svasdssvasds

รู้หรือไม่? ทั่วโลกใช้ ‘เครื่องปรับอากาศ’ เพิ่ม ดันความต้องการพลังงานสูง

รู้หรือไม่? ทั่วโลกใช้ ‘เครื่องปรับอากาศ’ เพิ่ม ดันความต้องการพลังงานสูง

เพราะ..โลกร้อนรึเปล่า? ทำให้ทั่วโลกใช้ “แอร์” พุ่ง สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) เผย ดันความต้องการพลังงานสูง 280%

SHORT CUT

  • ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อโลกของเราร้อนขึ้นทุกวันจึงทำให้มนุษย์อย่างเราๆต้องหนีร้อนไปพึ่งเย็น
  • หนึ่งในวิธียอดฮิตคือ การไปตากแอร์ฉ่ำๆ เรื่องนี้จึงทำให้ทั่วโลกมีการใช้“แอร์” สูงขึ้น ส่งผลให้ยอดการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น
  • IEA ระบุว่า ภายในปี 2030 เครื่องปรับอากาศทั่วโลกจะต้องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 697 เทระวัตต์ชั่วโมง ซึ่งมากกว่าความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ถึงสามเท่า

เพราะ..โลกร้อนรึเปล่า? ทำให้ทั่วโลกใช้ “แอร์” พุ่ง สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) เผย ดันความต้องการพลังงานสูง 280%

ต้องยอมรับว่าโลกของเราร้อนขึ้นทุกวันจึงทำให้มนุษย์อย่างเราๆต้องหนีร้อนไปพึ่งเย็น หนึ่งในวิธียอดฮิตคือ การไปตากแอร์ฉ่ำๆ เรื่องนี้จึงทำให้ทั่วโลกมีการใช้“แอร์” สูงขึ้น ส่งผลให้ยอดการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเช่นกัน สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่า ภายในปี 2030 เครื่องปรับอากาศทั่วโลกจะต้องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 697 เทระวัตต์ชั่วโมง ซึ่งมากกว่าความต้องการไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นจากศูนย์ข้อมูลคอมพิวเตอร์ถึงสามเท่า ในขณะเดียวกันยานยนต์ไฟฟ้าจะต้องใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น 854 เทระวัตต์ชั่วโมง

นักวิจัย เผยอีกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้นในโลกกำลังพัฒนาและอุณหภูมิที่สูงขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ปริมาณไฟฟ้าที่ใช้กับเครื่องปรับอากาศภายในบ้านเพิ่มขึ้นมากกว่าการใช้ไฟฟ้าทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง และการใช้เครื่องปรับอากาศเพิ่มขึ้นอย่างมากจะส่งผลกระทบต่อโครงข่ายไฟฟ้าของโลก ในทศวรรษหน้าอย่างใหญ่หลวงและคาดเดาไม่ได้ ทั้งนี้สหรัฐและญี่ปุ่น 90% ของครัวเรือนมีเครื่องปรับอากาศ แต่ในไนจีเรียมี 5% เท่านั้นที่มีเครื่องปรับอากาศ ส่วนอินโดนีเซียมี 15% และอินเดียมีน้อยกว่า 20%

จากระดับรายได้เพิ่มขึ้น และจากผลกระทบที่เพิ่มขึ้นของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ผู้คนตัดสินใจซื้อเครื่องปรับอากาศ IEA ระบุอีกว่า การใช้พลังงานสำหรับเครื่องปรับอากาศในที่พักอาศัยคาดว่าจะเพิ่มขึ้น 280% ภายในปี 2050 หากสถานการณ์ยังคงเป็นเช่นนี้ต่อไป โดยจะคิดเป็น 14% ปริมาณพลังงานที่ใช้ภายในอาคาร ซึ่งเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันที่ต่ำกว่า 7%

อย่างไรก็ตาม หากแต่ละประเทศสามารถทำตามแผนที่ให้คำมั่นสัญญาที่เกี่ยวข้องกับสภาพอากาศไว้ได้อย่างครบถ้วน การใช้พลังงานของปรับอากาศยังคงเพิ่มขึ้นเกือบ 200% อยู่ดี เพราะกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาและเศรษฐกิจเกิดใหม่จะมีความต้องการเครื่องปรับอากาศเพิ่มมากขึ้นอย่างท่วมท้น ซึ่งความต้องการจะเพิ่มขึ้นอีกหากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศทำให้เกิดคลื่นความร้อนบ่อยขึ้น

ปัจจุบันความต้องการไฟฟ้าทั่วโลกเพิ่มขึ้นในอัตรา 1,000 TWh ต่อปี และคาดว่าในปี 2035 ความต้องการไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นอีก 6% เป็น 2,200 TWh ซึ่งเพิ่มขึ้นเร็วกว่าที่คาดไว้ ทำให้ประเทศต่าง ๆ ยากที่จะลดการปล่อยคาร์บอน บิโรลกล่าวว่าในตอนนี้หลายประเทศเร่งเปลี่ยนผ่านจากการใช้พลังงานเชื้อเพลิงฟอสซิลสู่พลังหมุนเวียนมากขึ้น โดยในปี 2024 มีการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนสูงขึ้น 20% เมื่อเทียบกับปี 2023 ซึ่งเกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนโดยเศรษฐกิจ ไม่ใช่โดยนโยบายด้านสภาพอากาศ

แม้จะจะผลิตพลังงานสะอาดได้เพิ่มขึ้น แต่ก็ยังเทียบไม่ได้เลยกับกำลังไฟฟ้าที่โลกผลิต โดยตลอดปี 2023 การผลิตพลังงานที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำทั่วโลกเพิ่มขึ้นเพียง 4,800 TWh จากปี 2010 แต่การผลิตไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเกือบ 8,400 TWh ดังนั้นไฟฟ้าที่เหลือจึงต้องผลิตจากเชื้อเพลิงฟอสซิล

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

related