ปี2566 นับเป็นปีที่เศรษฐกิจโลกถดถอย และหลายประเทศเจอวิกฤตพลังงาน จากผลกระทบสงครามรัสเซีย ยูเครน วิกฤตดังกล่าวทำให้ทำยอดใช้พลังงานทั่วโลก ปี’66 ลดฮวบ และคาดฟื้นตัวปีหน้า พลังงานลม-แสงอาทิตย์ มาแรง ส่วนไทยเดินหน้าพลังงานสะอาด
ปี2566 นับได้ว่าเป็นปีที่ทั่วโลกค่อนข้างวิกฤตพลังงาน เนื่องจากส่วนหนึ่งมาจากปัญหาสงครามระหว่างรัสเซีย และยูเครน รวมถึงภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจจะทำให้ความต้องการใช้พลังงานลดลง เพราะภาคธุรกิจมีคำสั่งซื้อน้อย ยอดการใช้พลังงานเลยลดลงตาม ล่าสุดสำนักงานพลังงานสากล (IEA) ได้รายงานว่า วิกฤตพลังงาน และภาวะเศรษฐกิจถดถอยอาจได้ทำให้ความต้องการใช้พลังงานโลกชะลอตัวลงในปี 2566 แต่ก็มีความเป็นไปได้ที่ความต้องการใช้พลังงานฟื้นตัวในปี 2567 หากมีการเพิ่มกำลังการผลิตพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
อุตสาหกรรมอีวี-พลังงานสะอาด แห่งลงทุนไทย ขอลงทุน 891 โครงการ เพิ่มขึ้น 18%
รู้หรือไม่? ไทยมีพลังงานสะอาดในประเทศ 20% คาด 10-20 ปี ทะลุ 50-60%
ทั้งนี้พบว่าอัตราการขยายตัวของการใช้พลังงานทั่วโลกชะลอตัวลงสู่ระดับต่ำกว่า 2% ในปี 2566 ลดลงจากระดับ 2.3% ในปี 2565 และยังลดลงจากค่าเฉลี่ย 5 ปีก่อนโควิด-19 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 2.4% ส่วนปี 2567 นั้น คาดว่าอัตราการขยายตัวของการใช้พลังงานทั่วโลกจะเพิ่มขึ้นเป็น 3.3% เนื่องจากแนวโน้มเศรษฐกิจดีขึ้น หากโฟกัสชาติมหาอำนาจอย่างสหรัฐ มีการคาดว่าความต้องการใช้จะลดลง 1.7% ในปี 2566 เพราะเศรษฐกิจชะลอตัว และจะฟื้นตัวในปี 2567 สู่ระดับ 2% ส่วนจีนคาดว่าความต้องการใช้จะเพิ่มขึ้น 5.3% ในปี 2566 และ 5.1% ในปี 2567 หลังจากเพิ่มขึ้น 3.7% นอกจากนี้ยังมีการคาดการณ์ว่าพลังงานหมุนเวียนจะมีส่วนในการขยายตัวของความการใช้พลังงานโดยรวมที่คาดไว้ในปีนี้และปีหน้า
นอกจากนี้มีรายงานจาก Rocky Mountain Institute (RMI) ระบุว่า โครงการพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์กำลังจะผลิตไฟฟ้ามากกว่าหนึ่งในสามของโลกภายในปี 2573 ซึ่งส่งสัญญาณว่าภาคพลังงานสามารถบรรลุการเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านสภาพอากาศโลก
สำหรับประเทศไทย กระทรวงพลังงาน เผยกรอบแผนพลังงานชาติ จะมีแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าหรือพีดีพี(ปี 2565-2580) เป็นแผนย่อยรวมอยู่ด้วย ซึ่งจะมีการบรรจุเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนราว 10,900 เมกะวัตต์ แยกเป็น การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ 6,000 เมกะวัตต์ แยกเป็นโซลาร์ฟาร์ม 3,000 เมกะวัตต์ และมีโซลาร์ลอยน้ำในเขื่อนของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) 2,700 เมกะวัตต์ โซลาร์รูฟท็อป 300 เมกะวัตต์ พลังงานลม 1,500 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลและก๊าซชีวภาพ รวม 800 เมกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าจากขยะ 600 เมกะวัตต์ แยกเป็นจากขยะชุมชน 400 เมกะวัตต์ และขยะอุตสากรรม 200 เมกะวัตต์