งแรกของปี 2567
สำหรับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อดึงดูดการลงทุนของดูไบทั้งหมด อยู่ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ “Dubai Economic Agenda D33” ของ “ชีคโมฮัมเหม็ด บิน ราชิด อัล มักตูม” รองประธานาธิบดี และนายกรัฐมนตรีของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (UAE) และเจ้าผู้ครองนครดูไบ เมื่อม.ค. 66 ที่ผ่านมา มีเป้าหมายเพิ่มเศรษฐกิจของเมืองเป็น 2 เท่าภายในปี 2573 และแผนเศรษฐกิจ 10 ปี มูลค่า 8.7 ล้านล้านดอลลาร์ หรือราว 296 ล้านล้านบาท โดยตั้งเป้าจะเป็นศูนย์กลางทางการเงินของโลก
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ดูไบ แข่งขันชุดบินได้ เจ็ตสูท 'Iron Man' ครั้งแรกของโลก ด้วยความเร็วเท่ารถ!
ดูไบเผยโฉม Vertiport สถานีจอดแท็กซี่บินได้ใกล้สนามบิน เที่ยวสะดวกไร้มลพิษ
ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ