svasdssvasds

บริษัทแคนาดา จ่อสร้าง 'โรงงานดักจับคาร์บอน' คาดช่วยกำจัด Co2 ได้ 3,000 ตัน/ปี

บริษัทแคนาดา จ่อสร้าง 'โรงงานดักจับคาร์บอน' คาดช่วยกำจัด Co2 ได้ 3,000 ตัน/ปี

แคนาดาลงทุนเทคโนโลยี Carbon Capture เตรียมตั้งโรงงานดักจับคาร์บอนเชิงพาณิชย์แห่งแรกของโลก คาดช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในแคนาดาได้ 110 ล้านเหรียญสหรัฐ

หากใครจำกันได้เมื่อเดือนพฤษภาคม 67 ที่ผ่านมา ไอซ์แลนด์เปิดตัวโรงงานดักจับคาร์บอนที่ใหญ่สุดในโลก ชื่อว่า “แมมมอธ” โดยสามารถดักจับคาร์บอนได้ 36,000 ตันต่อปี หรือประมาณ 10 เท่าของ Deep Sky

โรงงานดักจับคาร์บอน แมมอธ Credit Climeworks

รงงานดักจับคาร์บอนของ Deep Sky ถูกนิยามว่าเป็นศูนย์นวัตกรรมดักจับคาร์บอนในอากาศ ซึ่งจะถูกดำเนินการเชิงพาณิชย์เป็นแห่งแรกของโลก โดยจะตั้งอยู่ที่เมืองอินนิสเฟล ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนเหนือของรัฐอัลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา บนพื้นที่ 5 เอเคอร์ ใช้งบประมาณก่อสร้างราว 50 ล้านดอลลาร์

Deep Sky ระบุไว้บนเว็บไซต์บริษัทว่าโรงงานแห่งนี้สามารถดักจับคาร์บอนได้ 3,000 ตันต่อปี คำถามคือตัวเลขที่ว่านี้มันเรียกว่าน้อยหรือมาก เปรียบเทียบให้เห็นภาพง่าย ๆ คือสามารถชดเชยการปล่อยคาร์บอนของชาวแคนาดาประมาณ 227 คนเท่านั้น ทั้งนี้ ชาวแคนาดามีปริมาณการปล่อยคาร์บอนต่อหัวราว 2.181 ตันคาร์บอนต่อคน

ทั้งนี้ Deep Sky เปิดเผยว่าโรงงานดักจับคาร์บอนแห่งนี้จะช่วยกระตุ้นการลงทุนได้มากถึง 110 ล้านดอลลาร์สหรัฐในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยโรงงานแห่งนี้สามารถรองรับเทคโนโลยีดักจับทางอากาศโดยตรง (Direct Air Capture หรือ DAC) ได้ทั้งหมด 10 เทคโนโลยี บริษัทเปิดเผยว่าปัจจุบันเตรียมการติดตั้ง DAC แล้วทั้งหมด 8 เทคโนโลยี จึงสามารถรองรับเพิ่มเติมได้อีก 2 เทคโนโลยี นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับการขยายเพิ่มเติมในอนาคต 

โรงงานดักจับคาร์บอนเชิงพาณิชย์แหางแรกของโลก Credit Deep Sky

อย่างไรก็ตาม เป้าหมายสูงสุดของ Deep Sky คือการสร้าง ‘คาร์บอนเครดิตที่มีความสมบูรณ์สูง’ ซึ่งเป็นโครงการระดับโลกที่ถูกวิพากษ์วิจารณ์อยู่เรื่อยมา เนื่องจากมีรายงานว่าคาร์บอนเครดิตหลายประเภทมากกว่า 90% ถูกทิ้งเสียเปล่า

และอาจทำให้ปัญหาการปล่อยคาร์บอนจากอุตสาหกรรมเลวร้ายลง ตัวอย่างเช่นสื่อดัง The Guardian ได้วิพากษ์วิจารณ์ผู้รับรองคาร์บอนเครดิตระดับโลกอย่าง Verra

ทั้งนี้ Deep Sky เปิดเผยว่าโรงงานของตนนั้น จะมีขั้นตอนการตรวจสอบคาร์บอนเครดิตตั้งแต่ต้นจนจบด้วยการวัด การรายงานและการตรวจสอบแบบดิจิทัล (Measurement, Reporting and Verification หรือ MRV) และได้รับการตรวจสอบตามมาตรฐานคาร์บอนที่เข้มงวดที่สุด

 

ที่มา: Deep Sky Climate

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

related