ผลพวงจากโรงไฟฟ้าเชอร์โนบิลระเบิด เกิดข้อถกเถียงมานานหลายปี ในที่สุด ตอนนี้เยอรมนีได้สั่งปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ทุกแห่งแล้วทั่วประเทศ เพื่อไม่ให้เกิดโศกนาฏกรรมซ้ำซ้อน
เกิดข้อถกเถียงกันมานานแล้วสำหรับเยอรมนี เรื่องพลังงานนิวเคลียร์ ที่ในอดีตเป็นพลังงานหลักและความรุ่งเรืองของเยอรมนี แต่ในปัจจุบัน เมื่อพรรคการเมืองแบ่งฝ่าย รวมถึงปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับการปล่อยมลพิษสู่ชั้นบรรยากาศทำให้ข้อถกเถียงนี้กลับมารุนแรงขึ้น
โดยเมื่อวันที่ 15 เมษายน 2023 ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ประกาศการยุติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งสุดท้ายอย่างเป็นทางการแล้ว และข้อตกลงเป็นอันเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จึงทำให้ตอนนี้เยอรมนีปราศจากพลังงานนิวเคลียร์อีกต่อไป และนี่ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ของเยอรมนี
เดิมทีโรงไฟฟ้านิวเคลียร์มีแผนจะปิดตัวลงเมื่อสิ้นปี 2022 แต่ด้วยการเดินหน้าท่ามกลางวิกฤตพลังงานจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน จึงเกรงว่าประชาชนจะได้รับความลำบากเรื่องราคาและการขาดแคลนพลังงานไว้ใช้ในฤดูหนาว
รัฐบาลจึงตัดสินใจเปิดโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ให้เดินเครื่องต่ออีก 3 แห่งได้แก่ Isar 2 ในบาวาเรีย, Neckarwestheim ทางเหนือของ Stuttgart และ Emsland ใน Lower Saxony เพื่อให้ประชาชนมีพลังงานเพียงพอสำหรับฤดูหนาวในปีที่ผ่านมา
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
โรงไฟฟ้าประชารัฐฯบันนังสตา เชื้อเพลิงชีวมวล-ขยะ จุดพลุจ่ายไฟเชิงพาณิชย์
อินโดฯเริ่มแล้ว! ทำตามสัญญา เตรียมสั่งยุติโรงไฟฟ้าถ่านหิน ลดโลกร้อน
ข้อพิพาทการปิดโรงงาน
ฝ่านค้าน
ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยให้ความเห็นว่า การปิดโรงงานทั้ง 3 แห่งท่ามกลางราคาพลังงานที่สูง อาจทำให้เกิดการขาดแคลนพลังงาน รัฐไม่คำนึงถึงบทบาทของพลังงานนิวเคลียร์ เนื่องจากเยอรมนีลดปริมาณการผลิตไฟฟ้าลง ทำให้สัดส่วนไฟฟ้าจากพลังงานถ่านหินเพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย
นอกจากนี้ฝ่านค้านยังให้เรียกว่าที่ปิดโรงงานนิวเคลียร์ด้วยว่า “วันสีดำสำหรับการปกป้องสภาพอากาศ” เนื่องจากการปิดโรงงานนิวเคลียร์ทำให้การใช้พลังงานถ่านหินสูงขึ้น พวกเขายังมั่นใจว่าโรงงานนิวเคลียร์ทั้ง 3 แห่งนั้น เป็นโรงงานที่ทันสมัยและปลอดภัยที่สุดในโลกแล้ว แต่การปิดนี้จะส่งผลกระทบครั้งใหญ่ด้านเศรษฐกิจและระบบนิเวศ
ฝ่ายสนับสนุน
ฝ่ายสนับสนุนมองว่า ข้อพิพาทนี้มันเริ่มรุนแรงยิ่งขึ้นเมื่อเกิดเหตุการณ์โรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิด นั่นจึงเป็นเหตุที่เราควรปิดมันได้แล้ว และด้วยเหตุผลนี้ก็เลยทำให้เยอรมนีสร้างโรงงานนิวเคลียร์ใหม่ไม่แล้วเสร็จสักทีตั้งปต่ปี 1989
และในความเป็นจริง ตั้งแต่ปี 1998 รัฐบาลที่นำโดยพรรคโซเชียลเดโมแครตและพรรคกรีนส์ตกลงกันแล้วว่าจะเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์เป็นระยะเวลา 20 ปี ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวกลายมาเป็นข้อกฎหมายในปี 2002 โดยห้ามก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์แห่งใหม่เพิ่มอีกและจำกัดอายุการใช้งานของโรงงานไฟฟ้าที่มีอยู่
ย้อนรอยโรงไฟฟ้านิวเคลียร์เชอร์โนบิลระเบิดในยูเครน ผลกระทบจากนิวเคลียร์
เปิด 5 เทรนด์พลังงานสะอาดปี’66 น่าจับตา พลังงานลม-แสงอาทิตย์ มาแรง !
ผู้เชี่ยวชาญด้านสภาพอากาศและพลังงานก็ออกมาแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมว่า หลังเกิดเหตุการณ์ที่เชอร์โนบิล เราไม่อาจรู้ได้เลยว่าหายนะจะเกิดขึ้นอีกเมื่อไหร่ ภัยธรรมชาติกำลังเลวร้ายขึ้นไม่ว่าจะพายุ แผ่นดินไหว คลื่นความร้อน เราไม่รู้ว่าภัยเหล่านี้จะกระตุ้นให้โรงงานไฟฟ้านิเวคลียร์เกิดอุบิตเหตุอะไรขึ้นอีกได้บ้าง
ความคิดเห็นจากประชาชน
ข้อถกเถียงนำไปสู่สิทธิพื้นฐานของประชาชนนั่นคือการฟังเสียงของสาธารณชนชาวเยอรมัน โดยสถานีโทรทัศน์ RTL และ NTV ได้ทำแบบสำรวจและพบว่า 2 ใน 3 ของประชากรคัดค้านการเลิกใช้พลังงานนิวเคลียร์ โดยให้เหตุผลว่า โรงงานที่เหลือควรเดินเครื่องต่อไปในช่วงนี้ เพราะกลัวเกิดวิกฤตพลังงาน
ซึ่งขัดกับแบบสอบถามที่จัดทำขึ้นเมื่อปี 2019 ที่พบว่าชาวเยอรมันร้อยละ 60 ออกมาสนับสนุนการยกเลิกพลังงานนิวเคลียร์
ผลที่คาดหวังจากการยกเลิกพลังงานนิวเคลียร์
ผู้เชี่ยวชาญด้านพลังงานกล่าวว่า พลังงานนิวเคลียร์ในปัจจุบันหากมีการย้ายจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก และในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา พลังงานนิวเคลียร์เป็นเพียงเศษเสี้ยวเล็ก ๆ ของโครงข่ายไฟฟ้าของเยอรมนี หากอยากเปิดก็ต้องวางแผนใหม่หมด ทั้งความปลอดภัย การอัปเกรด การลงทุน ซึ่งมันไม่คุ้มเอาเสียเลย
ยิ่งไปกว่า เหตุผลที่ยกเลิกพลังงานนิวเคลียร์ ก็เพื่อเราจะได้หาทางในการลงทุนกับโครงสร้างพื้นฐานพลังงานหมุนเวียนให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่อการบรรลุเป้าหมายสภาพอากาศโลกด้วย นั่นหมายความว่า เราเปลี่ยนการลงทุนจากนิวเคลียร์ไปสู่พลังงานสะอาด จำพวกพลังงานแสงอาทิตย์หรือพลังงานลมแทนจะคุ้มกว่าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และในขณะเดียวกันเราก็ยกเลิกพลังงานถ่านหินและพลังงานนิวเคลียร์ที่เป็นพิษต่อโลกลงไปได้
ที่มาข้อมูล