เอาแล้วไง เมื่อเร็ว ๆ นี้ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ได้ออกมาเผยรายงานล่าสุด ระบุว่า ความเข้มข้นของก๊าซเรือนกระจกที่ล่องลอยในชั้นบรรยากาศโลกสูงสุดเป็นประวัติการณ์แล้ว
เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา WMO (World Meteorological Organization) หรือ องค์การอุตุนิยมวิทยาโลก ระบุในรายงานฉบับใหม่ ว่า มีคำเตือนเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศซึ่งมีท่าจะไม่ดีเสียแล้ว เพราะสถานีเครือข่าย Global Atmosphere Watch ของ WMO ที่สามารถวัดระดับคาร์บอนไดออกไซด์ ก๊าซมีเทนและค่าไนตรัสได้ พวกเขาพบว่า ระดับที่วัดได้นั้นสูงสุดอย่างที่ไม่เคยพบมาก่อน
เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง
ว่ายน้ำข้ามทะเลแดง เป็นครั้งแรกของโลก เป็นกระบอกเสียงภาวะโลกร้อน
นิวซีแลนด์ไร้หิมะให้เล่นสกีแล้ว จากภาวะโลกร้อน เกิดอะไรขึ้น?
ความเข้มข้นของคาร์บอนไดออกไซด์ในปี 2564 อยู่ที่ 415.7 ส่วนในล้านส่วน (ppm) มีเทนที่ 1908 ส่วนต่อพันล้าน (ppb) และไนตรัสออกไซด์ที่ 334.5 ppb ค่าเหล่านี้ประกอบขึ้นเป็น 149%, 262% และ 124% ของระดับก่อนอุตสาหกรรมตามลำดับ ก่อนที่กิจกรรมของมนุษย์จะเริ่มรบกวนสมดุลทางธรรมชาติของก๊าซเหล่านี้ในบรรยากาศ
ด้านศาสตราจารย์ Petteri Taalas เลขาธิการ WMO กล่าวว่า “แถลงการณ์เร่งด่วนของ WMO เรื่องก๊าซเรือนกระจกฉบับนี้ได้เน้นย้ำถึงความท้าทายอันยิ่งใหญ่อีกครั้ง ในการดำเนินการอย่างเร่งด่วนเพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและป้องกันไม่ให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้นในอนาคต ระดับที่บันทึกได้เหล่านี้ บ่งชี้ว่าที่ผ่านมาเรากำลังมุ่งหน้าไปผิดทิศ”
ในด้านของการจัดการและการแก้ไขปัญหา กลยุทธ์หลักคือการจัดการการปล่อยก๊าซมีเทน โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคส่วนของเชื้อเพลิงฟอสซิล ก๊าซมีเทนและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ควรเป็นก๊าซแรกที่ควรได้รับการบริหารจัดการ เพราะหากปล่อยไว้นานจะยิ่งทำให้การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและสภาพอากาศของโลกรุนแรงขึ้นและจะส่งผลกระทบต่อสภาพอากาศเป็นเวลาหลายพันปี ผ่านการสูญเสียน้ำแข็งขั้วโลก ภาวะโลกร้อน และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น
Greenhouse gas concentrations have again hit record highs
— World Meteorological Organization (@WMO) October 27, 2022
CO2 levels surged in 2021 to nearly 150% of pre-industrial era
Methane had biggest jump on record
Continued ⬆️ in 2022: WMO bulletin@UNEP releases #EmissionsGap today.#StateofClimate #COP27https://t.co/1nVAAcj06S pic.twitter.com/bpYApAvEXk
“เราจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงระบบอุตสาหกรรม พลังงาน การขนส่ง และวิถีชีวิตทั้งหมด การเปลี่ยนแปลงที่จำเป็นมีราคาไม่แพงและเป็นไปได้ในทางเทคนิค เพราะเวลากำลังจะหมดลงแล้ว” ศาสตราจารย์กล่าว
รายงานฉบับนี้จึงกลายเป็นอีกตัวแปรที่สำคัญ ที่ทำให้ทั่วโลกเริ่มจับตามองการประชุม COP27 ที่กำลังจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ในประเทศอียิปต์ ระหว่างวันที่ 7-18 พฤศจิกายน 2022 ซึ่งจะมีการนำเสนอรายงานภาวะโลกร้อนปี 2022 ชั่วคราวในการประชุมครั้งนี้ด้วย ซึ่งก็จะได้รวบรวมเอนผู้นำแต่ละประเทศมาหารือและแนะแนวทางช่วยโลกด้วยกัน
การประชุมในครั้งนี้จะยิ่งสำคัญมากขึ้นไปอีก หากรายงานฉบับนี้เป็นอีกหนึ่งเครื่องยืนยันว่า สิ่งที่หลายประเทศกำลังทำนั้นได้ผลหรือไม่ และเป็นเพราะอะไร จะแก้ไขยังไงดี ที่เป็นการลงมือทำไม่ใช่แค่เพียงวาจาตามเสียงวิพาร์กวิจารณ์ของประชาชนและองค์กรที่เกี่ยวข้อง
จะยังทันหรือไม่ ที่เราจะช่วยกันลดก๊าซเรือนกระจกทั้งจากภาคประชาชน เอกชนและภาครัฐ คุณล่ะคิดเห็นอย่างไร
ที่มาข้อมูล
https://public.wmo.int/en/media/press-release/more-bad-news-planet-greenhouse-gas-levels-hit-new-highs