svasdssvasds

ส่องอนาคต! พลังงานแสงอาทิตย์ -พลังงานลม จากปัจจุบันพบใช้ผลิตไฟฟ้าเพียง 4 %

ส่องอนาคต! พลังงานแสงอาทิตย์ -พลังงานลม จากปัจจุบันพบใช้ผลิตไฟฟ้าเพียง 4 %

ทั่วโลกกำลังรณรงค์เรื่องรักษ์โลก และพลังงานสะอาด ไทยเราก็พยายามก้าวสู่พลังงานสะอาด โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ -พลังงานลม วันนี้จะพาส่องนาคตพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม จากปัจจุบันพบใช้ผลิตไฟฟ้าเพียง 4 %

ที่ผ่านมาปัญหาหนึ่งที่ทำให้ค่าไฟฟ้าบ้านเราแพง หรือค่าไฟขึ้นจนทำเอาหลายบ้านโอดครวญกันใหญ่ ปัจจัยสำคัญมากจากต้นทุนพลังงานที่สูงขึ้น ทั้งการนำเข้าเชื้อเพลิงจากต่างประเทศที่มีราคาสูง และการผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว หรือLNG จากอ่าวไทยที่มีปริมาณที่ลดลง ในขณะเดียวกันก่อนหน้านี้ไทยก็ใช้พลังงานฟอสซิล เช่น น้ำมัน น้ำมันดิบ ถ่านหิน และก๊าซธรรมชาติ ในการผลิตไฟฟ้าเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งปัจจุบันก็จะไม่เข้ากับเทรนด์รักษ์โลกที่ทั่วโลกกำลังทำกันอยู่

แต่…ปัจจุบันไทยได้หันมาใช้พลังงานคาร์บอนต่ำ เช่น พลังงานน้ำ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานความร้อนใต้พิภพ และพลังงานชีวมวล โดยใช้ในภาคอุตสาหกรรม คมนาคม การค้าและการบริการสาธารณะ การเกษตรและการป่าไม้  แม้ว่าแนวโน้มทิศทางจะไปในทิศทางพลังงานสะอาด แต่ก็มีหลายคนเชื่อว่ายังไงก็ต้องควบคุมไปกับพลังงานฟอสซิลอยู่ดี

ข่าวที่เกี่ยวข้อง

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) เปิดเผยข้อมูล ที่ผ่านมาไทยใช้พลังงานลม พลังงานแสงอาทิตย์มาผลิตไฟฟ้าแค่ 4 % ซึ่งมองดีๆ และเทียบกับประเทศอื่นๆก็ยังถือว่าเป็นปริมาณที่น้อยอยู่ ทั้งนี้ไทยมีแผนระยะยาว 15-20 ปี ที่จัดทำโดยกระทรวงพลังงาน (พน.) เพื่อวางแผนการใช้พลังงานอย่างเป็นระบบและใช้พลังงานหมุนเวียนมาร่วมผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการใช้พลังงาน

ในขณะที่ทั่วโลกกำลังหันเข้าหาพลังงานหมุนเวียน แต่แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2561-2580 (PDP2018) ยังคงมีการขยายสัดส่วนของพลังงานฟอสซิลเพิ่มขึ้น แต่ยังคงสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนไว้เท่าเดิมเมื่อเทียบกับแผนปริมาณการผลิตไฟฟ้าตามประเภทเชื้อเพลิงใน PDP2015

 

ทั้งนี้หากมองให้เห็นโอกาสของพลังงานลม และพลังงานแสงอาทิตย์ จาก 6 ความเชื่อ (Myths) และข้อเท็จจริง (Reality) เกี่ยวกับการนำพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวนเข้ามาในระบบไฟฟ้า ดังนี้

  • ความผันผวน

โดยคนทั่วไปมักเชื่อว่า ลมและแสงอาทิตย์เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จัดการยากในชีวิตประจำวันเพราะคนเราคุ้นเคยกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศอย่างรวดเร็ว เช่น อยู่ดีๆ ลมก็หยุดพัด หรือมีเมฆมาบังแสงอาทิตย์จึงไม่แปลกที่คิดว่าพลังงานหมุนเวียนผันผวนแต่ความผันผวนนี้จัดการไม่ได้ จริงหรือ

  • ต้นทุน

คนมักเชื่อว่าเพิ่มพลังงานหมุนเวียนจะยิ่งเพิ่มต้นทุนของโรงไฟฟ้า การมีพลังงานหมุนเวียนเข้ามา จะทำให้โรงไฟฟ้าระบบเดิมต้องปรับระดับการผลิตไฟฟ้าขึ้น-ลงบ่อยยิ่งขึ้นซึ่งส่งผลกระทบต่อโรงไฟฟ้าในทางเทคนิค และทำให้ต้นทุนของระบบไฟฟ้าโดยรวมเพิ่มขึ้น

  • การสำรองไฟฟ้า

คนมักเชื่อว่าพลังงานหมุนเวียนมีความไม่แน่นอนสูงต้องสำรองกำลังไฟฟ้าไว้ในสัดส่วน 1 ต่อ 1การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อน  (conventional power plant) เพื่อเป็นแหล่งผลิตไฟฟ้าสำรอง (backup generation) ให้กับไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานลมและแสงอาทิตย์ เป็นต้นทุนที่สูงมาก แต่พลังงานหมุนเวียนจำเป็นต้องสำรองไฟไว้มาก

  • การเชื่อมต่อโครงข่าย

คนมักเชื่อว่าต้นทุนการเชื่อมต่อโครงข่ายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนแพงเกินไปแหล่งพลังงานลมและแสงอาทิตย์มักตั้งอยู่ห่างไกลจากสถานที่มีการใช้ไฟฟ้าทำให้การเชื่อมต่อกับระบบไฟฟ้านั้นมีต้นทุนที่แพง

  • ระบบกักเก็บพลังงาน

คนมักเชื่อว่าระบบกักเก็บพลังงาน (Energy storage) เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการรองรับความผันผวน

  • ระบบกักเก็บพลังงาน

คนมักเชื่อว่าระบบกักเก็บพลังงาน (Energy storage) เป็นเครื่องมือที่จำเป็นในการรองรับความผันผวน ระบบกักเก็บพลังงานเท่านั้นที่สามารถช่วยรองรับความผันผวนของพลังงานลมและแสงอาทิตย์ได้

 

related