อินโดนีเซีย สั่งรีไฟแนนซ์เพื่อปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินก่อนกำหนด เร่งลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ตามมาตรการกู้วิกฤตการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ
แน่นอนว่า กระแสรักษ์โลกกำลังเป็นที่พูดถึงในปัจจุบัน และเรื่องพลังงานก็เป็นส่วนสำคัญขนาดใหญ่ที่รัฐบาลกับภาคอุตสาหกรรมต้องร่วมมือกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากโรงงานให้ได้มากที่สุด เพื่อลดวิกฤตการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่กำลังทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น
แม้ว่าหลายประเทศกำลังมีแผนที่จะยุติโรงไฟฟ้าถ่านหิน อันเป็นพลังงานที่สร้างก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศมากกว่าพลังงานไหน ๆ แต่ก็ยังทำได้ยาก เนื่องจากที่ผ่านมา หลายประเทศพึ่งพาพลังงานถ่านหินเป็นหลักและวิกฤตต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น จึงทำให้การเปลี่ยนจากพลังงานถ่านหินสู่พลังงานหมุนเวียนไปได้ช้ามากขึ้น และเป็นโอกาสที่จะทำให้เหล่านักลงทุนสูญเสียรายได้จากพลังงานเหล่านี้ด้วย
แต่ตอนนี้เป็นข่าวดีสำหรับชาวอินโด เนื่องจาก ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชียและบริษัทเอกชนกำลังผนึกกำลัง เพื่อรีไฟแนนซ์และปลดระวางโรงไฟฟ้าถ่านหินก่อนกำหนดอย่างจริงจังแล้ว ซึ่งเป็นโครงการแรกภายใต้มาตรการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ที่หลายประเทศทั่วโลกกำลังมุ่งหน้าไป
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
5 แหล่งพลังงานหมุนเวียนที่ใช้ผลิตไฟฟ้า ทำได้แค่ไหน คุ้มหรือยัง ทำงานยังไง?
“วราวุธ” เตรียมโชว์ศักยภาพ ไทยลดก๊าซเรือนกระจก แก้โลกร้อนที่ COP27
ภาษีคาร์บอนคืออะไร ทำความรู้จักมาตรการสิ่งแวดล้อม ลดปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ก๊าซเรือนกระจกทั่วโลกพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว ช่วยลดโลกร้อนทันไหม
กระทรวงพลังงาน เผยแผนดันพลังงานสะอาด ผลิตไฟฟ้ากว่าหมื่นเมกะวัตต์
โรงไฟฟ้า Cirebon 1 ขนาด 660 เมกะวัตต์ ที่ตั้งอยู่ที่ชวาตะวันตกจะได้รับการรีไฟแนนซ์ด้วยข้อตกลงมูลค่า 250 – 300 ล้านดอลลาร์โดยมีเงื่อนไขว่าจะต้องหยุดให้บริการภายใน 10-15 ปี ก่อนสิ้นสุดอายุการใช้งานเดิม 40-50 ปี ภายใต้ข้อตกลง (MOU)
นางศรี มุลยานี อินทราวาตี รัฐมนตรีกระทรวงการคลังของชาวอินโดนีเซีย และผู้ให้กู้พหุภาคีในมะนิลา ได้ประกาศบันทึกความเข้าใจกับผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ Cirebon Electric Power ในบาหลีนอกรอบการประชุมสุดยอดผู้นำ G20 ในวันจันทร์ที่ 14 พ.ย. 2565
จากการประมวลผลประโยชน์จากการยุติโรงไฟฟ้า ADB ประมาณการว่าข้อตกลงนี้จะสามารถกำจัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้มากถึง 30 ล้านตันภายในระยะเวลา 15 ปี ซึ่งเทียบเท่ากับการกำจัดรถยนต์ 800,000 คันออกจากท้องถนนเลยทีเดียว
ด้านรายละเอียดข้อตกลงดังกล่าว เป็นข้อตกลงฉบับแรงภายใต้กลไกการเปลี่ยนผ่านพลังงาน (Energy Transition Mechanism หรือ ETM) ของ ADB เป็นแนวคิดริเริ่มที่จะผสานกองทุนการลงทุนจากภาคเอกชน การเงินสาธารณะ และการบริจาคเงินเพื่อการกุศล สำหรับการซื้อและรีไฟแนนซ์โรงไฟฟ้าถ่านหินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เพื่อปลดระวางก่อนกำหนดเนื่องจากภูมิภาคจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนมาใช้พลังงานหมุนเวียน
โครงการ ETM ได้รับการพัฒนาโดย ADB ประกอบการรับข้อมูลจากบริษัทเอกชน ได้แก่ Prudential (PRU.L), Citi (C.N) และ Black Rock (BLK.N) เพื่อกำจัดการปล่อยคาร์บอนในอนาคตหลายทศวรรษโดยการปรับเปลี่ยน เศรษฐศาสตร์ของการดำเนินงานโรงไฟฟ้าถ่านหิน
Ahmed M. Saeed รองประธาน ADB ประจำภูมิภาค ADB ให้สัมภาษณ์กับรอยเตอร์ว่า "ปัญหาของพลังงานถ่านหินในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถือเป็นปัญหาที่ใหญ่ที่สุดปัญหาเดียวสำหรับการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงาน และเป็นปัญหาที่เราต้องเร่งทำเพื่อโลกด้วยความทะเยอทะยาน และต้องทำให้เป็นจริงได้แล้ว”
ที่มาข้อมูล
https://www.reuters.com/business/cop/exclusive-indonesia-adb-launch-first-coal-power-plant-retirement-deal-2022-11-14/